วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

4. ยุคคลาสสิก (The Classical Period)




          ในอเมริกาเกิดสงครามระหว่างอังกฤษและอาณานิคมอเมริกัน ซึ่งนำไปสู่การประกาศอิสรภาพ ของอเมริกันในปี 1776 และสงครามนโปเลียนใน ยุโรป ซึ่งเป็นผลให้เกิดคองเกรสแห่งเวียนนาขึ้นในปี ค.ศ. 1814 สมัยนี้ในทางปรัชญาเรียนกว่า “ยุคแห่งเหตุผล” Age of Reason (ไขแสง ศุขวัฒนะ,2535:102)

          หลังการตายของ เจ.เอส.บาค (J. S. Bach) ในปี 1750 ก็ไม่มีผู้ประสบความสำเร็จในรูปแบบของดนตรีแบบบาโรก (Baroque style) อีก มีการเริ่มของ The (high) Classical era ในปี 1780 เราเรียกช่วงเวลาหลังจากการตายของ เจ.เอส.บาค (J. S. Bach1730-1780) ว่า The early classical period ดนตรีในสมัยบาโรกนั้นมีรูปพรรณ (Texture) ที่ยุ่งยากซับซ้อนส่วนดนตรีในสมัยคลาสสิกมีลักษณะเฉพาะคือมี โครงสร้าง (Structure) ที่ชัดเจนขึ้น การค้นหาความอิสระในด้านวิชาการ เป็นหลักสำคัญที่ทำให้เกิดสมัยใหม่นี้

          ลักษณะของดนตรีในสมัยคลาสสิกที่เปลี่ยนไปจากสมัยบาโรกที่เห็นได้ชัด คือ การไม่นิยมการสอดประสานของทำนองที่เรียกว่าเคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint) หันมานิยมการเน้นทำนอง หลักเพียงทำนองเดียวโดยมีแนวเสียงอื่นประสานให้ทำนองไพเราะขึ้น คือการใส่เสียงประสาน ลักษณะของ บาสโซ คอนตินูโอ เลิกใช้ไปพร้อมๆ กับการสร้างสรรค์ แบบอิมโพรไวเซชั่น (Improvisation) ผู้ประพันธ์นิยมเขียนโน้ตทุกแนวไว้ ไม่มีการปล่อยว่างให้ผู้บรรเลงแต่งเติมเอง ลักษณะของบทเพลงก็เปลี่ยนไปเช่นกัน

          ศูนย์กลางของสมัยคลาสสิกตอนต้นคือเมืองแมนฮีมและกรุงเวียนนา โรงเรียนแมนฮีมจัดตั้งขึ้นโดย Johann Stamitz ซึ่งเป็นนักไวโอลิน และเป็นผู้ควบคุม Concert ของ The Mannheim orchestra เขาเป็นผู้พัฒนาสไตล์ใหม่ของการประพันธ์ดนตรี (Composition) และ การเรียบเรียงสำหรับวงออร์เคสตรา (Orchestration) และยังพัฒนา The sonata principle in 1st movement of symphonies, second theme of Stamitz ตรงกันข้ามกับ 1st theme ซึ่ง Dramatic, striking หรือ Incisive (เชือดเฉือน) เขามักเพิ่มการแสดงออกที่เป็นท่วงทำนองเพลงนำไปสู่บทเพลงในซิมโฟนี การเปลี่ยนความดัง - ค่อย (Dynamic) อย่างฉับพลันในช่วงสั้นๆ ได้รับการแสดงครั้งแรกโดย Manheim orchestra เขายังขยาย Movement scheme of symphony จากเร็ว - ช้า - เร็ว เป็น เร็ว - ช้า - minuet - เร็ว (minuet คือดนตรีบรรเลงเพื่อการเต้นรำคู่ ในจังหวะช้า 3 จังหวะ ) ใช้ครั้งแรกโดย GM Monn แบบแผนนี้กลายเป็นมาตรฐานในซิมโฟนีและ สตริงควอเตท (String quartet )

          สมัยคลาสสิกนี้จัดได้ว่าเป็นสมัยที่มีการสร้างกฎเกณฑ์รูปแบบในทุกๆ อย่างเกี่ยวกับการประพันธ์เพลงซึ่งในสมัยต่อๆ มาได้นำรูปแบบในสมัยนี้มาใช้และพัฒนาให้ลึกซึ้งหรือแปรเปลี่ยนไป เพลงในสมัยนี้เป็นดนตรีบริสุทธิ์ส่วนใหญ่ กล่าวคือ เพลงที่ประพันธ์ขึ้นมาเป็นเพลงซึ่งแสดงออกถึงลักษณะของดนตรีแท้ๆ มิได้มีลักษณะเป็นเพลงเพื่อบรรยายถึงเหตุการณ์หรือเรื่องราวใดๆ ซึ่งเป็นลักษณะที่มีกฎเกณฑ์ ไม่มีการใส่หรือแสดงอารมณ์ของผู้ประพันธ์ลงในบทเพลงมากนัก ลักษณะของเสียงที่ดัง - ค่อย ค่อยๆ ดัง และค่อยๆ เบาลง

          ดนตรีสไตล์เบาๆ และสง่างามของโรโคโค (Rococo Period ) ซึ่งตรงข้ามกับสไตล์ที่เคร่งเครียดในสมัยบาโรก โดยปกติมันเป็น Lightly accompanied pleasing music ด้วย Phrasing ที่สมดุลย์กัน (JC Bach, Sammartini, Hasse, Pergolesi ) Galant เหมือนกับ โรโคโค (Rococo Period ) ในแนวคิดของ Heavy ornamentation แต่ต่างกันตรงที่ลักษณะดนตรีมีโครงสร้างและประโยคเพลงที่มีแบบแผน และรูปแบบที่มีความอ่อนไหวง่าย พยายามแสดงออกถึงความรู้สึกที่แท้จริงและเป็นธรรมชาติ แทรกความโรแมนติกของศตวรรษที่ 19 เข้าไป จุดหมายเพื่อแสดงความเป็นตัวของตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งดนตรีของ CPE Bach และ WF Bach ด้วย

