วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ระฆังราว (Tubular Bell or Chime)


          ระฆังราว ชื่อที่ใช้เรียกในภาษาอังกฤษ คือ Orchestral Bells และ Chimes การประดิษฐ์เครื่องดนตรีชนิดนี้เพื่อเลียนเสียงของระฆังจริงๆ วัสดุที่นำมาประดิษฐ์นั้นทำด้วยท่อโลหะแขวนเรียงกันตามลำดับเรียงจากเสียงต่ำไปหาเสียงสูงการแยกแยะคือท่อที่มีขนาดสั้นจะเป็นเสียงสูง สำหรับท่อที่มีขนาดยาวจะเป็นเสียงต่ำ แขวนไว้กับโครงที่เป็นโลหะในแนวดิ่ง ใช้ไม้ตีที่ปลายของท่อด้านหัวก็จะเกิดเสียงที่เหมือนเสียงของระฆัง


โครงสร้างของระฆังราว
- โครงโลหะสำหรับแขวนท่อโลหะ
- ท่อโลหะที่แขวนไว้กับโครงโลหะในแนวดิ่ง
- ท่อโลหะระดับเสียง แฟล็ต-ชาร์ป
- ท่อโลหะระดับเสียงเนเจอรัล


ภาพแสดงส่วนประกอบของระฆังราว




ระฆังราวเครื่องดนตรีจีนที่หายสาปสูญนับพันปี

          ประวัติศาสตร์การดนตรีของจีนมีความเป็นมายาวนานมาก จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ขุดพบในแผ่นดินจีนสามารถยืนยันได้ว่า มีเครื่องดนตรีหลากหลายประเภท ถือกำเนิดขึ้นมานานก่อนที่จะเริ่มประวัติศาสตร์สมัยฉินแล้ว[1] เช่น การขุดค้นทางโบราณคดีในยุคหินใหม่ที่ได้จากเมืองเหอหมู่ตู้ มณฑลเจ้อเจียง พบเครื่องดนตรีลักษณะคล้ายนกหวีด ชื่อ “ซ่าว”(哨)โบราณวัตถุหยางซ่าวที่ขุดได้จากบ้านป้านโป เมืองซีอาน พบเครื่องดนตรีประเภทเป่าทำจากดินเผา ชื่อ “ซวิน” (埙) โบราณวัตถุที่อำเภออินซวี เมืองอันหยาง มณฑลเหอนาน พบเครื่องดนตรีประเภทตีที่ทำจากหิน ชื่อ “ชิ่ง” (石磬)และกลองไม้ที่ขึงด้วยหนังงูเหลือม ชื่อ “หม่างผีกู่” (蟒皮鼓)

          จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์การดนตรีของจีนที่มีมายาวนานสามารถยืนยันได้ว่า มีเครื่องดนตรีหลายประเภทถือกำเนิดขึ้นมานานก่อนที่จะเริ่มประวัติศาสตร์สมัยฉิน การขุดค้นที่สร้างความตะลึงทางโบราณคดีให้กับนักวิชาการดนตรีรวมถึงนักโบราณคดีทั้งของจีนและของโลก คือ การขุดค้นที่สุสานเจิงโห้วอี้ อำเภอสุย มณฑลหูเป่ย (ฝังเมื่อ 433 ปีก่อนคริสตกาล) การขุดค้นครั้งนี้พบเครื่องดนตรีหลายชนิด ซึ่งหนึ่งในนั้นก็รวมถึงระฆังราวด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งระฆังโลหะ แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาอันชาญฉลาดในการประดิษฐ์คิดค้น และการใช้เครื่องมือโลหะของบรรพบุรุษจีนที่มีมาอย่างยาวนาน

          วิวัฒนาการของระฆังเริ่มมาจากเครื่องดนตรีขนาดเล็กชนิดหนึ่ง คือ กระดิ่ง ในภาษาจีนเรียกว่า หลิง เป็นเครื่องดนตรีโลหะมีลิ้นที่เก่าแก่ที่สุดของจีน ลิ้น คือ ส่วนที่แขวนอยู่ในกระดิ่งใช้เคาะกระดิ่งให้เกิดเสียงดัง การขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อปี 1981 พบกระดิ่งโลหะ 4 ชิ้น ที่เมืองลั่วหยาง ซึ่งหลอมมาจากทองสำริด เป็นรูประฆังคว่ำ ขนาดเล็ก ผิวบาง ยอดแหลม ปากกว้าง ริมเรียบ มีหูกางออก 2 ข้าง ยอดกระดิ่งมีห่วงสำหรับคลอ้ง ลิ้นกระดิ่งทำจากหยก บางครั้งประดับด้วยทองก็มี ก่อนที่จะถึงยุคกระดิ่งทองแดงที่ขุดพบ มีกระดิ่งดินเผาเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้แล้ว เป็นกระดิ่งดินเผาที่ปั้นด้วยมือ รูปทรงกลมมีด้ามจับ ด้านข้างไม่มีรูเจาะถึงกัน ต่อมากระดิ่งก็เริ่มพัฒนาและเป็นจุดต้นกำเหนิดสำคัญของเครื่องดนตรีโลหะในสมัยราชวงศ์ซาง และราชวงศ์โจวในเวลาต่อมา

