วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559

เมโลเดียน หรือ เมโลดิกา (Melodion or Melodica)


ประวัติความเป็นมาของเมโลเดียน
          เมโลเดียน หรือ เมโลดิกา (Melodion or Melodica) เป็นเครื่องดนตรีสากลประเภทลิ่มนิ้วมีลักษณะผสมผสานระหว่างหีบเพลง กับฮาร์โมนิกา ทำงานโดยเป่าลมผ่านท่อ โดยตัวท่อนั้นจะอยู่บริเวณด้านข้างของตัวเมโลเดียน วิธีการทำให้เกิดเสียงก็คือเป่าลมและกดคีย์บอร์ดไปพร้อมๆ กัน จะเป็นการทำให้เกิดเสียง
          เมโลเดียนถูกออกแบบโดยบริษัท Hohner ในปี ค.ศ. 1950 หรือ ในปี ค.ศ. 1960 นักดนตรีที่สันนิฐานว่าเป็นผู้คิดค้นคือ Brooklyn ที่เป็นนักดนตรี บุคคลที่ให้แนะนำเครื่องดนตรีชนิดนี้เข้ามาสอนในวิชาดนตรีขั้นพื้นฐาน คือ Joseph lederfine melodica เป็นเครื่องดนตรีที่ Phi moore jr. ที่เป็นนักดนตรีแจ๊สฝึกเอาเป็นจริงเป็นจังกับเครื่องเป่าชนิดนี้ ในค.ศ.1969 เขาได้นำเครื่องดนตรีชนิดนี้บันทึกเพลงในอัลบัม Right on (ที่มา : http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=187698208e43ceff)

  

เมโลเดียน หรือ เมโลดิกา (Melodion or Melodica)



หีบเพลง, แอคคอร์เดียน (Accordion)


เม้าออแกน (mouth organ), ฮาร์โมนิกา (Harmonica)


ลักษณะของเมโลเดียน
          เมโลเดียนเป็นเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดชนิดหนึ่ง ทำให้เกิดเสียงได้โดยการเป่าและใช้นิ้วมือกดที่ลิ่มนิ้ว ปัจจุบันทำด้วยพลาสติก ลักษณะทั่วไปด้านหน้ามีลิ่มนิ้วสำหรับกดประมาณ 24 – 37 คีย์ แล้วแต่ชนิดและขนาดของเมโลเดียนซึ่งในปัจจุบันมีอยู่ 4 ขนาดแต่ละขนาดมีรูปร่างลักษณะและช่วงเสียงดังนี้ คือ

1. เมโลเดียนเสียงโซปราโน เป็นขนาดเล็กที่สุดมีลิ่มนิ้วสำหรับกดอยู่ 27 คีย์ มีเสียงแหลมสูง เหมาะสำหรับใช้บรรเลงแนวสูงสุดของทำนองเพลงช่วงเสียงของเมโลเดียนเสียงโซปราโน คือ


ช่วงเสียงและรูปร่างลักษณะของเมโลเดียนเสียงโซปราโน


2. เมโลเดียนเสียงอัลโต เป็นขนาดเล็กที่สุดมีลิ่มนิ้วสำหรับกดอยู่ 27 เมโลเดียนเสียงโซปราโนแต่มีระดับเสียงสูงกว่า 1 ออคเทฟ มีเสียงสูงปานกลางเหมาะสำหรับใช้บรรเลงแนวทำนองรองจากเมโลเดียนเสียงโซปราโน รูปร่างลักษณะของเมโลเดียนเสียงอัลโตและช่วงเสียง คีย์เท่ากันกับ


ช่วงเสียงและรูปร่างลักษณะของเมโลเดียนเสียงอัลโต


3. เมโลเดียนเสียงเทนเนอร์ มีลิ่มนิ้วสำหรับกดอยู่ 32 คีย์ มีเสียงระดับกลาง เหมาะสำหรับใช้บรรเลงแนวทำนองรองจากเสียงอัลโต