          ด้านเสียงประสานนั้นก็ได้พัฒนาก้าวหน้าต่อไปอีก นำการเปลี่ยนบันไดเสียงในระหว่างบทเพลงมาใช้แล้วจึงกลับมาหาบันไดเสียงเดิมในตอนจบเพลง ในด้านน้ำเสียงนั้นยุคนี้ให้ความสนใจเป็นพิเศษ การจัดวงออร์เคสตรา ใช้เครื่องดนตรีครบทุกประเภท ได้มีการประดิษฐ์เครื่องดนตรีใหม่ๆ ที่ได้ใช้กันมาจนถึงปัจจุบันหลายเครื่องที่สำคัญที่สุด คือ เปียโน (Piano)


ความหมายของคำว่า "คลาสสิกซิสซึ่ม" (Classicism)

          คำว่า “คลาสสิก” (Classical) ในทางดนตรีนั้น มีความหมายไปในทางเดียวกันกับความหมายของอุดมคติของลัทธิ Apollonian ในสมัยของกรีกโบราณ โดยจะมีความหมายที่มีแนวคิดเป็นไปในลักษณะของความนึกถึงแต่สิ่งที่เป็นภายนอกกาย สภาพการเหนี่ยวรั้งทางอารมณ์ ความแจ่มแจ้งในเรื่องของรูปแบบ และการผูกติดอยู่กับหลักทางโครงสร้างอย่างใดอย่างหนึ่ง อุดมคติทางคลาสสิกในทางดนตรีนั้นมิได้จำกัดอยู่แต่ในช่วงตอนปลายของศตวรรษที่ 18 เท่านั้น อุดมคติทางคลาสสิกดังกล่าว ยังเคยมีปรากฏมาก่อนในช่วงสมัยอาร์สอันติควา (Ars Antiqua) และมีเกิดขึ้นให้พบเห็นอีกในบางส่วนของงานประพันธ์การดนตรีในศตวรรษที่ 20

          พวกคลาสสิกนิยม (Classicism) ก็มีในดนตรีในช่วงตอนปลายๆ ของสมัยบาโรก ซึ่งเป็นดนตรีสไตล์ของบาค (J.S. Bach) และของฮัลเดล (Handel) เช่นกัน ในช่วงของความเป็นคลาสสิกนิยมนั้น มี 2 ช่วง คือ ในตอนต้นและใช้ช่วงตอนปลายของศตวรรษที่ 18 และในช่วงตอนปลายของศตวรรษที่ 18 มักจะเรียกกันโดยทั่วๆ ไปว่าเป็นสมัยเวียนนิสคลาสสิก (Viennese Classical Period) เพื่อให้ง่ายต่อการระบุความแตกต่างระหว่างคลาสสิกตอนต้นและตอนปลายนั้นเอง และที่เรียกว่าเป็นสมัยเวียนนิสคลาสสิก ก็เพราะเหตุว่าช่วงเวลานั้นกรุงเวียนนาของออสเตรียถูกถือว่าเป็นเมืองศูนย์กลางหลักของการดนตรีในสมัยนั้น


ลักษณะทั่วๆ ไปของการดนตรีในสมัยคลาสสิก

          โดยทั่วไปแล้วดนตรีคลาสสิกสามารถตีความหมายออกมาได้ คือ มองออกจากตัว (Objective) แสดงถึงการเหนี่ยวรั้งจิตใจทางอารมณ์ สละสลวย การขัดเกลาให้งดงามไพเราะ และสัมผัสที่ไม่ต้องการความลึกล้ำนัก นอกจากความหมายดังกล่าวแล้วคลาสสิกยังมีความหมาย ที่อาจกล่าวไปในเรื่องของประมวลผลงานก็ได้ กล่าวคือ ผลงานทางดนตรี บทบรรเลงที่เห็นได้ชัดว่ามีมากขึ้นกว่าผลงานทางการประพันธ์โอเปร่าและฟอร์มอื่นๆ


สรุปลักษณะสำคัญของดนตรีสมัยคลาสสิก (ไขแสง ศุขะวัฒนะ,2535 :105)

1. ฟอร์ม หรือคีตลักษณ์ (Forms) มีโครงสร้างที่ชัดเจนแน่นอน และยึดถือปฏิบัติมาเป็นธรรมเนียมนิยมอย่างเคร่งครัด เห็นได้จากฟอร์มโซนาตาที่เกิดขึ้นในสมัยคลาสสิก 
2. สไตล์ทำนอง (Melodic Style) ได้มีการพัฒนาทำนองชนิดใหม่ขึ้นมีลักษณะที่เป็นตัวของตัวเองและรัดกุมกะทัดรัดมากขึ้น มีความแจ่มแจ้งและความเรียบง่ายซึ่งมักจะทำตามกันมา สไตล์ทำนองลักษณะนี้ได้เข้ามาแทนที่ทำนองที่มีลักษณะยาว ซึ่งมีสไตล์ใช้กลุ่มจังหวะตัวโน้ตในการสร้างทำนอง (Figuration Style) ซึ่งนิยมกันมาก่อนในสมัยบาโรก ในดนตรีแบบ Polyphony
 3. สไตล์แบบโฮโมโฟนิค (Homophonic Style) ความสำคัญอันใหม่ที่เกิดขึ้นแนวทำนองพิเศษในการประกอบทำนองหลัก (Theme) ก็คือลักษณะพื้นผิวที่ได้รับความนิยมมากกว่าสไตล์พื้นผิวแบบโพลี่โฟนีเดิม สิ่งพิเศษของลักษณะดังกล่าวนั่นก็คือ Alberti bass ซึ่งก็คือลักษณะการบรรเลงคลอประกอบแบบ Broken Chord ชนิดพิเศษ