          จากบันทึกทางประวัตฺศาสตร์ และการขุดค้นทางโบราณคดี พบว่าระฆังราวมีมาตั้งแต่สมัยซีโจว ในยุคนั้น ระฆังราวประกอบกันขึ้นเป็นกลุ่มเสียง สูง - ต่ำ ต่างกันด้วยระฆัง 2 - 3 ตัว ต่อมาจึงมีระฆังเพิ่มขึ้น มีทั้งกลุ่ม 9 ตัว และ 13 ตัว ต่อมาปี 1978 พบระฆังราวที่ใหญ่ที่สุดที่สุสานเจิ้งโห้วอี้ที่มณฑลหูเป่ย ระฆังราวนี้แขวนรวมกันบนชั้นที่มีความใหญ่โตพอๆ กับเวทีการแสดงหนึ่งเวที ในปัจจุบันนี้ ประกอบด้วย ระฆังหู 19 ตัว ระฆังด้าม 45 ตัว ด้านนอกยังมีระฆังใหญ่อีก 65 ตัว ระฆังราวเหล่านี้แบ่งเป็น 3 ชั้น 8 กลุ่ม แขวนอยู่บนราวระฆัง ระฆังที่มีขนาดต่างกันจะทำให้เกิดเสียงสูงต่ำต่างกัน ระฆังใบใหญ่ที่สุดจะให้เสียงต่ำสุด ระฆังทั้งชุดนี้มีน้ำหนักรวมกันมากกว่า 2500 กิโลกรัม ราวระฆังก็สร้างขึ้นจากไม้และ โลหะเป็นรูปฉาก ความยาวทั้งหมดอยู่ที่ 10 เมตรขึ้นไป มีชั้นสำหรับแขวนระฆังสามชั้น สูง 273 เซ็นติเมตร มีสลักเป็นตัวยึดราวเข้าด้วยกัน การบรรเลงระฆังราวใช้ผู้บรรเลง 3 คน ขึ้นไป ใช้ไม้ตีลักษณะเป็นรูปค้อนตีระฆังเสียงสูงและเสียงกลาง ส่วนระฆังแถวล่างที่เป็นเสียงต่ำใช้ไม้ตีที่เป็นรูปกระบอง

          จากการวิจัยปัจจุบันพบว่า ระฆังแต่ละตัวสามารถตีเป็นเสียงได้สองเสียง แต่ตอ้งตีให้ถูกจุดที่กำหนดแน่นอน ในระฆังหนึ่งราวสามารถตีเป็นเสียงทุกเสียงที่อยู่บนแป้นเปียโนได้ นั่นย่อมหมายความว่า เสียงระฆังราวนั้นสามารถบรรเลงเสียงเปียโนในปัจจุบันได้ทุกเสียง ความถี่ของเสียงระฆัง คือ 256.4 เฮิร์ซ ซึ่งก็ยังเป็นระดับเสียงเดียวกันกับเสียงเปียโน แม้ว่าจะถูกฝังอยู่นานกว่า 2000 ปี แต่จากการทดลองของนักดนตรีปัจจุบัน เมื่อบรรเลงแล้วพบว่า เสียงของระฆังยังคงมีคุณภาพเสียงที่ชัดเจน และแม่นยำ มีช่วงเสียง 5 ช่วงคู่แปด และยังสามารถบรรเลงได้ทั้งเพลงโบราณและเพลงปัจจุบันได้ครบทุกเสียง และบรรเลงเพลงกลุ่มตา่งๆ ได้อย่างสมบูรณ์

          วัสดุที่ประกอบเป็นระฆังราวของจีน ได้แก่ ทองสำริด ดีบุก อลูมิเนียม ประกอบเป็นราว ประดับด้วยรูปหล่อโลหะ สลักตัวอักษรและลวดลายที่งดงาม แล้วที่น่าทึ่งก็คือ การแกะสลักตัวอักษรบนระฆังเพื่อบอกเสียงตัวโน้ตประจำระฆังแต่ละตัว แสดงให้เห็นว่าเมื่อ 2400 ปีก่อน การดนตรีของจีนมีการพัฒนาการเจริญถึงขั้นสูงแล้ว ซึ่งนับว่ามีความเก่าแก่กว่าการกำเหนิดดนตรี 12 เสียงมาตรฐานของยุโปเกือบ 2000 ปี

          ระฆังราวในสมัยโบราณเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ในราชสำนักเพื่อการออกศึก พระราชพิธีบวงสรวง การออกท้องพระโรงจึงเป็นเครื่องดนตรีชั้นศักดินา ในสมัยใกล้ปัจจุบัน ระฆังราวที่ขุดพบจากสุสานเจิงโห้วอี้ เป็นระฆังที่มีขนาดใหญ่ และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์จีนอย่างมาก จนได้รับการขนานนามว่า สิ่งมหัสจรรย์แห่งสมบัติทางวัฒนธรรมของมวลมนุษยชาติ และปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งมณฑลหูเป่ย ถนนซังตงหู เมืองอู่ฮั่น ของประเทศจีน


ระฆังราวเครื่องดนตรีจีนที่หายสาปสูญนับพันปี





ที่มา :
- https://metchs.blogspot.com/2013_01_01_archive.html
- http://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/258/Music/sec04p11.html




วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

กลองใหญ่ (ฺBass Drum)




          กลองใหญ่ (Bass drum) คือ เครื่องตีกระทบ มี 2 หน้า มีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 24 - 36 นิ้ว ขึงด้วยหนังกลอง เป็นกลองขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดากลอง เป็นกลองที่มีเสียงต่ำ มีลักษณะเป็นวงกลองแนวตั้ง ขึงด้วยหนังกองสองด้านซ้าย - ขาว โดยหลักแล้วใช้บรรเลงเพื่อคุมจังหวะหลักในบทเพลง


ภาพแสดงส่วนประกอบของกลองใหญ่




          กลองใหญ่ที่ใช้ในวงดุริยางค์สากล (Orchestra) ส่วนมากจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 นิ้ว เป็นเกณฑ์ และหน้ากลองทั้งสองห่างกันประมาณ 16 นิ้ว กลองชนิดนี้ไม่ติด Snare เช่นกัน หน้ากลองทั้งสองขึงรั้งให้ตึง ด้วยการขันสกรูที่อยู่รอบๆ ขอบกลอง เวลาจะเล่นให้ตั้งกลองบนขาหยั่ง หรือใช้สะพายให้หน้ากลองทั้งสองอยู่ในแนวดิ่ง ลักษณะของไม้ตีมีด้ามเป็นไม้ตอนปลายจะเป็นปุ่มขนาดใหญ่ ที่ทำด้วยวัสดุนุ่มๆ เช่น สักหลาด แต่บางครั้งเมื่อต้องการสุ้มเสียงพิเศษต่างออกไปจะใช้ไม้ตีกลองเล็ก หรือไม้อีกชนิดหนึ่งที่ปลายเป็นแปรงลวดหรือไม่ก็แขนงไม้เบิช (birch) ขนาดไม้เรียวเล็กๆ มัดเป็นกำ เรียกว่า “Rulhe” (ในภาษาเยอรมัน) โมสาร์ทเป็นผู้นำกลองนี้มาใช้เป็นครั้งแรกในอุปรากรเรื่อง “Entfuhrung aus dem Serail”