ช่วงเสียงและรูปร่างลักษณะของเมโลเดียนเสียงเทนเนอร์


4. เมโลเดียนเสียงเบส มีลิ่มนิ้วสำหรับกดอยู่ 24 คีย์ มีเสียงต่ำ หนักแน่น มีอำนาจ เหมาะสำหรับใช้บรรเลงแนวต่ำสุดของทำนองเพลง ช่วงเสียงของเมโลเดียนเสียงเบส คือ


ช่วงเสียงและรูปร่างลักษณะของเมโลเดี้ยนเสียงเบส


ส่วนประกอบของเมโลเดียน
          เมโลเดียนเป็นเครื่องดนตรีสากลจัดอยู่ในเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ด (Keyboard Instruments) ทำให้เกิดเสียงโดยการเป่าและใช้นิ้งกดที่ลิ่มนิ้ว ลักษณะทั่วไปแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนตัวเครื่องดนตรี ส่วนปากเป่า และส่วนสายเป่า

ส่วนที่ 1 ปากเป่า



ส่วนที่ 2 สายเป่า


ส่วนที่ 3 ตัวเครื่องดนตรี







ที่มา :
http://www.sahavicha.com/?name=test&file=readtest&id=2422
http://dc151.4shared.com/doc/qr60e0P_/preview.html


ซินธิไซเซอร์ (Synthesizer)


          ซินธิไซเซอร์ (Synthesizer) เป็นเครื่องดนตรีไฟฟ้าประเภทลิ่มนิ้วดีด ใช้ในการผลิตคลื่นสัญญาณเสียง ทั้งที่เป็นเสียงดนตรีและเสียงเอฟเฟ็คต่างๆ โดยการปรับแต่งย่านความถี่ขนาดต่างๆของคลื่นแต่ละชนิด แล้วนำมาผสมกันให้ได้เสียงใหม่ตามต้องการ ซินเธไซเซอร์สมัยใหม่ในระบบดิจิตอลสามารถบันทึกค่าต่างๆที่ได้เคยปรับแต่ง เอาไว้กลับมาใช้ใหม่ได้


ซินธิไซเซอร์ (Synthesizer)




ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/44808


อิเล็คโทน (Electone)


          อิเล็คโทน (Electone) เป็นเครื่องดนตรีไฟฟ้าประเภทลิ่มนิ้วดีด สามารถปรับแต่งเสียงได้แตกต่างกันมากภายในเครื่องเดียว มีจังหวะกลอง คอร์ดและเบสแบบอัตโนมัติ สามารถเล่นเพลงโดยใช้นักดนตรีเพียงคนเดียว
          ลิ่มนิ้วดีดของอีเล็คโทนจะมีตั้งแต่ 1 - 3 ชั้น ชั้นล่างสุดเล่นด้วยมือซ้าย กำเนิดเสียงในระดับต่ำ ชั้นกลางเล่นด้วยมือขวา กำเนิดเสียงในระดับกลาง-สูง ชั้นบนสุดจะเป็นเสียงพิเศษต่างๆ ซึ่งบางรุ่นก็ไม่มี เท้าข้างขวาทำหน้าที่ควบคุมสวิทช์เท้าปรับความดัง-เบาของเสียงทั้งหมดที่เกิดขึ้นในขณะที่บรรเลง เท้าข้างซ้ายทำหน้าที่เล่นเสียงเบส ในกรณีที่ต้องการเสียงเบสแบบอัตโนมัติเท้าข้างซ้ายก็ไม่ต้องทำหน้าที่อะไร

- ชั้นบน (Upper)
- ชั้นล่าง (Lower)
- เบสเท้า (Foot bass)

          ด้านบนของเครื่องอิเล็กโทนจะมีแผงควบคุม สามารถใช้ ปรับเสียง จังหวะกลอง ความเร็วของจังหวะได้