ที่มา: ไขแสง ศุขะวัฒนะ,2535 :106


4. ในด้านการประสานเสียง (Harmony) นั้น การประสานเสียงของดนตรีสมัยนี้ซับซ้อน น้อยกว่าการประสานเสียงของดนตรีสมัยบาโรก ได้มีการใช้ตรัยแอ็คคอร์ด ซึ่งหมายถึง คอร์ด โทนิด (I) ดอมินันท์ (V) และ ซับโดมินันท์ (IV) มากยิ่งขึ้น และการประสานเสียง แบบเดียโทนิค (Diatonic harmony) ได้รับความนิยมมากกว่าการประสานเสียง แบบโครมาติค (Chromatic harmony)
5. เคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint) ในสมัยคลาสสิกยังคงมีการใช้อยู่โดยเฉพาะในท่อน พัฒนาของฟอร์มโซนาตาในท่อนใหญ่ การประพันธ์ดนตรีที่ใช้ฟอร์มทางเคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint) ซึ่งเป็นฟอร์มที่มี Counterpoint เป็นวัตถุดิบสำคัญ โดยทั่วๆ ไปจะไม่มีอีกแล้วในสมัยนี้
6. การใช้ ความดัง - เบา (Dynamics) ได้มีการนำเอาเอฟเฟคของความดัง – เบา มาใช้สร้างเป็นองค์ประกอบของดนตรี ดังเห็นได้จากงานการประพันธ์ของนักประพันธ์หลายๆ คน ซึ่งความดัง - เบา นั้น มีทั้งการทำเอฟเฟคจากเบาแล้วค่อยเพิ่มความดังขึ้นเรื่อยๆ เรียกว่า เครสเซนโด (Crescendo) และ จากดังแล้วก็ค่อยๆ ลดลงจนเบาเรียกว่า ดิมินูเอ็นโด (Diminuendo)


ประวัติผู้ประพันธ์เพลง 

          ในสมัยคลาสสิกได้มีผลงานซึ่งเป็นทั้งชีวิตและงานของนักประพันธ์สำคัญชั้นนำและเป็นที่รู้จักจนถึงปัจจุบัน 4 ท่าน คือ


1. คริสโตฟ วิลลิบาล์ด กลุด (Christoph Willibald Gluck 1714-1798)




          เกิดเมื่อ วันที่ 2 กรกฎาคม 1714 ที่เมืองอีราสบาค (Erasbach) ใกล้กับเมืองไวเดนแวง (Weidenwang) ถึงแก่กรรมที่กรุงเวียนนา วันที่ 15 พฤศจิกายน 1787 เขาเกิดในบาวาเรีย จากบ้านตั้งแต่อายุ 14 ปี และอยู่ที่กรุงปร๊าคหลายปี เขาเดินทางและเรียนดนตรีในเวียนนาและอิตาลี เขาเริ่มคุ้นเคยกับสไตล์ของ Baroque opera และประพันธ์หลายโอเปร่าในสไตล์ที่มีอยู่ทั่วไป ระหว่างปี 1745 – 1760 เขาเดินทางทั่วยุโรปเพื่อสำรวจโอเปร่าในขณะนั้น

          ด้วยความเป็นนักทฤษฎีพอๆ กับความเป็นนักประพันธ์ ในปี 1761 เขาเห็นว่าสิ่งสำคัญในบัลเล่ต์ (Ballet) และโอเปร่า (Opera) ควรเป็นเรื่องราวและอารมณ์ของผู้แสดงไม่ใช่กลอุบายในการกระตุ้นความสนใจด้วยเล่ห์ ความโดดเด่นที่ผิดๆ และเค้าโครงเรื่องประกอบมากมายซึ่งเป็นในแง่การค้าของสมัยบาโรก เขาตั้งใจแต่งโอเปร่าในปลายศตวรรษที่ 18 โดยยกเลิก Vocal virtuosity และทำให้เกิดดนตรีที่สนองความต้องการของการละคร (Drama) งานชิ้นแรกของเขาได้แก่โอเปร่า ที่เป็นที่นิยมที่สุดคือ Premiered in Vienna

          ในปี 1762 ซึ่งเป็นพื้นฐานของศิลปะแบบคลาสสิกของกรีก โดย Orpheus (เทพเจ้าออฟีอูส เป็นนักดนตรียิ่งใหญ่ที่สุดในเทพนิยายโบราณ กล่าวถึงการสูญเสียภรรยาสุดที่รักของเขาแก่โลกใต้พิภพ) สาธารณะชนในเวียนนายังไม่ได้ยอมรับผลงานของเขาในขณะนั้น จนกระทั่งปี 1770 เขาย้ายไปปารีสตามคำขอร้องของเจ้าหญิงมารี อังตัวเนตต์ (Marie Antoinette) ซึ่งเขาได้ประสบความสำเร็จกับโอเปร่าของเขา Orfeo and Eurydice, Alceste ในปี 1774 และ Iphigenie en Tauride