กลองใหญ่คอนเสิร์ต (Concert Bass Drum)




          ถ้าใช้ในวงโยธวาทิต (Military Band) จะมีขนาดตั้งแต่ 24 - 32 นิ้ว ตีด้วยไม้ตี ปลายไม้ข้างหนึ่งทำเป็นปมไว้สำหรับใช้ตีกระทบกับหนังกลอง ปมนั้นอาจหุ้มด้วยสักหลาด ไม้ก๊อก ผ้านวมหรือฟองน้ำ เสียงกลองตีเน้นย้ำจังหวะเพื่อให้เกิดวามหนักแน่นหรืออาจจะใช้รัวเพื่อให้เกิดความตื่นเต้น รัวเพื่อสร้างจุดสนใจในบทเพลงเพิ่มขึ้นก็ได้


กลองใหญ่ขนาด 20 - 32 นิ้ว ที่ใช้ในวงโยธวาทิต



          บทเพลงสำหรับวงเครื่องเป่า (Wind Band) ในปัจจุบันจะมีการกำหนดให้กลองใหญ่ตีในลีลาจังหวะที่สลับซับซ้อนมากขึ้น กลองแต่ละขนาดจะมีแนวบรรเลงโดยเฉพาะ เมื่อบรรเลงพร้อมกันจะทำให้เกิดสีสันของลีลาจังหวะขึ้น



ที่มา :
- https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Bass_drums
- http://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/258/Music/sec04p02.html
- http://dongmarchingdrum.blogspot.com/2014/07/marching-drum-percussion.html
- http://kruthanakhan.blogspot.com/2011/08/blog-post_8762.html
- https://sites.google.com/site/surapong5510123304062/sara-na-ru-1/marucakklxngmarchchingkankxn

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

กลองชุด (Drum Set or Drum kit)




