วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

10. แตรวง และแตรวงชาวบ้าน (ฺBrass Band)


          วงแตรวงชาวบ้าน หรือแตรวง มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ประจำ ปีพุทธศักราช ๒๕๕๗ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม


แตรวง

          แตรวง พัฒนามาจากวงดนตรีเครื่องเป่า (Wind and Brass Ensemble) เป็นวงดนตรีที่ใช้ในยุโรปและสหรัฐอเมริกามาแต่โบราณ ในกิจการของกองทัพ การฝึกแถวการเดินสวนสนามในพิธีเกียรติยศ และการประโคมในพิธีเฉลิมฉลองของรัฐหรือราชสำนักใช้เครื่องดนตรีตระกูลเครื่องเป่าทองเหลืองและลมไม้ (Brass & Woodwind musical instruments) ในสมัยโบราณเรียกรวมๆ ว่า บราสแบนด์ (Brass Band) เนื่องจากบทบาทในการดำเนินทำนองเป็นของกลุ่มเครื่องดนตรีทองเหลืองมากกว่าและนิยมเล่นกลางแจ้ง ให้เสียงที่ดังเจิดจ้าชัดเจนสามารถเดินเล่นและนั่งเล่นเป็นกลุ่มได้วงเครื่องเป่า ได้พัฒนาขึ้นมาเป็นมิลิทารีแบนด์ (Military Band) มีจุดประสงค์ในการใช้งาน คือ การเล่นเพลงเดินเท้าเข้าสู่สนามรบของทหาร หรือใช้ประกอบการสวนสนามของทหารเพื่อปลุกใจในยามสงครามหรือประกอบพิธีต่างๆ ของทหารโดยเฉพาะ

          สมัยกรุงศรีอยุธยาช่วงแผ่นดินพระนารายณ์มหาราช มีฝรั่งนำแตรมาทูลเกล้าฯถวายเป็นเครื่องราชบรรณาการ ส่วนในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์พบในบันทึกว่ามีแตรวิลันดาที่ใช้ในพระราชพิธีของราชสำนัก ซึ่งเชื่อว่าเป็นแตรฝรั่งที่ชาวฮอลันดานำเข้ามาเป็นชาติแรกในกรุงสยาม ต่อมาในสมัยรัชกาลพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ริเริ่มมีการฝึกทหารแบบอังกฤษที่วังหน้าของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวและที่วังหลวง ครูผู้ฝึกแถวคือร้อยเอกน็อกซ์ (Knox) และร้อยเอกอิมเปย์ (Impey) ชาวอังกฤษ ตามลำดับ ทั้งสองท่านได้นำวงดุริยางค์เครื่องเป่าขนาดเล็ก ที่เรียก Brass Band ของยุโรปมาบรรเลงคำนับถวายเวลาพระเจ้าแผ่นดินเสด็จฯออกมหาสมาคม พอถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีบันทึกชัดเจนว่าแตรวงของทหารเรือ เรียกว่า แตรวงทหารมะรีน สมัยนี้มีครูฝรั่งมาสอนและควบคุมแตรวงอยู่ ๓ ท่าน คือ ครูเวสเตอร์เฟล ชาวเยอรมัน ครูเฮวู้ด เซน ชาวฮอลันดา และครูจาคอบ ไฟท์ (Jakob Feit) ชาวเยอรมัน จนแตรวงทหารมหาดเล็กถือกำเนิดในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้เอง ได้พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นอดิศรอุดมเดชเป็นผู้บังคับการและก่อตั้งแตรวงทหารหน้าขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งต่อมาแตรวงทหารนี้ได้เจริญรุ่งเรืองมาเป็นกองดุริยางค์ทหารบกในปัจจุบัน (เรียบเรียงโดย อานันท์ นาคคง)