          ในปี 1779 ซึ่งเป็นงานที่ยิ่งใหญ่และเป็นงานที่แข่งขันกันระหว่างกลุดกับพิชชินนี (Piccini 1728 –1800 ) ได้นำออกแสดงผลัดกันคนละหนเพื่อพิสูจน์ความดีเด่นกัน ในที่สุดกลุดก็ได้รับชัยชนะอย่างงดงาม พิชชินนีก็ยอมรับว่างานของกลุดชิ้นนี้ดีเยี่ยมจริงๆ ทำให้สังคมส่วนรวมเกี่ยวกับโอเปร่าและนักวิจารณ์ยอมรับเขามากขึ้น ซึ่งงานของเขาเป็นที่นิยมมากในปารีสขณะนั้น ด้วยการแต่งโอเปร่าครั้งสุดท้ายของเขาในปี 1779 เขาไปที่เวียนนาที่ซึ่งเขาถูกเชิญให้เป็นนักประพันธ์ของราชสำนักของจักรพรรดิ์โจเซฟที่ 2 เขาตายในปี 1787 ถึงแม้ว่าแนวดนตรีของเขาจะจบลงเมื่อเขาตาย แต่ Operatic reform ของเขาได้เป็นแบบอย่างแก่นักประพันธ์รุ่นหลังต่อมา และมีอิทธิพลต่องานแสดงดนตรีบนเวทีของ Mozart, Berlioz และ Wagner (ไพบูลย์ กิจสวัสดิ์, 2535 : 100)


2. ฟรานซ์ โจเซฟ ไฮเดิน (Franz joseph Haydn, 1732 - 1809)




          ผู้ประพันธ์เพลงยิ่งใหญ่เกิดที่หมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งชื่อโรห์เรา (Rohrau) อยู่ในภาคใต้ของออสเตรีย เมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ.1732 ถึงแก่กรรมที่กรุงเวียนนาเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 1809 เขาเป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวน 12 คน ของครอบครัวชาวนายากจนที่รักดนตรี เมื่อเขาอายุได้ 8 ปี เขาได้เป็นนักร้องในวงประสานเสียงของโบสถ์ เซนต์สติเฟน (St Stephen) แห่งเวียนนา หลังจากอยู่ที่นั่น 9 ปี ในปี 1749 เขาออกจากที่นั่นเพราะเสียงแตกเขาไม่มีเงินไม่มีบ้านเขาเลี้ยงชีพด้วยการร้องเพลง เล่นฮาร์ปสิคอร์ด (Harpsichord) และสอนดนตรี ตลอดเวลาเขาฝึกหัดและเรียนดนตรีอย่างต่อเนื่อง เขาเริ่มแต่งเพลงและได้เป็นผู้นำวงออร์เคสตราของ เคานต์ มอร์ซิน (Count Morzin of Bohemia) ซิมโฟนีชิ้นแรกของเขานำไปสู่การรับรองในปี 1761 ต่อจากนั้นไฮเดินก็ต้องออกมาอยู่กับ เจ้าชายปอล แอนตัน อีสเตอร์ฮาซี่ (Prince Paul anton Esterhazy) เขาทำงานกับตระกูลอีสเตอร์ฮาซี่เป็นเวลา 30 ปี โดยความเป็นจริงเป็นเหมือนคนรับใช้ แต่ถึงอย่างไรก็ดี เขาได้ประพันธ์ซิมโฟนี โอเปร่า และแชมเบอร์มิวสิก เป็นจำนวนมาก เขามีชื่อเสียงมากในยุโรปด้านดนตรี เขาพบ Mozart ตอนเด็กๆ ในปี 1781 และกลายเป็นเพื่อนสนิทกันและชื่นชมในดนตรีของกันและกันมาก เมื่อเจ้าชาย นิโคลาส ‘The Magnificent' แห่งตระกูลอิสเตอร์ฮาซีได้สิ้นพระชนม์ลงในปี 1790 เขาถูกปลดออกโดยผู้รับตำแหน่งต่อ เขาได้รับเงินบำนาญและรายได้เข้าจากสาธารณะชนและนักเรียนของเขา จากนั้นย้ายกลับเวียนนาและถูกเชิญไปลอนดอนโดย เจ.พี. ซาโลมอน (J.P. Salomon) เพื่อไปจัดแสดงคอนเสิร์ต ในระหว่างการเดินทางนี้เป็นการเดินทางไปอังกฤษครั้งที่ 2 โดยตกลงจะประพันธ์เพลงให้ 12 เพลง คือชุด London symphonies เพลงสุดท้าย เขาถูกเชิญให้ประพันธ์ ออราทอริโอ (Oratorio) ในสไตล์ของไฮเดิล (Handel) เขาประพันธ์ได้ 2 เรื่องและดนตรีของเขาเปลี่ยน the majesty of the Baroque ไปเป็นการเริ่มต้นของศตวรรษที่ 19 โดย Choruses เช่น The Heavens are Telling from The Creation แสดงครั้งแรกในปี 1798 ปัจจุบันรู้จักในชื่อว่า The father of the Symphony and the String quartet ที่จริงแล้วเขาไม่ได้คิดค้นมันขึ้นเองทั้ง 2 เรื่องแต่ได้พัฒนามันจากรูปแบบที่มีอยู่ก่อนแล้วทั่วยุโรป ไฮเดิลประพันธ์ Sonatas, quartets, symphonies, operas,concertos เป็นจำนวนหลายร้อย และได้วางรากฐานทางด้านเพลงซิมโฟนีไว้มากและแต่งเพลงซิมโฟนีไว้ถึง 104 บท จนได้รับฉายาว่าเป็น “บิดาแห่งเพลงซิมโฟนี” และยังได้ปรับปรุงสตริงควอเตท (String Quartet) ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