          กลองชุด เป็นชื่อเรียกภาษาไทย มีความหมายถึง กลองหลายใบ กลองชุด (Drum Set/ส่วนใหญ่ชาวอเมริกัน), กลองชุด (Drum Kit/ส่วนใหญ่อังกฤษ/ออสเตรเลีย), Team Drum หรือ Jass Drum ทั้งหลายทั้งหมดทั้งมวลมีความหมายเหมือนกัน คือ การบรรเลงกลอง ครั้งละหลายใบ คำว่า “แจ๊ส (Jass) หมายถึง ดนตรีแจ๊ส ซึ่งใช้กลองชุดร่วมบรรเลง จึงเรียกว่า Jass Drum และยังมีชื่อเรียกกลองชุดเป็นภาษาอังกฤษ ว่า Dance Drumming หมายถึงกลองชุดใช้บรรเลงจังหวะเต้นรำ
          กลองชุดประกอบด้วย กลองลักษณะต่างๆหลายใบ และฉาบหลายอันมารวมกัน โดยใช้ผู้บรรเลงเพียงคนเดียว กลองชุดนี้ตามประวัติของดนตรีไม่ปรากฏว่าได้เข้าร่วมบรรเลงกับวงดนตรี ดุริยางค์สากล ซึ่งเป็นวงดนตรีขนาดใหญ่ แต่ใช้บรรเลงร่วมกับวงดนตรีแจ๊ส และวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีน้อยชิ้นบรรเลงได้แก่ วงคอมโบ้ (Combo) วงสตริงคอมโบ้ (String Combo) ฯลฯ
          กลอง จัดว่าเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดในจำพวกเครื่องดนตรีทั้งหมด ในอดีตมนุษย์ขึงหนังสัตว์บนรูกลวงของท่อนไม้ และตีหนังสัตว์ด้วยนิ้วและมือ จากการศึกษาประวัติศาสตร์พบว่า คนตีกลองพื้นเมืองจะตีกลองเป็นจังหวะ สำหรับการเต้นรำระหว่างเผ่า แต่ปัจจุบันพบว่า การบรรเลงกลองชุดจะเด่นที่สุดในส่วนของวงดนตรี สำหรับการเต้นรำ คนตีกลองพยายามปรับปรุงวิธีการบรรเลง โดยบรรเลงตามจังหวะที่ได้ยินแล้วนำมาปรับปรุงโดยการคิดค้นระบบใหม่ขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นระบบที่ได้ริเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก โดยการบันทึกอัตราส่วนของจังหวะกลองในบทเพลง การบันทึกบทเพลงนั้นประกอบด้วย ทำนองเพลง การประสานเสียงและจังหวะ ทำให้ดนตรีมีการประสานเสียงกลมกลืน เพิ่มความไพเราะมากยิ่งขึ้น การริเริ่มพัฒนากลองชุดเป็นครั้งแรก โดยเริ่มต้นจากบทเพลงจังหวะวอลซ์ (Waltz)
          ในช่วง ค.ศ. 1890 ถึง ค.ศ. 1910 นักตีกลองชุดเริ่มแยกออกจากแบบดั้งเดิม พยายามที่จะแสดงออกถึงความรู้สึกที่เป็นอิสระของดนตรี แทนแบบเก่าที่มีแบบแผนบังคับ ให้ปฏิบัติตามการแสดงถึงความก้าวหน้าของนักตีกลองชุดคือ จะเติมความสนุกสนานลงในช่วงปลายประโยคเพลง หรือต้นประโยคเพลงแล้วจึงบรรเลงตามบทเพลงที่กำหนด ซึ่งเป็นเพียงการบรรเลงให้ถูกต้องตามจังหวะเพลงเท่านั้น การแสดงความก้าวหน้านี้เป็นการคิดค้นเพื่อการสร้างสรรค์จากแรงบันดาลใจภายใน โดยตรงของนักตีกลองชุด
          ปี ค.ศ. 1910 ถึง ค.ศ. 1920 จังหวะ แร็กไทม์ (Ragtime) ได้รับความนิยมมากเพราะเป็นจังหวะใหม่และน่าตื่นเต้น ลักษณะจังหวะแร็กไทม์ เป็นจังหวะเร็ว และรวบรัดชวนให้เต้นรำสนุกสนาน เป็นที่ชื่นชอบของชนชาวผิวดำ แต่นักตีกลองส่วนใหญ่ โดยเฉพาะคนรุ่นเก่าปฏิเสธของใหม่ โดยตระหนักถึงรูปแบบจังหวะของดนตรีอิสระ และเรียกพวกนักตีกลองชุดจังหวะแร็กไทม์ว่า “ของปลอม” เพราะบรรดานักตีกลองชุดรุ่นใหม่บรรเลงโดยการใช้ความจำและบรรเลงอย่างใช้ อิสระโดยไม่ใช้โน้ตเพลง ถึงแม้ว่าจะเป็นการบรรเลงโดยปราศจากตัวโน้ต แต่ผู้บรรเลงสามารถอ่านและเข้าใจอารมณ์ของดนตรีได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญก็คือ สามารถบรรเลงได้อย่าง ดีเยี่ยม
          ต้นศตวรรษที่ 20 ปี ค.ศ. 1920 ดนตรีแจ็สเริ่มได้รับความนิยมอย่างช้าๆ บรรดานักตีกลองชุดรุ่นเก่าที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงการบรรเลงจำต้องยอมพ่ายแพ้แก่นัก ตีกลองชุดรุ่นใหม่ที่มีชื่อเสียง จังหวะการบรรเลงค่อยๆเริ่มเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและรสนิยมของผู้ฟัง แต่อย่างไรก็ตาม นักตีกลองจะต้องทราบเกี่ยวกับการรัวการทำเสียงให้สั่นสะเทือน และความรู้เกี่ยวกับหนังกลองหรือแผ่นพลาสติกที่จะทำให้ขึงตึงพอดีไม่หย่อน หรือตึงเกินไป นักตีกลองที่ดีและเก่งที่มีความรู้รอบตัวมักจะหางานได้ง่าย แต่ผู้ที่มีความรู้อย่างดีเรื่องเครื่องเคาะตีทั้งหมดก็จะได้งานที่ดีกว่า
          ต่อมาในปี ค.ศ. 1928 ถึง ค.ศ. 1935 เป็นยุคของซิมโพนิค - แจ๊ส (Symphonic - Jass) จังหวะของดนตรีมีทั้งจังหวะเร็วและช้า การบรรเลงจังหวะช้านั้น เริ่มมีการใช้แปรงลวด (Wirebrushes) หรือภาษานักตีกลองเรียกว่า “แซ่” นักตีกลองต้องเรียนรู้เกี่ยวกับแปรงลวด ถึงวิธีการใช้และวิธีการบรรเลงและนักตีกลองต้องเป็นผู้ที่ตั้งจังหวะในบท เพลงพร้อมทั้งยึดจังหวะให้มั่นคง เครื่องดนตรีอื่นๆ จะปฏิบัติตามจังหวะกลองชุด
          ปี ค.ศ. 1935 จังหวะแบบใหม่ที่มีชื่อว่า สวิง (Swing) เริ่มแพร่หลายช่วงตอนต้นของปี บทเพลงทุกเพลงต้องมีกลองชุดเข้าร่วมบรรเลงด้วยเสมอ นับเป็นครั้งแรกที่นักตีกลองชุดเข้าถึงจุดสุดยอด ซึ่งมีความสำคัญมาก จัดอยู่ในระดับสูงสุด เพราะไม่มีงานไหนจะสมบูรณ์แบบถ้าขาดกลองชุดและการบรรเลงเดี่ยว (Solo) ถึงขนาดนักตีกลองชุดที่เก่งๆ มีชื่อเสียงนำชื่อของตนเองมาตั้งเป็นชื่อของวงดนตรี ในยุคนี้จึงถือว่าเป็นยุคของนักตีกลองชุดที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง
          จากประวัติของกลองชุดที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ารูปแบบการบรรเลงกลองชุดได้พัฒนา ขึ้นตามลำดับมีการเปลี่ยนแปลงจังหวะตามยุคตามสมัย สำหรับนักตีกลองชุดผู้ที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงคงยึดถือตามแบบฉบับเดิมก็จะไม่ ได้รับความนิยม การที่ไม่ปรับปรุงพัฒนาตนเองนั้นทำให้อยู่ในสังคมของดนตรีไม่ได้ เพราะจะถูกคนที่พัฒนาตนเองหรือคนยุคใหม่แย่งงานไปหมด นักตีกลองที่ดีและเก่งจะประสบความสำเร็จได้อย่างมีพื้นฐานที่ดีและมีหลักการ อย่างดีอีกด้วย
          ช่วงระยะสงครามโลกครั้งที่สอง ปี ค.ศ. 1940 เป็นระยะที่มีความต้องการด้านดนตรีสวิงมาก นักตีกลองชุดมีงานมากเพราะทหารต้องการฟังเพลงหลังจากออกรบ รัฐบาลได้ส่งวงดนตรีไปปลอบขวัญทหาร ซึ่งเป็นการช่วยเหลือให้ทหารมีขวัญและกำลังใจสามารถสู้รบจนชนะข้าศึก และสงคราม ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนช่วยในกิจกรรมครั้งนี้
          หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง รสนิยมของบุคคลทั่วไปเริ่มเปลี่ยนแปลงดนตรีแบบคอมโบ้ (Combo) เริ่มได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย นักตีกลองเริ่มเบื่อหน่ายการบรรเลงจังหวะเก่าๆ มีการริเริ่มจังหวะใหม่ๆ โดยใช้กลองใหญ่ช่วยเน้นจังหวะ เรียกว่า บ๊อพ (Bop) หลังจากนั้นจึงเข้าสู่ยุคของการบรรเลงด้วยนิ้วมือ (Finger Drumming Techinque) คือการบรรเลงด้วยเทคนิคที่ใช้นิ้วมือปฏิบัติทั้งสองข้าง โดยใช้ไม้ตีกลองมือขวา ตีฉาบด้านขวามือ ซึ่งเป็นการรักษาจังหวะให้มั่นคงแน่นอน แล้วเปลี่ยนมือขวามาตีไฮแฮท (Hi Hat) อยู่ด้านซ้ายมืออย่างต่อเนื่อง เท้าขวาเหยียบที่กระเดื่องกลองใหญ่เน้นเสียงหนักแน่นมั่นคง มือซ้ายตีกลองเล็กและฉาบอย่างอิสระโดยการเน้นเสียง เช่น การตีเน้นเสียงที่ริมขอบกลอง หรือ การตีหนักๆที่กลางกลอง ผู้ที่มีเทคนิคการบรรเลงด้วยนิ้วมือได้ดี คือ โจ โจนส์ (JO JONES) โจนส์ใช้มือขวาตีที่หัวฉาบมือซ้ายตีขอบฉาบอย่างชำนาญและเชี่ยวชาญ
          จังหวะต่างๆ ที่นิยมบรรเลง ตั้งแต่อดีตเรื่อยมามีจังหวะมากมายหลายรูปแบบ บางจังหวะก็หายสาบสูญไป เพราะไม่ได้รับความนิยม แต่ก็มีจังหวะใหม่ๆ เข้ามาแทนที่