อิเล็คโทน (Electone) 2 ชั้น










ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/44804


แอคคอร์เดียน (Accordion)


          แอคคอร์เดียน (Accordion) เป็นเครื่องดนตรีประเภทลิ่มนิ้วเช่นเดียวกับเปียโนเสียงของ แอคคอร์เดียนเกิดจากการสั่นสะเทือนของลิ้นทองเหลืองเล็ก ๆ ภายในตัวเครื่องอันเนื่องมาจากการเล่น ผ่านเข้า – ออกของลมซึ่งต้องใช้แรงของผู้เล่นสูบเข้า – ออก
          แอคคอร์เดียนมีหลายขนาดเช่นขนาด 25 ลิ่มนิ้ว 12 เบส ขนาด 37 ลิ่มนิ้ว 80 เบส และขนาด ใหญ่ซึ่งนิยมใช้เล่นโดยทั่วไปจะมี 41 ลิ่มนิ้ว 120 เบส และยังมีปุ่มปรับเสียงเปลี่ยนระดับเสียงติดอยู่ทาง ด้านขวาอีกหลายปุ่ม ทางด้านซ้ายอาจมีช่องปรับความดัง – ค่อยซึ่งเปิด – ปิด ได้อีก 3-4 ช่อง ปุ่มปรับ ระดับเสียงจะเป็นปุ่มเสียงต่ำ (Low reed) แอคคอร์เดียนนิยมใช้กับวงดนตรีขนาดเล็กเช่น วงดนตรีประจำหมู่บ้าน วงดนตรีลูกทุ่ง วงคอมโบ วงโฟล์คซอง เป็นต้น


แอคคอร์เดียน (Accordion)




ที่มา : http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=496


คลาวิคอร์ด (Clavichord)


          คลาวิคอร์ด (Clavichord) เป็นเครื่องดนตรีคีย์บอร์ดในยุคแรกๆ ประเภทเกิดเสียงได้ จากการดีดโดยมีสายเสียงที่ขึงไปตามส่วนรูปของกล่องไม้ ส่วนปลายสุดของคีย์จะมีกลไกการงัดหรือ แตะของลิ่มทองเหลืองเล็กๆ เมื่อผู้เล่นกดคีย์ลงไปลิ่มทองเหลืองนี้ก็จะยกขึ้นและตีไปที่สายเสียงเพื่อทำ ให้เกิดเสียง
          คลาวิคอร์ดเป็นเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดประเภทแรกที่สามารถเล่นได้ทั้งเบาและดังโดย เปลี่ยนแปลงน้ำหนักการกดคีย์ เสียงที่ได้จากคลาวิคอร์ดนี้มีความไพเราะและนุ่มนวล


คลาวิคอร์ด (Clavichord)





ที่มา : http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=496


ฮาร์พซิคอร์ด (Harpsichord)


          ฮาร์ปซิคอร์ด เป็นเครื่องดนตรีตะวันตก ในยุคบาโร้ค ประเภทเครื่องดีดโดยมีการพัฒนามาจากเครื่องดนตรีประเภทพิณ และกีตาร์กลไกการเกิดเสียงจะใช้การเกี่ยวดึงสายโลหะซึ่งมีขนาด และความยาวแตกต่างกันเพื่อให้ได้เสียงความถี่ต่างๆ การเล่นเครื่องดนตรีนี้จะใช้ คีย์บอร์ด (Keyboard) ในการสร้างกลไกในการดึงสาย โดยผู้เล่นสามารถเลือกกดบนแป้นคีย์บอร์ด ซึ่งจะคล้ายคลึงกับการเล่น เปียโน (Piano) แต่จะมีคีย์บอร์ดสองชั้น เหมือน ออร์แกน (Organ) ผู้เล่นไม่สามารถปรับความดังของเสียงได้ด้วยน้ำหนักของการกดคีย์บอร์ด แต่สามารถใช้กลไกอื่นช่วยในการสร้างความแตกต่างของคุณภาพเสียง (Acrustic Quality)