          ดนตรีของเขาดูง่ายมีเสน่ห์มีการต่อสู้ของแฟนซีและตลก ที่แท้จริงผสมอยู่ใน Classical veneer ตัวอย่างที่มีชื่อเสียงมากที่สุดได้แก่ The Surprise ในท่อน (movement) ที่ 2 ของซิมโฟนีของเขา No. 94 in G major แต่การทำตามความคิดของเขาจะพบได้ใน The finale of the Symphony no. 82 หรือเรียกอีกชื่อว่า The bear เป็น The bass drone และ Chortling bassoons ซึ่งเป็นเรื่องของหมีที่เต้นรำ เมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิในปี 1809 กองทัพฝรั่งเศสภายใต้การนำของนโปเลียน ยกทัพเข้ายึดครองเวียนนา ออสเตรียไว้ได้ เขาเศร้าเสียใจมากกับการเสื่อมอย่างรวดเร็วและได้ถึงแก่กรรมด้วยอาการสงบในวันที่ 31 พฤษภาคม 1809 ทหารฝรั่งเศสที่กำลังยึดครองเวียนนาอยู่ขณะนั้นได้ทำพิธีฝังศพให้แก่เขาอย่างสมเกียรติ ณ โบสถ์แห่งหนึ่งในเวียนนา


3. โมสาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart, 1756 - 1791)




          ผู้ประพันธ์เพลงที่ยิ่งใหญ่อีกผู้หนึ่งในสมัยคลาสสิกเป็นชาว ออสเตรีย กำเนิดในครอบครัวนักดนตรี เมืองซาลส์บวร์ก (Salzbutrg) เกิดเมื่อวันที่ 27 มกราคม ค.ศ.1756 ถึงแก่กรรมที่ เวียนนา วันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ.1791 และมีชื่อเสียงในงานประพันธ์ดนตรีประเภทซิมโฟนี แชมเบอร์มิวสิก และโอเปร่า เมื่อเขาอายุ 4 ปี เขาสามารถเรียนดนตรีได้ครั้งละครึ่งชั่วโมง เมื่ออายุ 5 ปี เขาสามารถเล่นคลาเวียร์ ได้ดีอย่างไม่น่าเชื่อ เขาเขียนซิมโฟนีชิ้นแรกเมื่อเขาอายุ 8 ปี

          เขาเดินทางทั่วยุโรปกับพ่อของเขาชื่อ เลโอโปลด์ โมสาร์ท (Leopard Mozart 1719 - 1787) ซึ่งเป็นนักไวโอลินและบางครั้งเป็นนักประพันธ์เพลง และเป็นผู้กำกับนักร้องประสานเสียงหรือวงออร์เคสตราในราชสำนักของ อาร์ชบิชอพที่ซาลส์บวร์ก (Archbishop of Salzburg) ทักษะทางคนตรีของเขาได้ปรากฏต่อราชสำนักครั้งแรกที่เมืองมิวนิคใน ปี 1762 และปรากฏต่อสาธารณะชนในระหว่างอายุ 7 ถึง 15 ปี เขาใช้เวลาครึ่งหนึ่งในชีวิตในการเดินทางท่องเที่ยวไป เขาจึงซึมซับและเรียนรู้สำนวนดนตรีของยุโรปอย่างหลากหลาย สะสมจนเป็นสไตล์ของตัวเอง

          ในปี 1777 เขาท่องเที่ยวไปกับมารดาของเขาที่เมืองมิวสิค แมนเฮม และปารีส และที่ ปารีส มารดาของเขาได้ถึงแก่กรรมอย่างกะทันหันในเดือนมกราคม 1778 เขาตกงาน จึงกลับไปที่บ้านเกิดในปี 1779 และได้เป็นนักออร์แกนของราชสำนักอาร์ชบิชอพ ที่ซาลส์บวร์ก (Archship of Salzburg) และถูกปลดออกในปี 1781 หลังจากนั้นเขากลายเป็นนักดนตรีอิสระคนแรกในประวัติศาสตร์ ที่ดำเนินชีวิตโดยไม่ขึ้นกับราชสำนักหรือโบสถ์หรือผู้อุปถัมถ์ใดๆ




          เขาย้ายไปที่เวียนนาและได้อยู่กับครอบครัว เวเบอร์ (The Webers) ซึ่งเป็นครอบครัวที่เขาพบในปี 1777 เขาแต่งงานกับคอนสตันซ์ เวเบอร์ (Constanze Weber) ในเดือนสิงหาคม 1782 หลังจากนั้นไม่นานทุกอย่างเริ่มดีขึ้น ในปี 1782 เริ่มด้วยผลงาน The Singspiel Die Entfuhrung ans dem Serail (The Abduction from the Seraglio) โมสาร์ทอาจจะเป็นนักประพันธ์คนเดียวในประวัติศาสตร์ที่เขียนเพลงอย่างประณีตทุกรูปแบบของดนตรีตลอดชีวิตของเขา ผลงานประเภทเซเรเนด (Serenades), Divertimenti,Dances ที่เขาเขียนขึ้นเพื่อความบันเทิงและงานปาร์ตี้ของขุนนาง ล้วนเป็นความยิ่งใหญ่ของสมัยคลาสสิก (Classical age of elegance) และถูกดัดแปลงโดยนักประพันธ์ ชื่อ Eine Kleine Nachtmusik เป็น Serenade in G major