          “แตรวง” เชื่อกันว่ามีใช้กันมาก่อนสมัยรัชกาลที่ ๕ และเป็นคำที่พบในหนังสือสาสน์สมเด็จ ซึ่งสมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์และสมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเขียนจดหมายโต้ตอบกันด้วย ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ได้ทรงบัญญัติ คำว่า “ดุริยางค์” ขึ้น ดังนั้น วงดนตรีทั้งหลายจึงหันมาใช้คำว่า “ดุริยางค์” แทนคำว่า ดนตรี อาทิ วงจุลดุริยางค์ วงดุริยางค์สากล วงดุริยางค์ไทย เป็นต้น วงดุริยางค์ใช้ในความหมายของการนั่งบรรเลง เช่น วงดุริยางค์กรมศิลปากร วงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ เป็นต้น สำหรับวงโยธวาทิตนั้น (Military Band) เป็นศัพท์บัญญัติที่ราชบัณฑิตยสถาน สร้างขึ้นในยุคหลัง หมายถึง “วงดนตรีที่บรรเลงโดยทหาร” ซึ่งมาจากคำว่า “โยธา” แปลว่า ทหาร รวมกับคำว่า “วาทิต” แปลว่า “ดนตรีหรือผู้บรรเลงดนตรี” นิยมใช้กับดนตรีที่ใช้ในการสวนสนามของกองดุริยางค์ทหารกองลูกเสือ นอกจากนั้น วงโยธวาทิตได้แพร่เข้าไปสู่ระบบการศึกษา เข้าไปอยู่ในโรงเรียนทั่วประเทศทั้งระดับประถมศึกษาและ มัธยมศึกษา วงโยธวาทิตมีหน้าที่นำแถวนักกีฬา นำแถวลูกเสือ และใช้ในการนั่งบรรเลงเพลงไทยตามแบบแผนที่สมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์กรมกระนครสวรรค์วรพินิต ทรงปรับปรุงแนวทางขึ้นเพื่อใช้กับโยธวาทิต ของกองทัพบกและกองทัพเรือในอดีต มีการเรียบเรียงสกอร์เพลงไทยสำหรับวงโยธวาทิตจำนวนมาก ใช้วัตถุดิบจาก เพลงปี่พาทย์สำนักพาทยโกศลและเพลงพระนิพนธ์ของพระองค์เอง ผู้เรียบเรียงเพลงไทยสำหรับโยธวาทิตที่มีชื่อเสียง ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์กรมกระนครสวรรค์วรพินิต พันตรีหลวงประสานดุริยางค์ ร้อยเอกนพ ศรีเพชรดี และพันโทวิชิต โห้ไทย เป็นต้น





          กลุ่มเครื่องดนตรีที่ประกอบขึ้นเป็นโยธวาทิตและแตรวงของไทย ประกอบด้วย เครื่องดนตรีกลุ่มใหญ่ๆ ๒ กลุ่ม คือ

๑. กลุ่มเครื่องเป่า แบ่งย่อยเป็นเครื่องลมไม้และเครื่องทองเหลือง (Wind & Brass Instruments)
๒. กลุ่มเครื่องจังหวะ เครื่องตี-เครื่องกระทบ (Percussions Instruments)