ฮาร์พซิคอร์ด (Harpsichord)



ส่วนประกอบของ Harpsochord


          ในยุคบาโรคมีการเล่นเครื่องดนตรีนี้อย่างแพร่หลายในบทเพลงประเภทเดี่ยว และวง สำหรับประเภทเดี่ยวได้มีผู้ประพันธ์เพลงที่มีบทบาทสำคัญได้แก่ บาค แฮนเดล สกาลัตตี คูโน แต่งเพลงไว้มากมาย โดยเฉพาะสกาลัตตีได้แต่เพลงประเภท โซนาตา ไว้เป็นจำนวนมาก และเป็นบทเพลงที่มีความซับซ้อนในด้านเทคนิคการเล่นอย่างสูง สำหรับประเภทวง เครื่องดนตรีนี้สามารถเล่นร่วมกับเครื่องดนตรีอื่นๆได้ วงออเครสตราในยุคนั้นได้กำหนดให้มีการเล่นดนตรีประเภท บาสโซคอนทินิวโอ (Basso Continuo) ไม่ได้เฉพาะเครื่องดนตรีเบสอย่างเดียว แต่ได้มีการใส่สัญลักษณ์เป็นตัวเลขเอาไว้เพื่อให้ฮาร์ปซิคอร์ดเล่นประกอบด้วย ถ้าจะเปรียบเทียบกับการเล่นดนตรีในปัจจุบันแล้ว ฮาร์ปซิคอร์ดเป็นเหมือนกับกลองชุด ซึ่งเป็นตัวกำหนดจังหวะของผู้เล่นเครื่องดนตรีอื่น และที่สำคัญที่สุด ผู้อำนวยเพลง (Conductor) ในสมัยบาโรค ก็มักจะประจำที่ฮาร์ปซิคอร์ดด้วย ตัวอย่างเพลงที่สำคัญของเครื่องดนตรีนี้ได้แก่ บทเพลงประเภท ออเครสตราสวิท (Orchestra Suite) ของบาค และ เฮนเดล บราเดนบวกคอนแซโต (Brandenburg Concerto) โดยเฉพาะหมายเลขห้า มีความพิเศษที่บาคนำฮาร์ปซิคอร์ดมาเป็นเครื่องดนตรีโซโลเพื่อฉลองให้กับฮาร์ปซิคอร์ดตัวใหม่ของเขาด้วย


4 Harpsichord Concert


          ในปัจจุบันก็ยังมีการเล่นฮาร์ปซิคอร์ดกันอยู่เมื่อมีการเล่นดนตรีบาโรคเพราะเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ และเทคนิคการเล่นที่ไม่สามารถหาเครื่องดนตรีอื่นมาทดแทนได้


เครื่องสายต่างๆ ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับฮาร์ปซิปคอร์ดมีดังนี้

1. Virginals (เปียโนขนาดเล็กรูปแบบฮาร์ปซิคอร์ด)
2. Spinet (พิณ)
3. Clavicytherium (ฮาร์ปซิคคอร์ดแนวตั้งตรง)
4. Ottavino (พิณขนาดเล็กหรือเปียโนขนาดเล็ก)