ส่วนประกอบของกลองชุด

          กลองชุดประกอบด้วยกลองลักษณะต่างๆ หลายใบและฉาบหลายอันมารวมกันโดยใช้ผู้บรรเลงเพียงคนเดียว กลองชุดนี้ตามประวัติของดนตรีไม่ปรากฏว่าได้เข้าร่วมบรรเลงกับวงดนตรี ดุริยางค์สากล ซึ่งเป็นวงดนตรีขนาดใหญ่ แต่ใช้บรรเลงร่วมกับวงดนตรีแจ๊สและวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีน้อยชิ้นบรรเลง ได้แก่วง คอมโบ้ วงสตริงคอมโบ้ ฯลฯ กลองที่ใช้ร่วมบรรเลงกับกลองชุดมีดังนี้


ภาพส่วนประกอบของกลองชุด



1. กลองใหญ่ (Bass Drum)
          กลองใหญ่ มีรูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกับกลองใหญ่ที่ใช้บรรเลงในวงดุริยางค์สากลแต่ขนาด แตกต่างกันคือ ขนาดกลองใหญ่ของกลองชุดมีขนาดที่นิยมใช้ทั่วไป คือ ขนาด 14 x 20 นิ้ว หรือ 14 x 22 นิ้ว มีอุปกรณ์เหมือนกันกับกลองใหญ่วงดุริยางค์ทุกประการ เวลาบรรเลงไม่ต้องใช้ขอหยั่งรองรับ เพราะมีขาหยั่งติดมากับตัวกลอง เพียงแต่ดึงขอหยั่งออกทั้งสองข้างจะทำให้กลองไม่เคลื่อนที่ เป็นการยึดตัวกลองใหญ่ให้ติดอยู่กับพื้นกลองใหญ่ไม่ใช้ไม้ถือสำหรับตี ใช้กระเดื่อง (Pedal) ติดแท่งเหล็กกลมๆ ปลายหุ้มด้วยสักหลาดความยาวประมาณ 10 นิ้ว สำหรับเท้าข้างขวาเหยียบลงไปบนกระเดื่อง ปลายกระเดื่องส่วนบนจะทำหน้าที่แทนมือ

กลองใหญ่ (Bass Drum)



2. กลองเล็ก (Snare Drum)
          กลองเล็ก เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกลองชุดรูปร่างลักษณะกลองเล็กที่ใช้บรรเลงร่วมกับ กลองชุด มีลักษณะเหมือนกลองเล็กที่ใช้บรรเลงวงดุริยางค์วงใหญ่ทุกประการ หรือเป็นกลองเล็กอย่างเดียวกัน สามารถนำไปใช้บรรเลงร่วมกับวงดนตรีโดยทั่วไปได้กลองเล็กเป็นเครื่องดนตรีที่ สำคัญที่สุดในจำพวกเครื่องเคาะตีทั้งหลายเพราะการบรรเลงตามบทเพลงของกลอง เล็กจะทำหน้าที่บรรเลงจังหวะที่ขัดกับกลองใหญ่ โดยกลองใหญ่จะบรรเลงตามจังหวะหนัก และเบา กลองเล็กจะบรรเลงจังหวะขืนหรือจังหวะขัด มีลักษณะเหมือนกับหยอกล้อกัน และเป็นการกระตุ้นให้ผู้ฟังตื่นตัว มีอารมณ์ร่วมกับผู้บรรเลง เกือบจะทุกบทเพลงที่เปิดโอกาสให้กลองเล็กแสดงความสนุก คึกคัก และเป็นการเรียกร้องให้เครื่องดนตรีอื่นๆร่วมสนุกสนานด้วยนั่นคือ การบรรเลงกลองเล็กตอนปลายประโยคของบทเพลง ที่ภาษานักตีกลองเรียกว่า “ห้องส่ง” หรือ “บทส่ง” (Fill) ขนาดกลองเล็กที่นิยมใช้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 x 14 นิ้ว

กลองเล็ก (Snare Drum)



3. ฉาบ (Cymbals)
          ฉาบ เป็นส่วนประกอบอีกชิ้นหนึ่งของกลองชุด รูปร่างลักษณะเหมือนกับฉาบที่ใช้บรรเลงในวงดุริยางค์ โดยทั่วไปนิยมใช้ฉาบขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20-30 นิ้ว ตั้งไว้ด้านข้างขวามือ และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16-18 นิ้ว ตั้งไว้ด้านข้างซ้ายมือ ฉาบทั้งสองใบนี้ไม่มีเชือกหนังสำหรับมือถือ แต่จะมีขาหยั่งรองรับทั้งสองใบ เวลาบรรเลงใช้มือขวาตีฉาบด้านขวามือเป็นหลัก เพราะมีเสียงก้องกังวานกว่า บางครั้งอาจสลับเปลี่ยนมาตีด้านซ้ายมือบ้างเป็นบางครั้ง

ฉาบ (Cymbals)



4. ไฮแฮท (Hi-hat)
          ไฮแฮท คือ ฉาบสองใบเหมือนกับฉาบในวงดุริยางค์ แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยทั่วไปนิยมใช้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 14-15 นิ้ว ฉาบทั้งสองใบนี้ไม่ใช้เชือกหนังร้อยสำหรับถือ เพราะมีขาตั้งรองรับ ใบที่หนึ่งใส่ลงบนขาตั้งโดยให้ด้านนูนอยู่ด้านล่าง จะมีแผ่นโลหะและสักหลาดรองรับ อีกใบหนึ่งใส่ลงบนขอตั้งโดยให้ด้านนูนอยู่ด้านบน มีที่ไขติดอยู่กับแกนของขาตั้ง โดยกะระยะให้ห่างกันพอประมาณ เพื่อไม่ให้ฉาบทั้งสองใบชิดติดกัน ช่วงล่างสุดมีกระเดื่องเหมือนกับกลองใหญ่สำหรับเหยียบให้ฉาบทั้งคู่กระทบ กัน ไฮแฮทมีหน้าที่คอยขัดจังหวะหรือช่วยหนุนกลองเล็ก เน้นจังหวะขัดให้กระชับยิ่งขึ้น