          ลักษณะของการผสมวงเป็นไปอย่างหลวมๆ ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องมีแบบแผนที่ตายตัวเหมือนกับวงดนตรีไทยทั่วไป หรือเทียบกับวงดนตรีในประเพณีนิยมของยุโรปคลาสสิค คนไทยนิยมใช้เสียงแตรวงชาวบ้านประโคมแห่ในงานพิธีกรรมต่างๆ ที่มีชาวบ้านมาชุมนุมกัน ทั้งงานรื่นเริงบันเทิงใจ อาทิ งานบวชนาค ทำขวัญ งานแห่ขันหมาก งานมงคลสมรส งานสมโภชวันสำคัญทางพุทธศาสนา งานศพ งานมหรสพ การโหมโรงหน้าโรงละคร โหมโรงหน้าโรงภาพยนตร์ที่เรียกว่า “หนังเงียบ” ไปจนถึงงานประโคมข่าวป่าวประกาศกิจกรรมการเมืองท้องถิ่น ฯลฯ แตรวงชาวบ้านมีอิสระในการเลือกบทเพลงมาใช้ในการแสดง ในการออกงานพิธี และไม่มีสูตรตายตัวว่าจะต้องมีลำดับเพลงอย่างไร เพลงที่ใช้เล่นบรรเลงตามงานของแตรวงชาวบ้านส่วนหนึ่งเป็นเพลงที่จำมาจากแตรวงของทหาร มีทั้งเพลงฝรั่งเพลงไทย ใช้จังหวะเดินแถวอย่างทหารที่เรียกว่ามาร์ช (March) ตีด้วยกลองใหญ่ให้จังหวะ เรียกชื่อเพลงว่า มาร์ชต่างๆ อาทิ มาร์ชดำรง มาร์ชภานุรังษี มาร์ชกรมหลวงประจักษ์ มาร์ชลาวดวงเดือน และยุคสมัยรัชกาลที่ ๗ มีการนำภาพยนตร์เงียบเข้ามาฉายในประเทศไทย การโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้คนดูมาซื้อบัตรเข้าดูภาพยนตร์ ก็จะนิยมใช้แตรแห่นำ เมื่อถึงช่วงภาพยนตร์ใกล้ฉาย ก็จะไปตั้งวงเล่นโหมโรงเรียกร้องความสนใจจากคนดู และเมื่อถึงเวลาฉายภาพยนตร์ก็จะย้ายเข้าไปบรรเลงสดๆหน้าจอ คิดด้นเพลงไปตามภาพเคลื่อนไหวของหนัง เป็นที่ชื่นชอบของผู้คนในอดีต ที่ได้มีประสบการณ์ใหม่กับภาพยนตร์เงียบอย่างยิ่ง ต่อมาเมื่อเกิดเพลงรำวงสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง แตรวงชาวบ้านก็นำเพลงรำวงสนุกๆ ที่นิยมร้องเล่นกันไปเป่าในกระบวนแห่ด้วย จนกระทั่งยุคเพลงลูกทุ่งเพลงลูกกรุง หรือเพลงไทยสากลในปัจจุบัน ถ้าเพลงไหนเป็นที่นิยมก็มักจะถูกนำไปบรรเลงรับใช้สังคมไทยเสมอมา

          คณะแตรวงชาวบ้านที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน อาทิ คณะถนอมศิลป์ ปทุมธานี คณะ ส.จุฬาลักษณ์ สมุทรสงคราม คณะวรรณธนวาทิต นนทบุรี คณะกุหลาบโชว์ พระนครศรีอยุธยา คณะครูดำมิวสิค พระนครศรีอยุธยา คณะเพชรพระนคร พระนครศรีอยุธยา คณะเอ็กซเรย์ ราชบุรี คณะสุนิศา ท่ามะขาม ราชบุรี คณะมณฑาสวรรค์ ดำเนินสะดวก ราชบุรี คณะสมหวัง บ้านโป่ง ราชบุรี คณะ ส.แก้วบูชา นครปฐม คณะแตรวงรักชาติเมืองสุพรรณ คณะลูกทุ่งเมืองทอง นนทบุรี คณะสุวรรณศิลป์ ศาลายา นครปฐม ฯลฯ บุคลากรที่ถือเป็นภูมิปัญญาทางแตรวงชาวบ้านในปัจจุบัน อาทิ พันโทวิชิต โห้ไทย ศิลปินแห่งชาติ ครูสมัคร กรานต์แหยม นนทบุรี ครูหมู เมืองนนท์ ครูสมาน กันเกตุ ราชบุรี ครูวิรัช แสงจันทร์ สมุทรสงคราม





          แตรวงชาวบ้าน ในปัจจุบันสภาพสังคมเปลี่ยนไป ความนิยมในการประโคมแห่ลดลงและมีกิจกรรมดนตรีเพื่อสังคมชาวบ้านแบบอื่นๆ มาใช้ทดแทน แต่ก็มิใช่ว่าแตรวงชาวบ้านจะเงียบเสียงไปเสียเลยทีเดียว ในหลายท้องถิ่นยังคงพึ่งพาดนตรีแตรวงเพื่อความสนุกสนานบันเทิงในชุมชน ยังคงมีชาวบ้านที่สนใจฝึกฝนแตรวงแบบชาวบ้านสืบทอดวิธีการบรรเลงด้วยลีลาของชาวบ้านกันอยู่ แม้ว่าทางหน่วยงานราชการและสถานศึกษาสมัยใหม่จะหันไปนิยมการส่งเสริมวงโยธวาทิต ที่มีระเบียบแบบแผนมาตรฐานระดับชาติและนานาชาติมากกว่าแล้วก็ตาม สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ การรวบรวมและบันทึกหลักฐานความรู้เกี่ยวกับแตรวงชาวบ้านเอาไว้อย่างเป็นรูปธรรม ยังไม่มีความชัดเจนพอและไม่ได้รับการเอาใจใส่จากสถาบันการดนตรีใดๆ อย่างจริงจัง แม้กระทั่งสถาบันการศึกษาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความรู้ทางเครื่องเป่าตะวันตกที่มุ่งสร้างมาตรฐานให้เทียบเท่าสากล ก็ละทิ้งรากฐานความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมแตรวงชาวบ้านกับการศึกษาในระบบเสียมาก ความหวังในการสืบทอดแตรวงยังคงลางเลือนหากมุ่งฝากภารกิจเอาไว้ที่ภาครัฐและสถาบันการศึกษา คงเป็นเรื่องทางเลือกและการตัดสินใจของชุมชนที่จะเล็งเห็นคุณค่าของแตรวงชาวบ้าน กับการอยู่ร่วมกับสังคมไทยในอนาคตได้อย่างไร



