วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

3. วงแบนด์ (Band)


          วงแบนด์เป็นลักษณะของการผสมวงดนตรีอีกประเภทหนึ่งของตะวันตกที่มีเครื่อง ดนตรีในกลุ่มเครื่องเป่าเป็นหลักและมีเครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องประกอบ จังหวะผสมวงบรรเลงร่วมกัน การผสมวงแบนด์แบ่งตามประเภทได้ดังนี้

          1. ซิมโฟนิคแบนด์ หรือ คอนเสิร์ตแบนด์ (Symphonic Band or Concert Band) เป็นการผสมที่เน้นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าชนิดต่างๆ เป็นสำคัญ และมีเครื่องประกอบจังหวะตามความเหมาะสม ใช้บรรเลงในร่ม ในห้องประชุม หรือห้องจัดแสดงดนตรี บทเพลงที่ใช้บรรเลงต้องเขียนขึ้นโดยเฉพาะ วงซิมโฟนิคแบนด์จะไม่นำไวโอลิน วิโอลา และเชลโลมาผสมวง ยกเว้นดับเบิลเบสซึ่งเป็นเครื่องสายชนิดเดียวที่นำมาประสมในวงประเภทนี้ การผสมวงดนตรีและการบรรเลงดนตรีในลักษณะนี้ อาจเรียกชื่อเป็นอย่างอื่นได้อีก เช่น "Wind Ensemble" ประกอบด้วยเครื่องดนตรี 3 กลุ่ม คือ

- กลุ่มเครื่องลมไม้ (Woodwind) ได้แก่ แซ็กโซโฟน, บาสซูน, โอโบ, คลาริเนท, ฟลูท และปิคโคโล ( ในบางโอกาสมักใช้ผู้เล่นคนเดียวกัน )
- กลุ่มเครื่องทองเหลือง (Brass) ได้แก่ ทรัมเป็ต, ทรอมโบน, ทูบา, ยูโฟเนียม, เฟรนช์ฮอร์นและคอร์เน็ต
- กลุ่มเครื่องตีประกอบจังหวะ (Percussion) ได้แก่ กลองทิมปานี, กลองเล็ก, กลองใหญ่, กิ่ง, มาริมบา, ฉาบ และระฆังราว ( ขึ้นอยู่กับเพลงด้วย )




          โดยปกติมักใช้นั่งบรรเลงเป็นหลัก ขณะที่นั่งบรรเลงจะต้องมีผู้อำนวยเพลง (Conductor) คอยควบคุมจังหวะและปรับความสมดุลของเพลงด้วย เพลงที่ใช้บรรเลงมักเป็นเพลงทั่วๆ ไปหรือเพลงที่ใช้เฉพาะในงานนั้นๆ ซึ่งเพลงที่นำมาบรรเลงจะต้องเป็นเพลงที่เขียน ขึ้นมาเพื่อใช้กับวงคอนเสิร์ตแบนด์โดยเฉพาะเท่านั้น เพราะในการเรียบเรียงเสียงประสานนั้นผู้ที่ เรียบเรียงฯ จะทราบจำนวนและเป็นผู้กำหนดเครื่องดนตรีเอง หากนำเพลงที่เรียบเรียงให้วงที่มีจำนวนนักดนตรีมากมาให้วงที่มีนักดนตรีน้อย เล่นอาจทำให้ทำนองหลักของเพลงขาดหายไปก็เป็นไปได้เนื่องจากจำนวนนักดนตรีไม่เท่ากัน


          2. วงมาร์ชชิ่งแบนด์ (Marching Band) เป็นวงดนตรีที่มีอยู่ตามโรงเรียนและสถาบันการศึกษาต่างๆ เหมาะสำหรับบรรเลงกลางแจ้ง เป็นดนตรีสนาม ใชบรรเลงนำขบวนพาเหรด บรรเลงในสนามกีฬา บรรเลงในวงเฉลิมฉลองต่างๆ ที่ต้องการความครึกครื้น สนุกสนาน และความเข้มแข็ง เพลงที่บรรเลงมีทั้งมาร์ชต่างๆ และเพลงลีลาแบบอื่นๆ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นเพลงมาร์ช นำมาเรียบเรียงใหม่เพื่อบรรเลงโดยวงมาร์ชชิ่งแบนด์โดยเฉพาะ เครื่องดนตรีที่นำมาประสมในวงมาร์ชชิ่งแบนด์คือ เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าและเครื่องตีกระทบประกอบจังหวะ ถ้าดูจากการประวงของเครื่องดนตรีแล้ว วงมาร์ชชิ่งแบนด์สมารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ


          2.1 แตรวง (Brass Band) เป็นวงดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบในการเดินแถวของทหาร การสวนสนาม พิธีแห่ต่างๆ และใช้บรรเลงประกอบในงานกีฬา ประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ

- กลุ่มเครื่องทองเหลือง (Brass) ได้แก่ ทรัมเป็ต, ทรอมโบน, ทูบา, ยูโฟเนียม, บาริโทน, เฟรนช์ฮอร์นและคอร์เน็ต
- กลุ่มเครื่องตีประกอบจังหวะ (Percussion) ได้แก่, กลองเล็ก, กลองใหญ่, ในขณะใช้เดินแถวนั้นวงแตรวงจะต้องมีคทากรหรือดรัมเมเยอร์ (Drum Major) เดินถือไม้คทานำหน้าแถวเพื่อทำหน้าที่ให้สัญญาณต่างๆ นอกจากนี้วงแตรวงยังถือว่าเป็นต้นแบบของดนตรีแจ๊ส






          2.2 วงโยธวาทิต (Military Band) เป็นวงดนตรีที่เกิดขึ้นเพื่อใช้ในกิจการของทหาร เช่น บรรเลงสำหรับเดินแถวทหาร บรรเลงเพื่อปลุกใจทหาร ต่อมาได้แพร่หลายไปสู่สถานศึกษาต่างๆ โดยได้นำวงโยธวาทิตไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ ของนักเรียน

          คำว่า " โยธวาทิต " ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง "วงดนตรีที่บรรเลงโดยทหาร ซึ่งมาจากคำว่า โยธ แปลว่า ทหาร รวมกับคำว่า วาทิต แปลว่า ดนตรี หรือผู้บรรเลงดนตรี" วงโยธวาทิตเป็นวงดนตรีที่มีลักษณะคล้ายกับวงคอนเสิร์ตแบนด์ทุกประการเพียง แต่เรียกชื่อต่างกันเท่านั้น กล่าวคือ ในขณะที่วงโยธวาทิตใช้ประกอบการเดินแถวสวนสนามหรือแสดงการแปรแถวกลางแจ้งเรา เรียกว่าการ " แสดงดนตรีสนาม " (Display) แต่เมื่อวงโยธวาทิตบรรเลงโดยการนั่งบรรเลงเราเรียกว่า "คอนเสิร์ตแบนด์" (Concert Band) สำหรับการใช้งานนั้นคล้ายกับวงแตรวง ยกเว้นเครื่องดนตรีที่ประกอบในวงโยธทิตนั้นประกอบด้วยเครื่องดนตรี 3 กลุ่ม คือ

- กลุ่มเครื่องลมไม้ (Woodwind) ได้แก่ แซ็กโซโฟน, บาสซูน, โอโบ, คลาริเนท, ฟลูท และปิคโคโล ( ในบางโอกาสมักใช้ผู้เล่นคนเดียวกัน )
- กลุ่มเครื่องทองเหลือง (Brass) ได้แก่ ทรัมเป็ต, ทรอมโบน, ทูบา, ยูโฟเนียม, คอร์เน็ตและเฟรนช์ฮอร์น, ซูซ่าโฟน
- กลุ่มเครื่องตีประกอบจังหวะ (Percussion) ได้แก่ กลองเล็ก, กลองใหญ่, ฉาบ





          วงโยธวาทิตที่มีชื่อเสียงของโลก คือ วงโยธวาทิตของ จอห์น ฟิลิป ซูซ่า (John Philip Sousa ค.ศ. 1854 - 1993) เป็นวงโยธวาทิตที่อยู่ในอเมริกา และเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย สำหรับ จอห์น ฟิลิป ซูซ่า นั้น เป็นผู้ที่มีความสามารถทางดนตรีอย่างมาก เป็นทั้งผู้ควบคุมวงดนตรีที่มีความสามารถ และนักประพันธ์เพลงที่มีชื่อเสียง โดยเฉพาะเพลงในลีลาจังหวะมาร์ช เขาแต่งได้อย่างไพเราะทุกเพลง จนได้รับการยกย่องให้เป็น “ราชาแห่งเพลงมาร์ช”







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น