ประวัติความเป็นมาของฮาร์ปชิคอร์ด
          ฮาร์ปชิคอร์ด ประดิษฐ์ขึ้นในตอนปลายของยุคกลาง ช่วง ค.ศ. 1500โดยชาวเฟลมมิช (Flemish) ตระกูลรัคเคอร์ (Ruckers) ฮาร์ปชิคอร์ด ในยุคต้นๆนั้น ประกอบไปด้วยวัสดุหนาและหนักจึงทำให้เกิดเสียงที่มีพลังและโดดเด่น โดยมีแป้นดีดเพียงสองแป้นเท่านั้น ต่อมาในศตวรรษที่ 18 ฮาร์ปชิคอร์ดได้เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในยุคเรอเนชอง และยุคบารอค (Baroque) และได้มีการปรับปรุง เสริมแต่งเครื่องดนตรีชนิดนี้ เพิ่มขึ้นอีกหลากหลายมากมาย เพื่อให้เล่นได้เข้ากับการเล่นดนตรีร่วมสมัย เมื่อถึงปลายศตวรรษที่ 18 ฮาร์ปซิคอร์ด ได้ค่อยๆเลือนหายไปจากวงการดนตรี เนื่องจากได้มีความนิยมในการเล่นเปียโนมากขึ้น แต่พอมาถึงศตวรรษที่ 20 ฮาร์ปซิคอร์ดก็ได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ในการแสดงดนตรีที่บอกเล่าเรื่องราวเก่าๆในเชิงประวัติศาสตร์ การแสดงร่วมสมัย (contemporary) การแสดงที่เน้นวัฒนธรรมที่เลื่องลือเก่าแก่ โดยการนำเอาเทคโนโลยีของระบบเปียโนมาใช้และมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง เช่น ใช้สายเสียงที่มีเสียงหนักแน่นกว่าเดิม ใช้โลหะประกอบเป็นโครงเครื่องแทนไม้แบบเดิมๆ แทน




ที่มา : http://westernmusica.blogspot.com/2010/10/harpsichord.html#comment-form


ออร์แกน (Organ)


          ออร์แกน (Organ) เป็นเครื่องดนตรีคีย์บอร์ดประเภทใช้ลมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดกล่าวกัน ว่าเป็น “The King of Instruments” เป็นเครื่องดนตรีสำคัญในโบสถ์ใช้บรรเลงประกอบบทเพลงร้อง ทางศาสนาที่เรียกว่า “เพลงโบสถ์” (Church Music) จึงมักเรียกออร์แกนที่อยู่ในโบสถ์ว่าเป็น “ออร์แกน โบสถ์” (Church Organ) เมื่อมีลมเป่าผ่านท่อทำให้เกิดเสียงท่อละหนึ่งเสียงออร์แกนมีแผงคีย์สำหรับ กดด้วยนิ้วมือและแผงคีย์เหยียบด้วยเท้าแผงคีย์ที่กดเล่นด้วยมือเรียกว่าแมนน่วล (Manual) แผงคีย์ที่ เหยียบด้วยเท้าเรียกว่าเพดัล (Pedal) การบังคับกลุ่มท่อต่างๆ ซึ่งจัดไว้เป็นพวกเดียวกันทำได้โดยการ ใช้ปุ่มกดหรือคันยกขึ้นลงที่เรียกว่าสต็อป (Stops) ออร์แกนขนาดใหญ่จะมีกลุ่มท่อเปลี่ยนเสียงเรียกว่า ไพพ์ (Pipes) เป็นจำนวนมากเพื่อใช้สร้างสีสันแห่งเสียงได้หลากหลาย ออร์แกนสมัยใหม่ใช้ไฟฟ้าบังคับ แทนลมซึ่งตามแบบดั้งเดิมนั้นลมที่ใช้เกิดจากการอัดลมด้วยเท้าของผู้เล่นหรือไม่ก็มีผู้ช่วยอัดลมแทนให้


ออร์แกน (Organ)





ที่มา : http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=496


- เปียโน (Piano)


