วันอังคารที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

1.ยุคกลาง (Medieval or Middle Age)


          (1)ในช่วงแรก ศาสนาคริสต์ไม่เป็นที่ยอมรับเลยของคนยิว คนโรมัน คนกรีก เกิดการต่อต้าน พวกคริสต์คือพวกนอกกฎหมาย ต่อมาเมื่อคริสต์เป็นที่ยอมรับ (ในทางศาสนศาสตร์ ถือว่า คริสต์ มิใช่ศาสนา แต่เป็น ความเชื่อที่มีต่อพระเยซูคริสต์ .. ผู้แปล) คริสตศาสนิกชน หรือที่เราเรียกว่า คริสเตียน/คริสตัง ซึ่งก็คือ คำๆ เดียวกัน แต่ใช้ในคนละบริบท สามารถร้องเพลงได้ ก็ทำให้เกิดเพลงสวดขึ้น ซึ่งก็จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่นั้นๆ โดยศูนย์กลาง มีสามเมืองสำคัญ คือ

1. กรุงเยรูซาเล็ม (อิสราเอล ในปัจจุบัน)
2. เมืองอันติโอเกีย (Antioch ใกล้กับตุรกี ในปัจจุบัน) และโรม (อิตาลี ในปัจจุบัน)
3. กรุงคอนแสตนติโนเปิล (ตุรกี ในปัจจุบัน ซึ่งถือเป็น เมืองหลวงฝั่งตะวันออกของโรม)



แผนที่ยุคแรก แสดงอาณาจักรไบแซนไทน์ อาณาจักรโรมัน ก่อนที่จะได้รับอิทธิพลจากอาหรับ (ก่อน ค.ศ. 700)(1)


          ประมาณปี ค.ศ. 400-1400 ในสมัยกลางนี้โบสถ์เป็นศูนย์กลางทั้งทางด้านดนตรี ศิลปะ การศึกษาและการเมือง วิวัฒนาการของดนตรีตะวันตกมีการบันทึกไว้ตั้งแต่เริ่มแรกของคริสต์ศาสนา บทเพลงทางศาสนาซึ่งเกิดขึ้นจากการประสมประสานระหว่างดนตรีโรมันโบราณกับดนตรียิวโบราณ เพลงแต่งเพื่อพิธีทางศาสนาคริสต์เป็นส่วนใหญ่ โดยนำคำสอนจากพระคัมภีร์มาร้องเป็นทำนอง เพื่อให้ประชาชนได้เกิดอารมณ์ซาบซึ้ง และมีศรัทธาแก่กล้าในศาสนา ไม่ใช่เพื่อความไพเราะของทำนอง หรือความสนุกสนานของจังหวะ เมื่อศาสนาคริสต์แพร่กระจายไปทั่วโลก ประเทศต่างๆ ได้นำบทเพลงที่ชาติตนเองคุ้นเคยมาร้องในพิธีสักการะพระเจ้า ดังนั้นเพลงที่ใช้ร้องในพิธีของศาสนาคริสต์จึงแตกต่างกันไปตามภูมิภาคและเชื้อชาติที่นับถือ



Sant'Ambrogio Basilica
แหล่งที่มาภาพ : http://www.plajazz.com/2009/12/ambrosian-chant/



แหล่งที่มาภาพ : http://student.nu.ac.th/pick_ed/lesson3.htm


          (1)ในช่วงแรกยังไม่มีการบันทึกโน้ต จนเริ่มมีหนังสือการบันทึกในช่วง c.9-11 ฝั่งทางตะวันออกคือ Greek rite of Constantinople หรือที่เรียกว่า Byzantine Chant ซึ่งใช้องค์ประกอบทางดนตรีจากชาวอันติโอเกียและชาวปาเลสไตน์ และได้รับอิทธิพลจากโรมันด้วย นอกจากนี้ยังมีเพลงย่อยๆ อีก เช่น Syrian church music, Coptic church music ในขณะที่ฝั่งตะวันตกก็จะมี Gregorian Chant ซึ่งใช้คนละระบบการบันทึกกัน ต่อมาเมื่อการบันทึกเจริญรุ่งเรืองขึ้น เพลงสวดที่ยังคงอยู่ มีสามแบบ คือ Gregorian chant (ปัจจุบันยังใช้ในวัดคาทอลิคอยู่), Old Roman chant, และ Ambrosian chant และยังมีการผสมผสานวัตถุดิบต่างๆ เรียกว่า Mozaraibic chant ต่อมาถูกอิทธิพลของอาหรับเข้ามา จึงเริ่มเสื่อมลง และยังมีเพลงสวดอีกแบบที่ได้สูญหายไปแล้ว คือ Celtic chant

          ตารางต่อไปนี้ เปรียบเทียบ เพลงสวดสามแบบหลักๆ คือ Mozarabic, Roman, และ Ambrosian Mass (Table presents a comparative synopsis of the principal chants of the Mozarabic, Roman and Ambrosian Masses (items in parentheses are sung infrequently))



Mozarabic, Roman and Ambrosian Masses
แหล่งที่มาภาพ : http://www.plajazz.com/2009/12/ambrosian-chant/(1)


Old Roman chant - Tecum Principium
แหล่งที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=srr_uPB0esI


Ambrosian chant - Ecce apertum est Templum tabernaculi
แหล่งที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=RrUxaISuk50