ที่มา : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม https://www.facebook.com/DCP.culture/posts/597559840369592
ที่มา : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม หน้า 30 - 33 http://ich.culture.go.th/doc/ich2014.pdf


9. วงดนตรีพื้นบ้าน (Folk Band)



          วงดนตรีพื้นบ้าน คือ ดนตรีลูกทุ่งตะวันตกของชาวอเมริกัน มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ดนตรีคันทรีและเวสเทิร์น" (Country and Western) มีต้นกำเนิดอยู่แถบหุบเขาเวอร์จิเนีย รัฐแคโรไลนา รัฐเคนทักกีและรัฐเทนเนสซี รูปแบบของดนตรีโฟล์กซองพัฒนามาจากเพลงขับลำนำ(Ballad) และเพลงเต้นรำ (Dance Music) ของชาวอังกฤษ ต่อมาถูกพัฒนารูปแบบกลายเป็นวงดนตรีพื้นบ้านของอเมริกัน


วงดนตรีพื้นบ้านอเมริกัน

          วงดนตรีพื้นบ้านอเมริกัน ใช้กีตhาร์โฟล์คซึ่งเป็นกีต้าร์โปร่งเป็นเครื่องบรรเลงคลอเสียงขับร้อง ทั้งนักดนตรีและนักร้องอาจเป็นคนเดียวกัน แต่บางวงอาจมีนักดนตรีและนักร้องรวมกัน ๒-๔ คน ซึ่งทุกคนจะร้องและเล่นกีต้าร์คนละตัวคลอตามทางของตน
          ลักษณะการเล่นกีต้าร์มักเป็นแบบเกาแตะคอร์ด (Picking) ถ้าเล่นคนเดียวเป็นเสียงประสานจะเป็นแบบร่วมคอร์ด (Homophony) คือ เสียงร้องเป็นทำนองหลัก เสียงกีต้าร์เป็นทั้งส่วนจังหวะ และส่วนประสานเสียงในแนวดิ่ง และถ้าเล่นรวมวงหลายคนเสียงประสานจะเป็นแบบหลายแนว (Polyphony) คือ นักร้องและนักดนตรีคนหนึ่งร้องทำนองหลักพร้อมกับเกากีต้าร์ดำเนินคอร์ดประสานเสียง นักร้องและนักดนตรีคนอื่นๆ เล่นทำนองสอดประสาน พร้อมกับเล่นกีต้าร์ตามแนวที่แตกต่างกัน


วงคันทรีอเมริกัน

          วงคันทรีอเมริกัน เรียกติดปากกันทั่วไปว่า "วงคันทรีและเวสเทิร์น" พัฒนารูปแบบมาจากเพลงบัลลาด และเพลงเต้นรำของอังกฤษ วงคันทรีอเมริกันประสมวงได้ ๓ ลักษณะ คือ