          เปียโน (Piano) เปียโนเป็นเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดประเภทใช้สายเสียงหรือ ประเภทลิ่มนิ้วที่มีวิวัฒนาการมาจากฮาร์ปสิคอร์ด (Harpsichord) ประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกที่เมืองฟลอเรนซ์ ในประเทศอิตาลี ในต้นศตวรรษที่ 18 เดิมมีชื่อเรียกว่าเปียโนฟอร์เตเพราะทำได้ทั้งเสียงเบาและเสียงดัง สายเสียงจะถูกตีด้วยค้อนเชื่อมโยงไปที่คีย์กดโดยผ่านเครื่องกลไกซับซ้อนที่เรียกว่า แอคชั่น (Action)
          เปียโนประกอบด้วย 2 ประเภทคือแกรนด์เปียโน (Grand Piano) สายของเปียโนชนิดนี้เรียง สายในแนวนอน และอัพไรท์เปียโน (Up - right Piano) สายของเปียโนชนิดนี้เรียงสายในแนวตั้ง เปียโนเป็นเครื่องดนตรีที่มีช่วงเสียงกว้างมากถึง 7 ? ออคเทฟ (Octaves) หรือในบางรุ่นอาจมีถึง 8 ออคเทฟ (Octaves) มีลิ่มทั้งหมด 88 ลิ่ม


แกรนด์เปียโน (Grand Piano)


อัพไรท์เปียโน (Up - right Piano)


          เปียโนเป็นเครื่องดนตรีที่สามารถเล่นเป็นทำนองเพลงและเป็นเสียงประสานหรือเล่นเป็นคอร์ดได้ ในขณะที่เล่นผู้เล่นต้องใช้มือ 2 ข้างเล่นพร้อมกัน เปียโนเหมาะสำหรับเป็นเครื่องดนตรีประจำบ้าน สามารถบังคับให้เสียงดังหรือเบาได้โดยการเหยียบเพดัล (Pedal) ด้านล่างของเครื่อง เปียโน


คันเหยียบ (Pedal)
          เปียโนมีการใช้คันเหยียบหรืออุปกรณ์ที่มีลักษณะใกล้มาตั้งแต่ยุคต้นๆ (ในคริสต์ศตวรรษที่ 18เปียโนบางตัวใช้แท่นแทนคันเหยียบ โดยให้ผู้เล่นใช้เข่าดันขึ้น คันเหยียบสามประเภทซึ่งได้กลายมาเป็นมาตรฐานในเปียโนปัจจุบัน ได้แก่
          คันเหยียบ damper pedal (บ้างก็เรียก sustain pedal หรือ loud pedal) มักจะถูกเรียกว่า "the pedal" เฉยๆเพราะว่าเป็นคันเหยียบที่ถูกใช้งานมากที่สุด ซึ่งเป็นคันเหยียบที่อยู่ทางขวาสุด
          คันเหยียบที่พบเห็นโดยมากที่ติดอยู่กับเปียโนนั้นโดยส่วนมากจะมีอยู่ 3 อัน ในเปียโนบางตัวจะมี 2 อัน โดยจะเทียบได้เท่ากับ อันซ้ายสุดและอันขวาสุดของเปียโนที่มี 3 อัน ซึ่งจะช่วยให้การเล่นเปียโนนั้นมี dynamic ต่าง ๆ กันได้แก่


เพดัล (Pedal)