          เมื่อคริสต์ศาสนาเข้มแข็งขึ้น ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ที่แน่นอนในการขับร้องเพลงสวด ที่เรียกว่า ชานท์ (Chant) จนเป็นที่ยอมรับในหมู่พวกศาสนาคริสต์ สันตะปาปาเกรกอรี (Pope Gregory the Great) พระผู้นำศาสนาในยุคนั้น คือ ผู้ที่รวบรวมบทสวดต่างๆ ที่มีอยู่ ให้เป็นหมวดหมู่ เปลี่ยนคำร้องจากภาษากรีกให้เป็นภาษาละติน กำหนดลำดับเพลงสวดไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ทุกคนปฏิบัติเหมือนกัน ผลงานการรวบรวมบทสวดของสันตะปาปาเกรกอรี ถูกเรียกว่า เกรกอรีชานท์ (Gregory Chant) หรือบทสวดของเกรกอรี ซึ่งในศาสนาคริสต์นิกายโรมันแคธอลิคก็ยังนำมาใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน ชานท์เป็นบทเพลงร้องที่มีแต่ทำนอง ไม่มีการประสานเสียงและไม่มีการบังคับจังหวะ แต่ขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญและรสนิยมของนักร้องเอง เพลงประเภทนี้ถูกเรียกว่า เพลงเสียงเดียว หรือเรียกว่า โมโนโฟนี (Monophony)



Missal with Gregorian chants
แหล่งที่มาภาพ : http://en.wikipedia.org/wiki/Gregorian_chant

          วิวัฒนาการที่สำคัญที่สุดของดนตรีเกิดขึ้นที่ปลายยุคกลาง ราวคริสต์ศตวรรษที่ 9 คือ การเพิ่มแนวร้องขึ้นอีกแนวหนึ่ง เป็นเสียงร้องที่เป็นคู่ขนานกับทำนองหลัก กำหนดให้ร้องพร้อมกันไป วิธีการเขียนเพลงที่มี 2 แนวนี้เรียกว่า ออร์แกนุม (Organum) จากจุดเริ่มนี้เองดนตรีสากลก็ได้พัฒนาไปอย่างมากมาย จากแนวสองแนวที่ขนานกันเป็นสองแนวแต่ไม่จำเป็นต้องขนานกันเสมอไป สวนทางกันได้ ต่อมาได้เพิ่มเสียงสองแนวเป็นสามแนวและเป็นสี่แนว จากเพลงร้องดั้งเดิมที่มีเพียงเสียงเดียว ได้พัฒนาขึ้น กลายเป็นเพลงหลายแนวเสียงหรือเรียกว่า โพลีโฟนี (Polyphony)




แหล่งที่มาภาพ : http://www.lks.ac.th/band/page8_3.htm


          ปลายยุคกลางได้มีการเล่นดนตรีนอกวงการศาสนาขึ้นบ้าง โดยมีกลุ่มนักดนตรีเร่ร่อนเที่ยวไปในที่ต่างๆ เปิดการแสดงดนตรีประกอบการเล่านิทาน เล่าเรื่องการต่อสู้ของนักรบผู้กล้าหาญ ร้องเพลง หรือบรรเลงดนตรีประกอบการแสดงมายากล แสดงกายกรรม แสดงการเต้นระบำต่างๆ จุดมุ่งหมายคือความบันเทิง นักดนตรีพเนจรเหล่านี้ กระจายอยู่ทั่วภาคพื้นยุโรป มีชื่อเรียกต่างกันไป พวกจองเกลอ (Jonglour) อยู่ทั่วไปในยุโรป พวกมิสสเทรล (Minstrel) เร่ร่อนอยู่ในอังกฤษ พวกทรูแวร์ (Trouveres) ทำหน้าที่บรรเลงเพลงในราชสำนักทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส และพวกทรูบาร์ดัวร์ (Troubadour) ทำหน้าที่บรรเลงเพลงในราชสำนักทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส


คีตกวีในยุคกลาง

1. เลโอแนง (Léonin, ประมาณค.ศ. 1150-1201) คลิก



เลโอแนง (Léonin, ประมาณค.ศ. 1150-1201)



2. เพโรติน (Pérotin หรือ Perotinus Magnus, ประมาณค.ศ. 1160-1220)





3. จาคาโป ดา โบโลนญา (Jacapo da Bologna fl. 1340 – c. 1386)





4. ฟรานเชสโก แลนดินี (Francesco Landini, ประมาณค.ศ. 1325-1397)



Landini playing a miniature organ 
(illustration from the 15th-century Squarcialupi Codex)



5. กิโยม เดอ มาโชต์ (Guillaume de Machaut, ประมาณค.ศ. 1300-1377)





6. ฟิลิปเป เดอ วิทรี (Phillippe de Vitry 1291 - 1361)





7.โซลาช (Solage)


8.เปาโล ดา ฟิเรนเซ (Paolo da Firenze 1355 –1436)



Paolo da Firenze 1355 –1436




แหล่งอ้างอิงอื่น
จากเว็บไซต์ : (1) = http://www.plajazz.com/2009/12/ambrosian-chant/


3 ความคิดเห็น:

  1. ไม่เห็นมีภาพคีตกวีในยุคกลางเ
    ลย

    ตอบลบ
  2. หายากมากๆ เลยครับ แต่ก็จะนำมาลงให้ได้ครับ

    ตอบลบ