          ในเวียนนาเขาเป็นคนสำคัญในราชสำนักของจักรพรรดิ์โจเซฟที่ 2 (Joseph1741 – 1790) ที่ซึ่งเขาได้เขียนดนตรีที่ยิ่งใหญ่มากมาย ตัวอย่างเช่น The last string quartets, The string quintets, The quintet for clarinet and strings, The mass in C major, Requiem (ซึ่งเขาเขียนยังไม่เสร็จ), The Serenade for thirteen wind instruments, The Clarinet connect, และ The late piano concerto นอกจากนี้ Piano concerto ของเขายังคงมีรูปแบบของ The classic concerto form เขาปรับปรุงพัฒนามาเป็นงานของ Symphonic breadth and scope, Concerto ของเขามักเริ่มต้นด้วยรูปแบบโซนาตาในท่อนที่ 1 ตามด้วยท่อนที่ 2 ที่นุ่มนวลและเป็นทำนองเพลงโดยปกติ มีเพลงที่มีชีวิตชีวารวมอยู่ด้วยพร้อมทั้งมี รอนโด (Rondo) หมายถึงเพลงที่บรรเลงโดยการย้อนที่ดึงดูดความสนใจ เช่น The piano concerto no.22 in E flat ในซิมโฟนี 3 ชิ้นสุดท้าย ชิ้นที่ 2 คือ Symphony no.40 in G minor เขาได้ใส่ passion และการแสดงออกซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในการเขียนซิมโฟนีจนกระทั่งถึงสมัยของ เบโธเฟน (Beethoven)

          งานด้านอุปรากรนั้นในปี ค.ศ. 1786 โมสาร์ทได้ร่วมมือกับ ลอเรนโซ ดา พอนเต้ (Lorenzo Da Ponte) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญประจำโรงละครหลวงในกรุงเวียนนาเขียน The marriage of Figaro ขึ้น อุปรากรเรื่องนี้เมื่อแสดงครั้งแรกไม่ประสบความสำเร็จดังที่ตั้งใจไว้แต่ต่อมามีคนนำไปแสดงที่ กรุงปร๊าค นครหลวงของโบเฮเมีย ประเทศเชคโกสโลวาเกีย ได้รับความสำเร็จอย่างงดงาม ค.ศ. 1787 เขียนอุปรากรเรื่อง ดอน โจวันนี (Don Giovanni) ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการผจญภัยของชายหนุ่มนักรักที่ชื่อว่า ดอน จิโอวันนี หรือ ดอน ฮวน (Don Juan) ได้สำเร็จ ในระหว่างที่เขาอยู่ที่เวียนนาได้เป็นเพื่อนสนิทกับไฮเดิล (Franz Joseph Haydn) ซึ่งมีอิทธิพลต่อผลงานของเขาในระหว่างปี 1782 - 1785 โมสาร์ท (Mozart) ได้ประพันธ์ Six string quartets ซึ่งอุทิศให้ ไฮเดิล บางส่วนเขาทั้งสองเล่นด้วยกัน

          ด้วยการจัดการการเงินที่ผิดพลาดและด้วยความไม่มีประสบการณ์ชีวิตขาดการไตร่ตรอง และความประพฤติที่เหมือนเด็กที่ปีกกล้าขาแข็งและใช้ชีวิตอย่างเจ้านาย ทำให้เขาตกระกำลำบากในการดำเนินชีวิตภายในปี 1790 เขาได้เขียนจดหมายถึงเพื่อนหลายคนบรรยายถึงเขาและครอบครัว (เขาและภรรยามีลูกด้วยกัน 6 คน มีชีวิตรอดอยู่เพียง 2 คน) ความลำบากยากจนต้องขอทานเพื่อยังชีพ และในระหว่างนี้เอง เขาก็ป่วยหนักด้วยโรคไตแต่ด้วยความสำเร็จของ The Magic Flute เขาได้รับเงินจ่ายประจำปี เขาจึงเริ่มต้นมีความมั่นคงทางการเงินอีกครั้ง ในขณะที่โรคของเขานำเขาไปสู่ความตายเมื่อเขาอายุได้ 36 ปี เขาถูกฝังเหมือนชาวเวียนนาทั่วไป โดยคำบัญชาของจักรพรรดิ์โจเซฟในหลุมศพสามัญทั่วไป ซึ่งที่ฝังศพแน่นอนจนปัจจุบันก็ยังไม่ทราบ

          นักประพันธ์ในปลายศตวรรษที่ 19 ที่บูชาและยกย่องเขามากได้แก่ Richard Wagner และ Peter Tchaikovsky และดนตรีของเขามีอิทธิพลต่อ The neo –- classical compositions ของ Igor Stravinsky และ Sergei Prokofiev ในศตวรรษที่ 20


 

ภาพวาดโมสาร์ทขณะอายุยังน้อยจะเห็นได้ชัดถึงความสุขุม



4 . เบโธเฟน (Ludwig van Beethoven, 1770 - 1827)




          ผู้ประพันธ์เพลงชาวเยอรมันผู้ยิ่งใหญ่ในโลกของดนตรีตะวันตก เกิดเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1770 ที่กรุงบอนน์ เป็นผู้นำดนตรีในรูปแบบใหม่จากสมัยคลาสสิกมาสู่สมัยโรแมนติก และมีชื่อเสียงในงานประพันธ์ดนตรีประเภทซิมโฟนี แชมเบอร์มิวสิก ดนตรีสำหรับเปียโน แมส โอเปร่า และออราทอริโอ ในช่วงของเบโธเฟนแสดงถึงจุดสูงสุด ในการพัฒนาฟอร์มและสไตล์ดนตรีแบบคลาสสิก แบบต่างๆ ลุดวิก ฟาน เบโธเฟน ได้ประพันธ์ซิมโฟนีไว้ 9 บท แต่ละบทล้วนได้รับความชื่นชอบจากผู้ฟังเป็นอย่างสูงและต่างก็มีคุณสมบัติเฉพาะตัวไม่ซ้ำแบบกัน เขาได้เริ่มแต่งซิมโฟนีหมายเลข 1 เมื่ออายุ 27 ปี (ค.ศ.1797) และแต่งซิมโฟนีหมายเลข 9 เสร็จลงเมื่ออายุ 53 ปี (ค.ศ. 1823 ก่อนถึงมรณกรรม 4 ปี) รวมช่วงเวลาของเขาในการประพันธ์ซิมโฟนี 25 ปี ซึ่งนับว่าเป็นระยะเวลานานพอที่จะทำให้ซิมโฟนีทั้ง 9 บทมีความแตกต่างกัน