          ๑) วงฮิลบิลลี (Hillbilly) ประสมวงด้วยไวโอลินและดัลซิเมอร์ (ขิมแบบฮังกาเรียน) ใช้บรรเลงคลอเสียงขับร้อง
          ๒) วงเวสเทิร์นสวิง (Western Swing) เอาเปียโน คลาริเน็ต แซ็กโซโฟน กีต้าร์ และกลองชุด ประสมวงกับไวโอลิน และดัลซิเมอร์ ใช้บรรเลงสนับสนุนการเต้นรำ
          ๓) วงบลูแกรสส์ (Blue Grass) นำแบนโจ และแมนโดลิน มาเพิ่มในวงเวสเทิร์นสวิง นำมาใช้บรรเลงได้ทั้งเพลงขับร้องและเพลงเต้นรำ





ที่มา : http://krutri.samroiwit.ac.th/band.html


8. วงสตริงคอมโบ (String Combo)


          วงสตริงคอมโบ เป็นวงดนตรีเครื่องสายอย่างตะวันตกขนาดเล็ก เกิดใหม่จากการดัดแปลงและรวมวงวงคอมโบเข้ากับวงชาโดว์ บทเพลงที่บรรเลงส่วนใหญ่ยังคงเป็นเพลงในแนวดนตรีร็อคเหมือนเดิม เครื่องดนตรีที่นำมาใช้ในการประสมวง ประกอบด้วย กีต้าร์ไฟฟ้า 2 เครื่อง กีต้าร์เบส 1 เครื่องคีย์บอร์ด (เปียโน เปียโนไฟฟ้า ซินธีไซเซอร์) 1 เครื่อง กลองชุด 1 ชุด กีต้าร์เป็นเครื่องดนตรีที่มีบทบาทในการบรรเลงมาก ทำหน้าที่บรรเลงทำนองสอดแทรกต่างๆ ทำนองในตอนขึ้นต้นบทเพลง ทำนองล้อรับเสียงขับร้อง โซโล และทำนองท่อนลงจบ กีต้าร์ที่ทำหน้าที่ต่างๆ เหล่านี้เรียกว่า ลีดกีต้าร์ (Guitar Lead) หรือ โซโลกีต้าร์ (Guitar Solo) ส่วนกีต้าร์ที่เหลืออีก 1 เครื่อง จะทำหน้าที่ดีดคอร์ด ประกอบบทเพลงด้วยลีลาต่างๆ เรียกว่า ริธึ่มกีต้าร์ (Guitar Rhythm) วงสตริงคอมโบบางวงอาจจะเพิ่มกลุ่มของนักดนตรีประเภทเครื่องเป่าเข้าไปด้วย ประมาณ 1- 3 คน เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าที่นิยมนำมาประสมวง ได้แก่ ทรัมเป็ท ทรอมโบน และแซ็กโซโฟน


ประวัติวงสตริงฝั่งตะวันตก

          วงสตริงฝั่งตะวันตกแบ่งวิวัฒนาการออกได้เป็น 2 สมัย สมัยแรกคือดนตรีต้นตำรับตั้งแต่ร็อกยังไม่เกิด ได้แก่ บลูส์ คันทรี่ และโฟล์ก สมัยที่สองเป็นร็อกยุคแรกอันเป็นต้นฉบับให้กับร็อกรุ่นหลังถึงปัจจุบัน บรรพบุรุษร็อกนี้เรียกว่าคลาสสิก ร็อก ป็อป R&B


ประวัติวงสตริงของไทย

          วงการดนตรีไทยมีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับเนื่องจากอิทธิพลของดนตรีตะวันตกที่หลั่งไหลเข้ามาโดนใจวัยโจ๋ในสมัยนั้นไม่ขาดสายได้แก่วง เดอะบิทเทิล เดอะชาโดของคลิฟฟ์ ริชาร์ด เอลวิส เพรสลีย์ ฯลฯ แทบทุกวงดนตรีมากับกีตาร์ 3 ตัว กลองชุด พร้อมๆ กันนั้นวงดนตรีของไทยก็เริ่มหันมาเล่นเพลงสากลได้รับความนิยมไม่น้อยเหมือนกัน เมื่อสหรัฐอเมริกามาตั้งฐานทัพในประเทศไทยสมัยสงครามเวียดนาม เพลงสากลได้รับความนิยมไม่น้อยเช่นกัน วงดนตรีของไทยที่เล่นเพลงสากลในสมัยนั้นเช่น วงซิลเวอแซนด์ วงรอแยลสไปรท์ ฯลฯ ร้องและเล่นตามต้นแบบเป็นส่วนใหญ่

