วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2559

ซูซ่าโฟน (Sousaphone)


          ซูซาโฟน เป็นเครื่องลมทองเหลืองประเภทเดียวกับทูบา ออกแบบมาให้ง่ายต่อการเล่นกว่าแตรคอนเสิร์ตทั้งในขณะที่ยืนหรือเดิน นิยมกันอย่างแพร่หลายสำหรับวงเดินแถว หรือวงดนตรีประเภทอื่นๆ ออกแบบให้พอดีกับรอบตัวและรองรับกับช่วงไหล่ซ้ายของนักดนตรี มันมีประโยชน์ในทุกประเภทของวงดนตรีที่เล่นกลางแจ้ง เสียงจะพุ่งไปข้างหน้าไม่เหมือนทูบา ลักษณะของเสียงจะต่ำทุ้มลึก เหมาะที่จะบรรเลงในแนวเสียงเบสมากกว่าแนวอื่น ชื่อซูซาโฟน ตั้งขึ้นเพื่อให้เกียรติกับ จอห์น ฟิลิป ซูซา (John Philip Sousa) นักประพันธ์เพลงผู้ควบคุมวงดนตรีที่มีชื่อเสียงของอเมริกา


ซูซาโฟนในปัจจุบัน (Sousaphone)


          โดยปกติซูซาโฟนจะนำไปใช้ในวงมาร์ชชิ่ง และวงโยธวาทิต ซูซาโฟนมีลำตัวม้วนเป็นขด ผู้เล่นต้องสอดตัวเข้าไปในขดของเครื่อง ปากลำโพงจะหันไปทางเดียวกับผู้เป่า เสียงของซูซาโฟนจะเหมือนกับทูบา คือ ต่ำทุ้มลึก ในเยอรมันจะมีเครื่องดนตรีที่มีลักษณะเดียวกับซูซ่าโฟน เรียกว่า บอมบาดอน “Bombardon”


Bombardon, Vienna or Markneukirchen, ca. 1840



Bombardon Helikon



Bombardon




จอห์น ฟิลิป ซูซา (John Philip Sousa)


จอห์น ฟิลิป ซูซา (John Philip Sousa)
          จอห์น ฟิลิป ซูซา (อังกฤษ: John Philip Sousa; 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1854 - 6 มีนาคม ค.ศ. 1932) เป็นนักแต่งเพลง นักประดิษฐ์ และวาทยกรชาวอเมริกัน เป็นผู้ประพันธ์เพลงมาร์ชไว้มากมาย จนได้รับสมญานามว่า "ราชาเพลงมาร์ช"


ประวัติ
          ซูซาเกิดที่เมืองวอชิงตัน ดี.ซี. เป็นบุตรของจอห์น อันโตนิโอ ซูซา (John Antonio Sousa) กับ มาเรีย อลิซาเบ็ธ ทริงค์ฮัส (Maria Elisabeth Trinkhaus) บิดามารดาของซูซาได้อพยพมาจากโปรตุเกส และแคว้นบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี ซูซาเริ่มเล่นไวโอลินเมื่ออายุ 6 ปี ถือเป็นเครื่องดนตรีอย่างแรกที่ซูซาเล่น เมื่อซูซาอายุ 13 ปี บิดาซึ่งเป็นสมาชิกวงดุริยางค์นาวิกโยธินได้ส่งซูซาไปเข้ากองนาวิกโยธินเป็นเวลาเจ็ดปี และระหว่างนั้นซูซาได้ศึกษาการดนตรีมาโดยตลอด
          ต่อมาในวันที่ 30 ธันวาคม 1879 ซูซาได้แต่งงานกับเจน ฟาน มิทท์เลทวอธ เบลิส (Jane van Middlesworth Bellis; 1862 -1944) เมื่ออายุได้ 25 ปี มีบุตรธิดาทั้งหมด 3 คน คือ

1. จอห์น ฟิลิป ซูซา จูเนียร์ (John Philip Sousa Jr.; 1 เมษายน 1881 – 18 พฤษภาคม 1937)
2. เจน พริสซิลลา ซูซา (Jane Priscilla Sousa; 7 สิงหาคม 1882 – 28 ตุลาคม 1958)
3. เฮเลน ซูซา (Helen Sousa; 21 มกราคม 1887 – 14 ตุลาคม 1975)

          ซูซาถึงแก่กรรมอย่างสงบในวันที่ 6 มีนาคม 1932 เมื่อเวลาประมาณ 1:30 น. เมื่ออายุได้ 77 ปี ที่โรงแรมอับราฮัม ลินคอล์น ศพของซูซาได้รับการฝังที่สุสานรัฐสภา (Congressional Cemetery) วอชิงตัน ดี.ซี.


ผลงาน
เพลงมาร์ช
          ซูซาประพันธ์เพลงมาร์ชทั้งหมด 136 เพลง เพลงมาร์ชเพลงแรกที่ซูซาประพันธ์คือ Review (ประพันธ์เสร็จในปี 1873) เพลงมาร์ชสุดท้ายคือ Library Of Congress (ประพันธ์เสร็จในปี 1932) เพลงต่อไปนี้เป็นเพลงมาร์ชที่มีชื่อเสียงที่ซูซาประพันธ์ เรียงตามปีที่ประพันธ์

1. The Gladiator March (1886)
2. Semper Fidelis (1888)
3. The Washington Post (1889)
4. The Thunderer (1889)
5. High school Cadets (1890)
6. The Liberty Bell (1893)
7. Manhattan Beach March (1893)
8. King Cotton (1895)
9. The Stars and Stripes Forever (1896)
10. El Capitan (1896) 11. Hand Across the Sea (1899)
12. Hail to the Spirit of Liberty (1900)
13. Invincible Eagle (1901) 14. Fairest of the Fair (1908)
15. Glory of the Yankee Navy (1909)
16. U.S. Field Artillery (1917)
17. Who's Who in Navy Blue (1920)
18. The Gallant Seventh (1922)
19. Nobles of the Mystic Shrine (1923)
20. The Black Horse Troop (1924)
21. Pride of the Wolverines (1926)
22. Minnesota March (1927)
23. Salvation Army March (1930)


ผลงานอื่นๆ
          นอกจากเพลงมาร์ชแล้ว ซูซายังคงประพันธ์เพลงประเภทอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น เพลงประกอบละครสั้น (Operetta) เพลงวอลซ์ เพลงโวคัล เพลงเฉพาะเครื่อง เช่น ไวโอลิน (Piece of Violin) คอร์เน็ต (Piece of Cornet) ทรัมเป็ตและกลอง (Piece of trumpets and drums) เป็นต้น
          นอกจากนี้ ซูซายังเป็นผู้ออกแบบเครื่องดนตรีที่ชื่อว่า ซูซาโฟน (Sousaphone) ซึ่งเป็นเครื่องตระกูลเดียวกับทูบา (Tuba) และสั่งให้สร้าง ซับคอนทราเบสทูบา (Subcontrabass Tuba) ขึ้น ซึ่งถือเป็นทูบาที่มีเสียงต่ำที่สุด แต่ซูซาได้เสียชีวิตลงก่อนที่ซับคอนทราเบสทูบาจะเสร็จสมบูรณ์




ที่มา :
http://th.wikipedia.org/wiki/
http://taweethapisek.ac.th/html/Music_Instruments/sec03p10.html


1 ความคิดเห็น:

  1. เท่าที่หามาได้ก็มีเท่านี้ครับ หากมีอะไรเพิ่มเติมก็จะมาอัพเดทอีกครั้ง ขอบคุณที่แวะเข้ามาเยี่ยมชมครับ

    ตอบลบ