ไฮแฮท (Hi-hat)




5. ทอม ทอม (Tom Tom)
          ทอม ทอม คือ กลองขนาดเล็กสองใบมีรูปร่างเหมือนกลองเล็ก แต่มีขนาดสูงกว่า ไม่ติดเส้นลวด ทอม ทอม ทั้งสองใบมีขนาดแตกต่างกัน ใบหนึ่งจะติดตั้งทางด้านซ้ายมือ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าอีกใบหนึ่ง ซึ่งติดตั้งด้านขวามือ โดยทั่วไปนิยมใช้ทอม ทอม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9 x 13 นิ้วและขนาด 14 x 14 นิ้ว ทั้งสองใบจะมีรูด้านข้างสำหรับใส่แกนโลหะเพื่อติดตั้งบนกลองใหญ่ ระดับเสียงทอม ทอม ด้านซ้ายมือมีระดับเสียงสูงกว่าด้านขวามือ ทอม ทอม มีหน้าที่สร้างความสนุกคึกคัก โดยจะบรรเลงในบทส่ง หรือการเดี่ยวกลอง (Solo) เพื่อสร้างความรู้สึก การกระตุ้นให้เพลิดเพลินกับจังหวะ บทเพลงที่ใช้ ทอม ทอม บรรเลงมากที่สุด คือ เพลงประเภทลาติน


ทอม ทอม (Tom Tom)




6. ฟลอร์ทอม (Floor Tom)
          ฟลอร์ทอม มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่ง ว่า “ทอมใหญ่” (Large Tom) รูปร่างลักษณะเหมือนกับ ทอม ทอม ไม่ติดเส้นลวด ขนาดของฟลอร์ทอม สูงกว่าทอม ทอม มีขาติดตั้งกับตัวฟลอร์ทอม เวลาบรรเลงตั้งอยู่ด้านขวามือชิดกับกลองใหญ่ เสียงฟลอร์ทอมต่ำกว่าเสียงทอม ทอม แต่เสียงสูงกว่าเสียงกลองใหญ่ ฟลอร์ทอม ทำหน้าที่อย่างเดียวกับ ทอม ทอม โดยทั่วไปนิยมใช้ ฟลอร์ทอม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 x 16 นิ้ว


ฟลอร์ทอม (Floor Tom)





ที่มา :
- http://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/258/Music/drumset.png
- https://en.wikipedia.org/wiki/Drum_kit
- http://adinandoloh.blogspot.com/2015/11/1.html
- http://pirun.ku.ac.th/~b5410300793/web%20page/information.html
- https://sites.google.com/site/musicalesintru/percussion-intru/drum-set



วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บองโก (Bongo)




          บองโก (สเปน : bongó) เป็นเครื่องดนตรีประเภทกลองจากคิวบา เป็นกลองขนาดเล็ก ขึงหนังกลองหน้าเดียว ประกอบด้วยกลองสองตัวยึดตึดกัน กลองบองโกเป็นกลองคู่ จะต้องมี 2 ใบเสมอ เล็ก 1 ใบ ใหญ่ 1 ใบ กลองลูกใหญ่มีชื่อในภาษาสเปนว่า "เฮมบรา" (hembra, ตัวเมีย) ลูกเล็กมีชื่อว่า "มาโช" (macho, ตัวผู้) ลักษณะการเล่นใช้เคาะด้วยนิ้ว มักเล่นผสมกับกลองคองก้า เพื่อแต่งเติมสีสันให้กับเสียงเพลง เครื่องเคาะรูปแบบนี้ มักถูกพบเห็นได้ในคอนเสิร์ตเพลงแนว ละติน รวมไปถึง คอนเสิร์ตเพลงแนว ดิสโก้, โซล, ฟังค์, แจ๊ส, ป็อบร็อค, เร้กเก้, สกา ในบางครั้ง ในประเทศไทย บองโก ยังถูกนำไปเล่นผสมกับแนวเพลงเพื่อชีวิต และเพลงลูกทุ่งอีกด้วย


นิยมเล่นผสมกับกลองคองกา




          ระดับเสียงของกลอง 2 ใบ ตั้งให้ห่างกันในระดับคู่ 4 หรือ คู่ 5 โดยประมาณ หนังกลองบองโก จะตั้งให้ตึงกว่ากลองคองกา กลองบองโกทั้ง 2 ใบ จะติดตั้งกับอุปกรณ์ยึดติดให้อยู่คู่กัน ขณะที่ตีกลองผู้ตีจะต้องหนีบกลองทั้ง 2 ใบ ให้อยู่ระหว่างขาทั้งสองข้างหนีบไว้ด้วยหัวเข่า หรือวางไว้บนขาตั้งโลหะก็ได้ กลองบองโกจะต้องตีด้วยปลายนิ้วมือและฝ่ามือเช่นเดียวกับกลองคองกา หรือไม้กลอง (ผู้เล่นส่วนใหญ่จะนิยมเคาะด้วยมือ)


ลักษณะการเล่นบองโก


หนีบไว้ด้วยหัวเข่า
ขาตั้งโลหะ



ภาพแสดงส่วนประกอบของกลองบองโก




มารู้จักเครื่องกระทบกัน : บองโก (Bongo)





ที่มา :
- https://th.wikipedia.org/wiki/บองโก
- http://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/258/Music/sec04p06.html
- http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=431
- http://krutri.samroiwit.ac.th/per.html



คองกา (Conga)




          คองกา (อังกฤษ: conga) หรือ ทุมบาโดรา (สเปน: tumbadora) เป็นเครื่องดนตรีประเภทกลองจากคิวบา มีพื้นฐานมาจากกลองมาคูทาที่พัฒนามาจากแอฟริกา เป็นกลองทรงสูง ขึงหนังหน้าเดียว ใช้ตีด้วยนิ้วสี่นิ้ว และด้วยฝ่ามือ ที่กลางผืนหนัง และที่ขอบ ปัจจุบันกลองคองกาเป็นเครื่องดนตรีมาตรฐานสำหรับดนตรีละติน ซึ่งรวมไปถึงซัลซา รุมบา เมอแรงเก และเร็กเก้ (หลายครั้งที่กลองชนิดนี้ถูกใช้เคาะผสมกับดนตรีแนวดิสโก้ ฟังก์ ป็อบ นูแจ๊ส สกา ฯลฯ)

Open Tone
Slap Tone


          กลองคองกาในอดีต ทำจากท่อนไม้ขุด ปัจจุบันทำด้วยไม้อัดแผ่นดัดโค้ง หรือไฟเบอร์กลาส ปรับความตึงของหนังกลองด้วยการขันสกรู ในการเล่นจะใช้กลองตั้งแต่ 2 ถึง 4 ใบ หรือมากกว่านั้นก็ได้ ปกติใช้อย่างต่ำ 2 ใบ ตีสอดสลับกันตามลีลาจังหวะของบทเพลง ตีด้วยปลายนิ้วและฝ่ามือเช่นเดียวกับการตีกลองบองโก


กลองคองกา มีหลายขนาด มีชื่อเรียกต่างกัน ดังนี้

ซูเปอร์ทุมบา (Supertumba) ขนาดใหญ่ที่สุด มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 14 นิ้ว (35.5 cm)
ทุมบา (Tumba) มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 ถึง 12.5 นิ้ว (30.5 - 31.8 cm)
คองกา (Conga) มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 11.5 ถึว 12 นิ้ว (29.2 - 30.5 cm)
ควินโต (Quinto) มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 11 นิ้ว (28 cm)
เรควินโต (Requinto) มีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 10 นิ้ว (24.8 cm)
ริคาร์โด (Ricardo) มีขนาดเล็กที่สุด มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 9 นิ้ว (22.9 cm)


ภาพแสดงส่วนประกอบของกลองคองกา




ที่มา :
- http://liderchang.blogspot.com/2006/07/conga.html
- https://th.wikipedia.org/wiki/คองกา
- http://krutri.samroiwit.ac.th/per.html
- http://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/258/Music/sec04p05.html



คาบาซา (Cabasa)



          คาบาซา (Cabasa) คือ จัดอยู่ในตระกูลเครื่องกระทบ เดิมทำด้วยผลน้ำเต้า หรือผลบวบแห้ง ภายนอกรอบๆ ห่อหุ้มด้วยลูกประคำร้อยเชือก จะมีด้ามมือถือหรือไม่มีก็ได้ เกิดเสียงโดยการหมุน สั่น เขย่า ถู เพื่อให้ลูกประคำเคลื่อนที่เสียดสีกับผิวของผลน้ำเต้าหรือผลบวบ ทำให้เกิดเสียงดังขึ้น เสียงของคาบาซาจะฟังคล้ายกับเสียงของมาราคา ปัจจุบันคาบาซาทำด้วยไม้ประกอบโลหะเป็นทรงกระบอก มีด้ามจับถือ ผิวของทรงกระบอกห่อหุ้มด้วยแผ่นโลหะ ทำผิวให้ขรุขระ ลูกประคำนั้นจะทำด้วยโลหะร้อยติดกันล้อมรอบผิวโลหะ

คาบาซาปัจจุบัน
คาบาซาผลน้ำเต้าหรือผลบวบแก่จัด




ภาพแสดงส่วนประกอบของคาบาซา





ที่มา :
- https://en.wikipedia.org/wiki/Cabasa
- http://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/258/Music/sec04p10.html



วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ฉาบ (Cymbal)


          ฉาบ คือ เครื่องดนตรีประเภทตีกระทบ ทำด้วยโลหะทองเหลือง มีหลายแบบ ทั้งฉาบแบบฝาเดียว และแบบสองฝา แต่ละแบบยังมีหลายขนาดอีกด้วย ฉาบแต่ละแบบมีลักษณะการตีแตกต่างกันออกไป เสียงของฉาบทำให้เกิดความตื่นเต้นเร้าใจ ความสนุกสนาน และความอึกทึกครึกโครม ฉาบที่ใช้โดยทั่วๆ ไปมีดังต่อไปนี้


- ฉาบ 2 ฝา (Cymbals) : ใช้บรรเลงในวงดนตรีทั่วๆ ไป เช่น วงโยธวาทิต วงซิมโฟนิค วงออร์เคสตร้า

วงโยธวาทิต
วงซิมโฟนิค
วงออร์เคสตร้า


- ฉาบส่ง (Crash Cymbal) : ลักษณะเป็นฉาบฝาเดียว วางบนขาตั้งฉาบ เสียงดังอึกทึก ตีตอนเริ่มท่อนเพลงใหม่ หรือตอนจบที่ต้องการสีสันแบบสนุกสนาน อึกทึกครึกโครม เร้าใจ


ฉาบส่ง (Crash Cymbal)


- ฉาบไรด์ (Ride Cymbal) : ลักษณะเป็นฉาบฝาเดียว วางบนขาตั้งฉาบ สีสันของเสียงจะบางเบากว่าฉาบส่ง ใช้ตีคลอในบทเพลงเมื่อเวลาต้องการเสียงฉาบให้ดังค้างแบบต่อเนื่อง


ฉาบไรด์ (Ride Cymbal)


- ฉาบสแปลช (Splash Cymbal) : ลักษณะเป็นฉาบฝาเดียวขนาดเล็ก วางบนขาตั้งฉาบ ขนาดเล็กประมาณ 9 - 12 นิ้ว ใช้ตีในส่วนที่ต้องการเน้นเสียงฉาบ แต่ไม่ต้องการให้ดังแบบอึกทึกครึกโครมเหมือนฉาบส่ง ทำให้บทเพลงเกิดสีสันที่น่าสนใจ แปลกหู


Attached to a snare drum rim
Attached to another stand


- ฉาบนิ้วมือ (Finger Cymbals) : ลักษณะเป็นฉาบขนาดเล็กคล้ายกับฉิ่งของดนตรีไทย คล้องบนนิ้วมือ ขยับให้เกิดเสียงตามลีลาจังหวะเพื่อประกอบการเต้นระบำ ใช้มากในประเทศตะวันออกกลาง และอินเดีย