          เบโธเฟนได้ประเดิมความตื่นเต้นให้เกิดขึ้นทันทีในตอนเริ่มต้นซิมโฟนีบทแรกของเขาด้วยเสียงที่กระด้างหู จนทำให้นักวิจารณ์ดนตรีร่วมสมัยเดียวกันกับเขาถึงกับตะลึงและกล่าวออกมาว่า “ถึงแม้ว่าเขา (เบโธเฟน) พยายามจะเคร่งครัดในแบบแผนคลาสสิกแต่เขาก็อดที่จะแหวกแนวไม่ได้”

          อีก 5 ปี หลังจากซิมโฟนีหมายเลข 1 ได้เริ่มขึ้นเขาก็ได้แต่งซิมโฟนีหมายเลข 2 ในช่วงเวลาที่เขาได้รับความทรมานอย่างหนักทั้งกายและทางใจ ประจักษ์พยานในเรื่องนี้เราจะทราบเมื่อได้อ่าน “ไฮลิเก็นช์ตัดท์ เทสตาเมนท์” อันเป็นที่มาของบทประพันธ์สั้น Fur Elise ซึ่งตัวเขาเองได้บันทึกไว้อย่างชวนให้น่าเห็นใจในซิมโฟนีบทนี้ปรากฏว่าไม่มีร่องรอยของความทุกข์หม่นหมองแฝงอยู่เลย ตรงกันข้ามบทเพลงกลับเพียบพร้อมไปด้วยความงดงามและความสง่าผ่าเผย และเบโธเฟนยังคงยึดมั่นแบบแผนคลาสสิก เช่นเดียวกับซิมโฟนีบทแรก

          เบโธเฟนได้ให้ชื่อซิมโฟนีหมายเลข 3 ของเขาว่า "Eroica" ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเขาเป็นคนที่ยกย่องเทิดทูนวีรบุรุษ ขณะที่เขาประพันธ์งานชิ้นนี้เขาเริ่มเป็นตัวของตัวเองแล้ว บทเพลงนี้ประกอบด้วยความโศกสลด ความมีพลังอำนาจ อีกทั้งความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว ซึ่งคุณลักษณะเหล่านี้ ปรากฏอย่างน่าทึ่งด้วยภาษาของดนตรี


 


          ซิมโฟนีหมายเลข 4 มีบางสิ่งบางอย่างคล้ายคลึงกับซิมโฟนีหมายเลข 2 ผลงานชิ้นนี้ ได้สะท้อนอารมณ์อันอ่อนโยนละมุนละไมของเบโธเฟนออกมามากกว่าบทใดๆ เขาแต่งขึ้นขณะที่จิตใจกำลังอิ่มเอมด้วยความรัก ซิมโฟนีบทนี้ได้ก่อให้เกิดการตัดกันอย่างเด่นชัดของซิมโฟนีทั้งสอง ที่อยู่ข้างเคียง คือ ซิมโฟนีหมายเลข 3 อันห้าวหาญ และซิมโฟนีหมายเลข 5 ที่เต็มไปด้วยการต่อสู้ดิ้นรน ซึ่งโรเบิ์รท ชูมันน์ คีตกวีผู้มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยโรแมนติกกล่าวว่า "... ดุจสาวกรีกที่มีโฉมสคราญยืนอยู่ระหว่างยักษ์ใหญ่ไวคิงสองตน ..."

          ในปี ค.ศ.1807 ความพิการของหูทั้งสองข้างของเขาซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ ปี ค.ศ.1800 ได้กำเริบหนักขึ้น และส่ออาการว่าจะไม่ได้ยินอะไรอีกต่อไปได้ ขอให้ท่านลองคิดดูว่า ศิลปินที่ใช้กระแสเสียงเป็นสื่อกลางในการสร้างสรรค์ผลงานจะระทมทุกข์เพียงใด เมื่อรู้ว่าความย่อยยับนี้กำลังมาสู่เขาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จากเสียงของตัวโน้ต 4 ตัว "สั้น-สั้น-สั้น-ยาว" ที่ผู้ฟังส่วนมากคุ้นหูในท่อนแรก ไปจนกระทั่งเสียงแห่งความมีชัยชนะ เคราะห์กรรมในท่อนสุดท้ายของซิมโฟนีหมายเลข 5 ย่อมจะไม่เป็นที่สงสัยเลย ซิมโฟนีบทนี้ได้กลายเป็นซิมโฟนีที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดของเบโธเฟนหรือแม้แต่ของคีตกวีทั้งปวงที่ได้แต่งซิมโฟนีขึ้น