          พ.ศ. 2512 ได้จัดการประกวดวงสตริงคอมโบแห่งประเทศไทยขึ้น โดยมีกติกาการแข่งขันว่า เล่นเพลงสากล 1 เพลง เพลงไทยสากล 1 เพลง เพลงพระราชนิพนธ์ 1 เพลง วงที่ชนะเลิศคือ วงดิอิมพอสซิเบิล ซึ่งเดิมเป็นวงอาชีพเล่นอยู่แถบถนนเพชรบุรีตัดใหม่ในนามวงจอยท์รีแอคชั่นหรือ เจ-ทรี (ฮอลิเดย์ เจ-ทรีตามชื่อสถานบันเทิงที่เล่น) ชื่อดิอิมพอสซิเบิลซึ่งเปลี่ยนก่อนแข่งได้มาจากการ์ตูนในโทรทัศน์ยุคนั้น ดิอิมพอสซิเบิลโด่งดังเหลือหลาย นักดนตรีประกอบด้วย เศรษฐา ศิระฉายา วินัย พันธุรักษ์ อนุสรณ์ พัฒนกุล สิทธิพร อมรพันธ์ และพิชัย คงเนียม ครองรางวัลชนะเลิศ 3 ปีซ้อน

          ประวัติศาสตร์วงการดนตรีไทยต้องบันทึกไว้ในฐานะวงดนตรีประเภทสตริงคอมโบ้วงแรกที่สร้างความรู้สึกเป็นสากลและเป็นวงแรกอีกเช่นกันเปิดทางให้วัยรุ่นฟังเพลงไทยแนวใหม่ ความสำเร็จขั้นสูงสุดทำให้ผู้สร้างภาพยนตร์ตลอดจนผู้ประพันธ์เพลงให้ความสนใจกับวงดนตรีประเภทนี้มากขึ้น เวลาเดียวกันวงดนตรีวงอื่นๆ ได้รับความนิยมตามมาเช่น P.M.5 แฟนตาซี แกรนด์เอ็กซ์ ชาตรี ดิ อินโนเซ้นท์ ฯลฯ จากนั้นเข้าสู่ยุดแฟนฉัน (ชาตรี) ทำให้สตริงคอมโบโด่งดังเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

          การบรรเลงและการโซโล (Solo) ทํานองเพลงนั้นจะใช้เครืองสายเป็นส่วนใหญ่ (กีร์ต้า) เราจึงเรียกกันสั้นๆ ว่า “วงสตริง”



วงดิอิมพอสสิเบิล



วงชาตรี







ที่มา : https://th.wikipedia.org/
ที่มา : http://nuy1.exteen.com/20091104/5-string-combo
ที่มา : http://www.nmt.ac.th/home/art/new_page_1.htm


7. วงคอมโบ (Combo Band)




          วงคอมโบ คำว่า Combo เป็นคำสั้นของคำว่า Combination ซึ่งแปลว่า การรวมกัน เป็นวงดนตรีขนาดเล็ก ประสมวงตามความเหมาะสม ใช้สำหรับแสดงในสถานที่ในพื้นที่แคบๆ เครื่องดนตรีที่นิยมใช้ประสมวง ได้แก่ ทรัมเป็ต แซ็กโซโฟน เปียโน ดับเบิลเบส หรือกีตาร์ เบสไฟฟ้า กลองชุด และเครื่องกระทบทำจังหวะอื่นๆ เช่น กลอง ฉิ่ง หรือแทมบูรีน กลองบองโก กลองทอมบา เป็นต้น และอาจเติมทรอมโบน กีต้าร์ไฟฟ้าเล่นคอร์ด หรือจะใช้คีย์บอร์ดไฟฟ้าแทนเปียโนก็ได้

          วงคอมโบนิยมใช้บรรเลงเพลงป็อปปูล่าร์ทั้งเพลงบรรเลง และเพลงขับร้องเพื่อการฟัง และเพื่อประกอบการเต้นรำ ดังนั้นวงนี้จึงเป็นวงที่มีขนาดไม่ใหญ่นักเหมาะสำหรับเล่นตามงานรื่นเริงทั่วๆ ไป นอกจากนั้นยังเหมาะสำหรับเพลงประเภทไลท์มิวสิค อีกด้วย

          เพลงไทยสากลในปัจจุบันที่ใช้วงคอมโบเล่นตามห้องอาหารหรืองานต่างๆ ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ดังต่อไปนี้

1. แซ็กโซโฟน
2. ทรัมเป็ต
3. ทรอมโบน
4. เปียโนหรือออร์แกน
5. กีต้าร์คอร์ด
6. กีต้าร์เบส




ที่มา : http://nitikornmusic.blogspot.com/2011/09/blog-post.html
ที่มา : http://krutri.samroiwit.ac.th/band.html

6. วงชาโดว์ (Shadow)


          เป็นวงดนตรีขนาดเล็กๆ เคลื่อยย้ายสะดวก ประกอบด้วยเครื่องดนตรี กีต้าร์ลีด กีต้าร์คอร์ด กีต้าร์เบส กลองชุด แบ่งวิวัฒนาการออกเป็น 2 สมัย 

1.ได้แก่ วงชาโดว์แนวบูล คันทรี โฟลค์
2.วงชาโดว์แนวร็อคเป็นต้นฉบับให้กับร็อครุ่นหลังถึงปัจจุบัน บรรพบุรุษร็อคนี้เรียกว่า คลาสสิคร็อค มาถึงกำเนิดสตริงสัญชาติไทย (พ.ศ. 2503-2515)

          วงการดนตรีไทยมีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับเนื่องจากอิทธิพลของดนตรีตะวันตกที่หลั่งไหลเข้ามาโดนใจวัยโจ๋ในสมัยนั้นไม่ขาดสายได้แก่วง เดอะบิทเทิล เดอะชาโดว์ของคลิฟ ริชารด์ เอลวิส เพรสลีย์ ฯลฯ แทบทุกวงดนตรีมากับกีต้าร์ 3 ตัว กลองชุด พร้อมๆ กันนั้นวงดนตรีของไทยก็เริ่มหันมาเล่นเพลงสากลได้รับความนิยมไม่น้อยเหมือนกัน

          เมื่ออเมริกามาตั้งฐานทัพในประเทศไทยสมัยสงครามเวียตนาม เพลงสากลได้รับความนิยมไม่น้อยเหมือนกัน วงดนตรีของไทยที่เล่นเพลงสากลในสมัยนั้นเช่น วงซิลเวอแชนด์ วงรอแยลสไปรท์ ฯลฯ ร้องและเล่นตามต้นแบบเป็นส่วนใหญ่


เครื่องดนตรีในสมัยแรก มี 4 ชิ้น คือ

1. กีต้าร์เมโลดี้ (หรือกีต้าร์โซโล)
2. กีต้าร์คอร์ด
3. กีต้าร์เบส
4. กลองชุด

          วงชาโดว์ ในระยะหลังได้นำออร์แกนและพวกเครื่องเป่า เช่น แซ็กโซโฟน ทรัมเป็ตทรอมโบนเข้ามาผสม และบางทีอาจมี ไวโอลินผสมด้วย เพลงของพวกนี้ส่วนใหญ่จะมีจังหวะเร่าร้อน ซึ่งได้รับความนิยมมากในหมู่วัยรุ่น โดยเฉพาะเพลงประเภท อันเดอร์กราว



วงเดอะบิทเทิล (The Beattle)



The Shadow





ที่มา : http://www.nmt.ac.th/home/art/new_page_1.htm


5. วงดนตรีแจ๊ส (Jass Band)



          เป็นวงดนตรีขนาดเล็ก ใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าเป็นหลัก เกิดขึ้นครั้งแรกที่เมือง นิวออร์ลีน ประเทศสหรัฐอเมริกา ลักษณการบรรเลง จะใช้ครื่องดนตรีแต่ละชนิดบรรเลงโต้ตอบกันโดยมีทำนองสั้นๆ Blues Jazz เพลงบลูส์ เป็นเพลงเก่าแก่ของ แจ๊๊ส มาจากเพลงสวดอันโหยหวลของพวกนิโกร เพลงบลูส์มีอายุร่วม100 ปี Swing แบบนี้กู๊ดแมน เป็นผู้ให้กำเนิดจังหวะนี้ เมื่อก่อนกู๊ดแมนเล่นคลาริเน็ทกับพวกผิวดำต่อมาได้แยกออกมาเล่นกับพวกผิวขาวด้วยกันและเขาได้แต่งเพลงใหม่ขึ้น และได้ให้ชื่อเพลงใหม่นี้ว่า Swing Rock n’ Roll ก็แตกแขนงจาก แจ๊๊ส เมื่อราว พ.ศ. 2493 ได้รับความนิยมสูงสุดในหมู่วัยรุ่นและแพร่หลายอย่างรวดเร็วในอเมริกาผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นราชาเพลงร๊อคก็คือ เอลวิส เพรสลี่ (เสียชีวิตเมื่อ ส.ค. 2520)