ฉาบนิ้วมือ (Finger Cymbals)


- ฉาบไฮแฮท (Hi-Hat Cymbals) : ลักษณะเป็นฉาบ 2 ฝา วางประกบกันบนขาตั้งฉาบไฮแฮทโดยเฉพาะ ตีได้ทั้งขณะที่เปิดฝาฉาบทั้งสองแยกออกจากกัน (open hi-hat) และปิดฝาฉาบให้ชิดกัน (close hi-hat) โดยใช้เท้าเหยียบที่กลไกของขาตั้ง ฉาบไฮแฮทจะมีรูปแบบการตีที่แน่นอน แต่ละลีลาจังหวะจะมีการกำหนดลักษณะการตีฉาบไฮแฮทไว้ชัดเจน


ฉาบไฮแฮท (Hi-Hat Cymbals)



ที่มา :
- https://en.wikipedia.org/wiki/Cymbal
- http://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/258/Music/sec04p14.html



วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

คาวเบลล์ (Cowbell)


          คาวเบลล์ (Cowbell) คือ เครื่องกระทบประกอบจังหวะ พัฒนามาจาก กระดิ่งผูกคอวัว นำมาทั้งรูปร่างและชื่อ รูปทรงคล้ายกับระฆังมากกว่ากระดิ่ง ตีด้วยไม้กลอง คาวเบลล์ใช้มากในดนตรีละตินอเมริกา และดนตรีประกอบการเต้นลีลาศ คาวเบลล์ยังใช้เป็นอุปกรณ์ส่วนหนึ่งของกลองชุดอีกด้วย

กระดิ่งผูกคอวัว
กระดิ่งผูกคอแกะ



คาวเบลล์
คาวเบลล์ 3 ขนาด



ภาพแสดงส่วนประกอบของเคาเบลล์









ที่มา :
- http://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/258/Music/sec04p12.html
- https://en.wikipedia.org/wiki/Cowbell_(instrument)



วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

กลองทิมปานี (Timpani ) หรือ เคทเทิลดรัม (Kettle Drums)



In the 15th century,
timpani were used with trumpets as ceremonial
instruments in the cavalry.



          กลองทิมปานี (Timpani ) หรือ เคทเทิลดรัม (Kettle Drums) (เรียกอย่างไม่เป็นทางการ หรือเรียกสั้นๆ ว่า Timps) กลองทิมปานีเป็นกลองที่มีลักษณะรูปร่างคล้ายหรือเหมือนกระทะ หรือกาต้มน้ำ ลำตัวกลองทิมปานีตั้งอยู่บนฐาน หรืออยู่บนขาหยั่ง ทำด้วยโลหะทองแดง ใช้หนังลูกวัวขึง มีสกรูอยู่รอบๆ ขอบกลอง เพื่อใช้บังคับหนังกลองให้ตึงมากน้อยให้เกิดระดับเสียงที่ต้องการ นอกจากสกรูแล้วที่ฐานยังมีกระเดื่องไว้ให้ผู้เล่นเหยียบเปลี่ยนระดับเสียง


 กลองทิมปานีแบบดั้งเดิม
 กลองทิมปานีแบบสมัยใหม่



ที่เหยียบและอุปกรณ์ภายในในการปรับระดับเสียง

 The inside, bottom of a Yamaha pedal timpani, showing the mechanical tension-adjusting system
 A pedal on a Dresdentimpano - the clutch (seen here on the left) must be disengaged to change the pitch of the drum.



          อุปกรณ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ ไม้ตีกลอง (Drum Sticks) ซึ่งมีขนาดแตกต่างกัน (เล็ก กลาง และใหญ่) หัวไม้ตีกลองมักจะหุ้มด้วยสักหลาด ผ้า สำลี ไม้ก๊อก หรือ ฟองน้ำ เสียงของทิมปานีจะทุ้มมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับเส้นผ่าศูนย์กลางของหน้ากลอง ถ้าเส้นผ่าศูนย์กลางยาวมากเสียงก็จะทุ้มมาก ถ้าเส้นผ่าศูนย์กลางสั้นเสียงจะมีความทุ้มน้อย เสียงของกลองทิมปานี เทียบได้กับเสียงเบส เป็นเสียงที่แสดงถึงอำนาจ ความยิ่งใหญ่ ตื่นเต้นเร้าใจ


Timpanists use a variety of timpani sticks 
 since each stick produces a different timbre.



          กลองทิมปานีจะใช้บรรเลงในวงออร์เคสตร้า มีระดับเสียงแน่นอน เทียบเท่ากับเสียงเบส เป็นกลองที่ปรับระดับเสียงได้ มีเท้าเหยียบเพื่อเปลี่ยนระดับเสียงตามที่ต้องการ ในการบรรเลงต้องใช้กลองทิมปานีอย่างน้อย 2 ใบ จึงมีรูปพหูพจน์อยู่เสมอ คือ "Timpani" ถ้าเป็นเอกพจน์หรือกลองลูกเดียวเรียกว่า "Timpano" กลองทิมปานีเป็นกลองที่มีระดับเสียงแน่นอน ที่นิยมมี 4 ขนาด คือ 20 นิ้ว, 23 นิ้ว, 26 นิ้ว, 29 นิ้ว และ 32 นิ้ว กลองแต่ละใบจะมีช่วงห่างของเสียงอยู่ราวคู่ 5 เพอร์เฟค (Perfect) และถ้าต้องการจะให้มีเสียงที่ดี ควรจัดให้เสียงอยู่ช่วงกลาง เสียงของกลองแต่ละใบมีช่วงกว้างของเสียงดังนี้


ช่วงเสียงในการเล่น (Playing Range)



รูปแบบการจัดชุดกลองทิมปานีในการเล่นรวมวงในปัจจุบัน

 The inside, bottom of a Yamaha pedal timpani, showing the mechanical tension-adjusting system
 A pedal on a Dresdentimpano - the clutch (seen here on the left) must be disengaged to change the pitch of the drum.




ส่วนประกอบของกลองทิมปานี




Components of timpani





ที่มา :
- https://th.wikipedia.org/wiki/กลองทิมปานี
- https://en.wikipedia.org/wiki/Timpani
- http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=431
- http://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/258/Music/sec04p04.html