          เบโธเฟนได้ใช้ธรรมชาติเป็นสิ่งปลอบประโลมใจในยามทุกข์ เขามักจะออกไปสู่ชนบทเสมอเพื่อสัมผัสกับท้องทุ่งที่เขียวชอุ่ม อากาศสดชื่น แสงแดดอ่อนๆ เสียงของกระแสน้ำในลำธาร เสียงนกตามกิ่งไม้ พายุฝน ความชุ่มฉ่ำภายหลังฝนตก ฯลฯ สิ่งและสภาวะเหล่านี้ ได้นำมาบรรจุลงอย่างสมบูรณ์แล้วในซิมโฟนีหมายเลข 6 ซึ่งผู้ฟังรู้จักกันดีชื่อว่า "Pastoral" เบโธเฟนนั้นไม่เพียงแต่จะเป็นนักธรรมชาตินิยมที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่ง หากเขายังเป็นผู้ให้แนวคิดใหม่ๆ กับคีตกวีโรแมนติกในสมัยต่อมาอีกด้วย เขาได้เริ่มวางเค้าโครง ซิมโฟนีหมายเลข 7 เมื่อ ปี ค.ศ. 1811 และได้แต่งเสร็จเรียบร้อยในปีต่อมา ซิมโฟนีบทนี้ ริชาร์ด วากเนอร์ ได้ให้ฉายาว่า "The apotheosis of the Dance" ทั้งนี้เพราะวากเนอร์ได้ฟังบทบรรเลงนี้เขารู้สึกเหมือนว่าได้ร่วมสนุกกับแบ็คคัส เทพเจ้าแห่งเหล้าองุ่น และเหล่าบริวารในงานเลี้ยงฉลองกันอย่างครึกครื้นก่อนที่ความโอฬารตามแบบฉบับของเบโธเฟนจะได้ปรากฏแก่ผู้ฟังในเวลาต่อมา เบโธเฟนได้ถูกนักวิจารณ์ร่วมสมัย ประนามเขาอย่างไม่ไว้หน้าว่า เป็นคนป่าเถื่อนและมีสติไม่สมบูรณ์ (ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535 :160)




          ในซิมโฟนีหมายเลข 8 เบโธเฟนได้สอดแทรกการมองโลกในแง่ดีและอารมณ์ขันของเขาลงไปอย่างได้ผล ซิมโฟนีบทนี้ก็เช่นเดียวกับซิมโฟนีหมายเลข 4 กล่าวคือ มันเปรียบดุจดอกกุหลาบอันบอบบาง อยู่ระหว่างผาหินทั้งสอง (คือซิมโฟนีหมายเลข 7 และหมายเลข 9) ซิมโฟนีหมายเลข 9 "Choral" ได้อุบัติขึ้นหลังจากหูทั้งสองของเขาไม่สามารถจะรับเสียงอะไรๆ ได้อีกต่อไป เบโธเฟนได้แสดงความปรารถนาอย่างแรงกล้าในอันที่จะเห็นมนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างสันติ เขาได้กำหนดให้มีการขับร้องบทกวีของซิลเลอร์ในท่อนสุดท้ายของซิมโฟนีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดบทนี้

          เบโธเฟนได้มีความคิดที่ประพันธ์บทเพลงที่มีการขับร้องเดี่ยวและประสานเสียงมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1808 ซึ่งจะพบได้จากการทดลองใน Choral Fatasia โอปุส 80 ของเขาจากนั้นมาเขาก็ได้ให้ความสนใจกับ Missa solemnis อันเป็นผลงานยิ่งใหญ่ทางด้านศาสนาเสียหลายปี จนได้มาแต่งซิมโฟนีบทนี้และสำเร็จลงเมื่อเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ.1823 เขาได้ทิ้งช่วงเวลาห่างถึง 11 ปี (ค.ศ.1812-1823) หลังจากได้แต่งซิมโฟนีหมายเลข 8 เสร็จ ซิมโฟนีหมายเลข 9 นี้ได้ออกแสดงครั้งแรกที่ Karnthner theater ในนครเวียนนาเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ.1824 โดย Gesselschaft der Musikfreunde การแสดงครั้งแรกปรากฏว่าเต็มไปด้วยความทะลักทุเลกันเนื่องมาจากวงดนตรีอ่อนซ้อม และความสับสนในหมู่นักร้อง อย่างไรก็ดี การแสดงครั้งนั้นได้มีเหตุการณ์อันน่าสะเทือนใจเกิดขึ้น เมื่อซิมโฟนีจบลง ผู้ฟังได้ปรบมือพร้อมกับโห่ร้องอย่างกึกก้องเป็นระยะเวลานาน จนแทบจะทำให้โรงละครนั้นพังลง

          แต่เบโธเฟนผู้ซึ่งยืนอยู่ในกลุ่มนักดนตรีเป็นผู้เดียวเท่านั้นที่ไม่สามารถได้ยินเสียงแห่งความปิติยินดี สายตาของเขายังคงจับจ้องอยู่ที่โน้ตเพลง จนกระทั่งนักร้องสาวเสียงโซปราโนนามว่า คาโรลิน อุงเกอรี เกิดสงสารเขาจนน้ำตาคลอได้ค่อยๆ หันตัวเขาอย่างเบาๆ ไปสู่ผู้ฟัง เขาจึงได้เห็นทุกคนในที่นั้นต่างแสดงความปลาบปลื้มต่อความสำเร็จของเขา แต่ก็เป็นความสำเร็จที่เขาไม่สามารถสัมผัสได้ด้วยโสตประสาทตราบสุดท้ายแห่งชีวิต

          ในระยะเวลา 57 ปี ของชีวิตเบโธเฟนกล่าวได้ว่า เป็นช่วงเวลาแห่งการสร้างสรรค์ผลงานทางดนตรีในรูปแบบใหม่จากคลาสสิกมาสู่สมัยโรแมนติกด้วยความตั้งใจจริงผนวกกับความมีอัจฉริยะทำให้เบโธเฟนเป็นผู้ประพันธ์เพลงที่ยิ่งใหญ่ตลอดกาล ยากที่จะหาผู้ประพันธ์คนอื่นมาเทียบเทียมได้ จึงไม่น่าแปลกใจที่เพลงของเบโธเฟนยังคงเป็นที่นิยมฟังและนิยมบรรเลงกันตลอดมาจนกระทั่งปัจจุบัน




ที่มา : http://student.nu.ac.th/pick_ed/LESSON6.htm


2 ความคิดเห็น: