วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

1. เลโอแนง (Léonin, ประมาณค.ศ. 1150-1201)



ระยะเวลา สถานที่ เกิดและตาย
เกิด : ประมาณ ค.ศ. 1150
ตาย : ประมาณ ค.ศ. 1201


สัญชาติ (Nationality)
ฝรั่งเศส (French)


ยุคสมัยดนตรีและระยะเวลา (Style / Period)
ยุคกลาง ก่อน ค.ศ.1600
Middle Age or Medieval Period : before 1600


ตัวอย่างผลงานที่มีชื่อเสียง (Famous Works)
Organum duplum, Dulce lignum, Viderunt omnes


อัตชีวประวัติ (Biography)


          Leonin (1150-1201) เลโอแนง หรือ เลโอนิอัส เป็นนักประพันธ์คนสำคัญคนแรกที่ประพันธ์เพลงแบบ Polyphonic Organum (ทำนองเพลงสวดในโบสถ์ที่มีเสียงร้องอย่างน้อยหนึ่งเสียงเพื่อเพิ่มทำนองประสานที่พัฒนาขึ้นในยุคกลาง Middle Ages) เชื่อกันว่าเขาอาจจะเป็นชาวฝรั่งเศส ซึ่งอาจจะพำนักและทำงานในปารีสที่มหาวิหารนอร์ทเทรอดาม (Notre Dame Cathedral) และยังเป็นสมาชิกรุ่นแรกๆของโรงเรียนสอนการประสานเสียง Notre Dame school of polyphony ที่มีชื่อเสียง ชื่อ Leonin ของเขามาจากคำว่า "Leoninus" ในภาษาละตินที่แปลว่า Leo หรือ Leo ในภาษาฝรั่งเศส

          ประวัติของเขาเท่าที่ทราบ มาจากการบันทึกของนักเรียนในรุ่นหลังๆ ของโบสถ์ที่ชื่อ Anonymous IV นักเขียนชาวอังกฤษที่ได้ฝากผลงานเขียนทฤษฎีทางดนตรีของเขาเอาไว้ โดยกล่าวถึงเลโอแนงว่าเป็นผู้ประพันธ์บทเพลงชุด Magnus Liber ผลงานเขียนเพลงสวดที่ยิ่งใหญ่ (The "Great book" of Organum) บทประพันธ์ส่วนใหญ่ใน Magnus Liber จะใช้เทคนิคการประพันธ์แบบ Clausulae - Melistic (การประพันธ์โดยใช้เสียงหลายเสียงโดยแปรเปลี่ยนท่วงทำนองเพลงสวดเดิม – การเปลี่ยนระดับเสียงโน้ตแต่ละพยางค์ในขณะร้อง) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเพลงสวดแบบ Gregorian Chant (เพลงศาสนาดั้งเดิมที่มีระดับเสียงเดียว มีเพียงทำนองแต่ไม่มีเสียงประสาน ใช้ในพิธีทางศาสนา) ที่ถูกนำมาแยกออกเป็นหลายเพลง โดยที่ท่วงทำนองของโน้ตเดิมจะค่อนข้างช้ามาก และผสานเข้ากับท่วงทำนองที่เคลื่อนไหวเร็วกว่า นอกจากนั้น เลโอแนงยังอาจเป็นนักประพันธ์คนแรกที่ใช้เทคนิคการประพันธ์แบบ Rhythmic mode (รูปแบบการประพันธ์ที่ใช้อัตราจังหวะสั้นหรือยาวเพื่อกำหนดการเขียนโน้ต) และอาจเป็นไปได้ว่าเขายังเป็นผู้คิดค้นระบบการเขียนโน้ตระบบนี้ขึ้น



          W.G. Waite นักดนตรีวิทยาชาวอเมริกันได้กล่าวไว้ในงานเขียนของเขาเมื่อปี ค.ศ. 1954 ว่า “งานเขียนของเลโอแนงถือเป็นความสำเร็จที่หาใครเทียบได้ยากในเรื่องการนำเสนอระบบความสัมพันธ์ของจังหวะ (Rhythm) กับงานประพันธ์หลายเสียง (Polyphonic) เป็นครั้งแรก และที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การคิดค้นวิธีการแสดงระบบตัวโน้ตของท่วงทำนองแบบนี้”

          บทประพันธ์ต่างๆ ในชุด Magnus Liber เป็นงานที่แต่งขึ้นเพื่อใช้ประกอบในพิธีกรรมในโบสถ์ จากการบันทึกของ Anonymous IV กล่าวไว้ว่า เลโอแนงคือนักประพันธ์เพลงสวดที่ดีที่สุด เขาได้เขียนบทเพลงสวดชุด Magnus Liber ที่ยิ่งใหญ่ไว้เพื่อเป็นเพลงที่ใช้สำหรับเป็นเพลงสวด (Gradual) และเพลงประสานเสียง (Antiphoner) เพื่อใช้ในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ “บทเพลงทั้งหมดใน Magnus Liber แต่งขึ้นเพื่อเสียงร้อง 2 ทำนอง แม้ว่าจะมีข้อมูลน้อยมากว่าจะนำไปร้องจริงๆ ในรูปแบบไหน ซึ่งทั้ง 2 เสียงเป็นนักร้องเดี่ยวที่ไม่มีความสำคัญมากนัก

          ตามบันทึกของ Anonymous IV กล่าวว่า “งานของเลโอแนงมีการพัฒนาไปไกลกว่า Perotin (เกิดราวๆ ปี ค.ศ. 1200) นักประพันธ์ชาวฝรั่งเศสในรุ่นหลังเสียอีก

          Craig Wright นักดนตรีวิทยาเชื่อว่าเลโอแนงอาจจะเป็นคนเดียวกับนักประพันธ์ร่วมสมัยชาวปารีสที่ชื่อ Leonius อีกด้วย


ตัวอย่างผลงาน

ชื่อผลงาน : organum duplum

ที่มา : http://youtu.be/Gq5B3M4jRtQ


ชื่อผลงาน : viderunt omnes

ที่มา : http://youtu.be/gtkmnhnHWhw


ที่มาบทความ :
http://www.pantown.com/board.php?id=13220&area=4&name=board10&topic=25&action=view https://sites.google.com/site/mrjisclassroom/prawati-sangkhit-kwi-laea-phl-ngan/leonin

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น