          คันเหยียบอันซ้ายสุด มีไว้เพื่อลดความดังของเปียโน ในแกรนด์เปียโน เมื่อเราเหยียบคันเหยียบอันนี้แล้ว ชุดของคีย์บอร์ดรวมทั้งไม้ฆ้อนจะขยับไปทางซ้ายหรือทางขวาเล็กน้อย เพื่อให้ไม้ฆ้อนตีถูกสายเพียงครึ่งเดียว (ปกติเปียโนจะมีสาย 1 ถึง 3 เส้น ต่อ 1 คีย์) ทำให้เสียงเบาลง ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า (Una Corda แปลว่า สายเส้นเดียว) ส่วนในอัพไรท์เปียโน เมื่อเราเหยียบคันเหยียบอันนี้แล้ว จะมีคานมาดันชุดไม้ฆ้อนให้ขยับเข้าไปใกล้กับสายมากขึ้น ทำให้เมื่อกดคีย์แล้ว ไม้ฆ้อนจะเหวี่ยงตัวได้น้อยกว่าปกติ แรงที่เคาะสายจึงน้อยลงด้วย ผลที่ตามมาก็คือ เสียงที่ค่อยกว่า และนุ่มนวลกว่า และจะได้เสียงที่นุ่มลงกว่าเดิม แต่เมื่อเรายกเท้าจากคันเหยียบอันนี้เสียงเปียโนก็จะกลับมาเป็นเหมือนเดิม
          คันเหยียบอันกลาง ในแกรนด์เปียโนเรียกว่า sostenuto pedal เมื่อเหยียบแล้ว จะดำรงเสียงของตัวโน้ตที่กดไว้ก่อนเหยียบคันเหยียบนี้เท่านั้น โดย damper จะเปิดขึ้น (โน้ตอื่นๆ ที่กดหลังจากเหยียบคันเหยียบ damper จะทำงานปกติ ทำให้เสียงสิ้นสุดเมื่อปล่อยนิ้ว) ส่วนในอัพไรท์เปียโน เรียกว่า soft pedal มีไว้เพื่อลดความดังของเปียโน เมื่อเราเหยียบคันเหยียบอันนี้แล้ว จะมีผ้ามากั้นระหว่างฆ้อนกับสาย เพราะฉะนั้นเมื่อเรากดคีย์ เสียงที่ได้จะเบาลง คันเหยีบบอันนี้มีความพิเศษก็คือ มันจะมีช่องสำหรับให้คันเหยียบอันนี้ค้างอยู่ได้ จึงทำให้เราไม่ต้องเมื่อยเมื่อต้องใช้เสียงเบา หรือต้องการใช้ dynamic แบบนี้นาน ๆ ได้ และเรายังสามารถปรับความดัง-เบา นุ่มลึกได้โดยการปรับระดับของแผ่นผ้าที่เคลื่อนลงมากั้นระหว่างฆ้อนเมื่อจะเคาะสายเปียโนได้อีกด้วย (แต่การปรับนั้นต้องเปิดฝาข้างล่างของเปียโนก่อน) ในอัพไรท์เปียโนมักใช้คันเหยียบนี้ในการซ้อมเปียโนเวลาไม่ต้องการให้มีเสียงดังมาก รบกวนคนอื่น
          คันเหยียบอันขวาสุด คันเหยียบอันนี้มักจะถูกใช้บ่อยๆ ซึ่งคำว่า pedal หรือ sustain ที่เราใช้เรียกอุปกรณ์ชิ้นนี้นั้นก็มาจากการทำงานของคันเหยียบตัวนี้ นั่นคือมันมีไว้เพื่อลากเสียงของโน้ตให้ยาวขึ้น คือเมื่อเรากดคีย์เปียโน 1 ครั้งและยกมือออกจากคีย์ เสียงก็จะหยุดทันที แต่คันเหยียบตัวนี้จะทำให้เกิดโน้ตที่มีเสียงยาวขึ้นโดยที่เราไม่ต้องกดมือค้างไว้ เพื่อจะได้เล่นโน้ตตัวอื่นได้อีก ทำให้เกิด hamony ขึ้นในเพลง เพิ่มความก้องกังวาน และความไพเราะให้กับการบรรเลงเปียโนของเรามากขึ้น (การเหยียบคันเหยียบอันนี้ค้างไว้นาน ๆ นั้นไม่ได้ทำให้การบรรเลงเพลงไพเราะเลยทีเดียวนะครับ เพราะการเหยียบนาน ๆ ค้างไว้จะทำให้เสียงของโน้ตหลาย ๆ เสียงเกิดปนกัน ทำให้เกิดคู่เสียงอันไม่พึงประสงได้ เพราะฉะนั้นหากจะใช้คันเหยียบอันนี้ก็ต้องฝึกฝน ไม่ยากเกินความสามารถแน่นอน)




ที่มา : http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=496