วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

สแนร์ดรัม หรือ ไซด์ดรัม (Snare Drum or Side Drum)


          สแนร์ดรัม (Snare Drum or Side Drum) กลองชนิดนี้เป็นที่รู้จักคุ้นเคยกันดี จะเห็นบ่อยๆ ในการเดินแถวของทหาร ลูกเสือ และนักเรียน กลองชนิดนี้ มี 2 หน้า ขึงด้วยหนังกลอง มีหน้ากลองสองหน้าขนาดมาตรฐานมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 14 -15 นิ้ว และสูง 10 - 12 นิ้ว ผู้เล่นจะใช้ไม้ตีกลอง 2 อันตีหน้ากลองด้านบน ส่วนหน้ากลองด้านล่างนั้น มีลักษณะเฉพาะ คือ หน้ากลองด้านล่างขึงตึงพาดทาบกับหน้ากลองคาดไว้ด้วยสายสแนร์ “Snare” ทำด้วยเอ็นสัตว์ ในปัจจุบันสายสแนร์มีทั้งที่ทำด้วยไนล่อนและทำด้วยเส้นลวดโลหะ ขณะที่หน้ากลองด้านบนถูกตี ความสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นจะทำให้ “Snare” กับหนังกลองกระทบกันเกิดเสียงซ่า หรือ แทร้กๆ (rattling effect) ผู้เล่นกลองชนิดนี้มักจะตีให้เกิดเสียงรัวที่เรียกว่า “Daddy - mammy” โดยใช้ไม้ทั้งสองตีสลับกันอย่างรวดเร็ว แฮนเดลได้นำกลองชนิดนี้มาใช้เป็นครั้งแรกใน “Royal Fireworks Music เมื่อปี พ.ศ. 2292 (ค.ศ. 1749)”

          สแนร์ดรัม มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น กลองเล็ก กลองแต๊ก กลองแท็ก กลองสแนร์ สแนร์ดรัม (Snare drum) กลองสะพายข้าง ไซด์ดรัม (Side drum) เป็นต้น มีขาตั้งรองรับตัวกลองใช้เป็นส่วนหนึ่งของกลองชุด หรือนำมาใช้บรรเลงประกอบจังหวะสำหรับวงออร์เคสตร้าหรือวงดนตรีอื่นๆ ที่นั่งบรรเลง สำหรับวงโยธวาทิตและแตรวงมีตัวยึดกลองทำด้วยโลหะคล้องยึดไว้กับลำตัวของผู้ตีกลองจะอยู่ด้านหน้าของผู้ตี และใช้สายสะพายคล้องกลองไว้ข้างลำตัว

ภาพแสดงแผงสายสแนร์ที่คาดไว้
หน้าหนังกลองด้านล่าง
Snare Strainer



          (1)สแนร์ดรัม ถือกำเนิดในประเทศแถบตะวันออกกลาง เป็นกลองสองหน้าลักษณะทรงกระบอก ไม่สามารถปรับเสียงได้ ปกติตัวเครื่องทำจากแผ่นไม้บาง ม้วนให้ขึ้นรูป ทาแล็กเกอร์และตกแต่งให้สวยงาม ใช้หนังแกะหรือหนังลูกวัวขึงเป็นหน้ากลอง ผูกเชือกสานขึ้นลงระหว่างหน้ากลองทั้งสองด้าน หุ้มข้อต่อด้วยพลาสติกรูปตัว D

          ส่วนสแนร์ดรัมพลาสติก ซึ่งมักใช้ในวงออร์เคสตร้า ถือกำเนิดขึ้นราวปี ค.ศ.1957 นี้เอง ปัจจุบันเรามักจะเห็นนักดนตรีเล่นสแนร์ดรัมในวงออร์เคสตร้าวงโยธวาทิต และยังเป็นส่วนหนึ่งของกลองชุดด้วย

          บรรพบุรุษของสแนร์ดรัม คือ ทาบอร์ (Tabor) กลองสมัยยุคกลาง สแนร์ดรัมใช้ครั้งแรกเพื่อการสงคราม นักดนตรีจะเล่นสแนร์ดรัมพร้อมกับเป่าขลุ่ยขนาดเล็กไปด้วย


ทาบอร์ (Tabor)



          ในศตวรรษที่ 15 สแนร์ดรัมเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้นและสร้างเป็นทรงกระบอก สแนร์ดรัมในยุคนี้เป็นที่นิยมของกองทัพสวิตอย่างมาก ต่อมาในศตวรรษที่ 17 เริ่มมีผู้พัฒนาใช้สกรูมาตรึงหน้ากลองเพื่อให้ได้เสียงที่ดีขึ้น กระทั่งศตวรรษที่ 20 จึงเริ่มมีผู้คิดค้นสแนร์ดรัมที่ทำจากเหล็ก

          Snare Drum มีขาตั้งรองรับตัวกลองใช้เป็นส่วนหนึ่งของกลองชุด หรือนำมาใช้บรรเลงประกอบจังหวะสำหรับวงออร์เคสตร้าหรือวงดนตรีอื่นๆ ที่นั่งบรรเลง


สแนร์ดรัมบนขาตั้งกลอง
(Snare Drum on Stand)



          Side Drum ใช้สำหรับเรียกสแนร์ดรัมที่ผู้ตีต้องใช้สายสะพายคล้องกลองไว้ข้างลำตัว ตะขอที่อยู่ติดกับขอบกลอง ใช้คล้องเกี่ยวกับตัวกลองไว้กับสายสะพายขอบกลองด้านบนอยู่ในระดับเดียวกับเอวของผู้ตี ตัวกลองอยุ่ในลักษณะเฉียงกับลำตัวของผู้ตีจึงเรียกว่า กลองสะพายข้าง ไซด์ดรัม (Side Drum)


สแนร์ดรัมสำหรับดนตรีภาคสนาม
แบบสะพายข้าง



          Marching Snare Drum สำหรับวงโยธวาทิตและแตรวงมีตัวยึดกลองทำด้วยโลหะคล้องยึดไว้กับลำตัวของผู้ตี กลองจะอยู่ด้านหน้าของผู้ตี


สแนร์ดรัมสำหรับดนตรีภาคสนาม



          สแนร์ดรัมเป็นกลองที่มีความสัมพันธ์กับการทหารอย่างยิ่งยวด ก่อนที่โลกจะรู้จักวิทยุและอินเตอร์เน็ต สแนร์ดรัมถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกำกับทหารให้ตื่นนอน กินข้าว และบางครั้งยังใช้เพื่อไล่หญิงสาวที่แอบมาหยอกล้อกับทหารออกจากพื้นที่


สแนร์ดรัม (Snare Drum or side Drum)




ที่มา :
- (1)http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdOVEF5TURRMU5nPT0
- http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=repadknowledge&id=431



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น