ที่มา : https://sites.google.com/site/thaimusic2557/-prapheth-khxng-wng-dntri-sakl


4. วงป็อปปูล่ามิวสิค (Popular Music)

          วงป็อปปูล่ามิวสิค (Popular Music) หรือ วงดนตรีลีลาศ ใช้บรรเลงตามงานรื่นเริงทั่วไปประกอบด้วย เครื่องดนตรีกลุ่มแซกโซโฟน กลุ่มเครื่องทองเหลืองและกลุ่มเครื่องประกอบจังหวะ วงป็อปปูล่ามิวสิค ส่วนใหญ่มี 3 ขนาด


1.วงขนาดเล็ก (วง 4x4) มีเครื่องดนตรี 12 ชิ้น ดังนี้

กลุ่มแซ็กโซโฟน  ประกอบด้วย อัลโตแซ็ก 1 คัน เทเนอร์แซ็ก 2 คันบาริโทน แซ็ก 1 คัน
กลุ่มเครื่องลมทองเหลือง ประกอบด้วย ทรัมเป็ต 3 คัน ทรอมโบน 1 คัน
กลุ่มจังหวะ ประกอบด้วย เปียโน 1 หลัง กีต้าร์คอร์ด 1 ตัว เบส 1 ตัว กลองชุด 1 ชุด


2.วงขนาดกลาง (5x5) มีเครื่องดนตรี 14 ชิ้น คือ เพิ่มอัลโตแซ็ก และ ทรอมโบน

3.วงขนาดใหญ่ (Big Band )(5 x 7) มี 16 ชิ้น เพิ่ม ทรัมเป็ต และ ทรอมโบนอย่างละตัว ในปัจจุบันใช้กีต้าร์เบสแทนดับเบิ้ลเบส และ บางทีก็ใช้ออร์แกนแทนเปียโน







ที่มา : https://sites.google.com/site/thaimusic2557/-prapheth-khxng-wng-dntri-sakl
ที่มา : http://www.riverlightmusic.com/prapetduntree(sagon).html


3. วงแบนด์ (Band)


          วงแบนด์เป็นลักษณะของการผสมวงดนตรีอีกประเภทหนึ่งของตะวันตกที่มีเครื่อง ดนตรีในกลุ่มเครื่องเป่าเป็นหลักและมีเครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องประกอบ จังหวะผสมวงบรรเลงร่วมกัน การผสมวงแบนด์แบ่งตามประเภทได้ดังนี้

          1. ซิมโฟนิคแบนด์ หรือ คอนเสิร์ตแบนด์ (Symphonic Band or Concert Band) เป็นการผสมที่เน้นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าชนิดต่างๆ เป็นสำคัญ และมีเครื่องประกอบจังหวะตามความเหมาะสม ใช้บรรเลงในร่ม ในห้องประชุม หรือห้องจัดแสดงดนตรี บทเพลงที่ใช้บรรเลงต้องเขียนขึ้นโดยเฉพาะ วงซิมโฟนิคแบนด์จะไม่นำไวโอลิน วิโอลา และเชลโลมาผสมวง ยกเว้นดับเบิลเบสซึ่งเป็นเครื่องสายชนิดเดียวที่นำมาประสมในวงประเภทนี้ การผสมวงดนตรีและการบรรเลงดนตรีในลักษณะนี้ อาจเรียกชื่อเป็นอย่างอื่นได้อีก เช่น "Wind Ensemble" ประกอบด้วยเครื่องดนตรี 3 กลุ่ม คือ

- กลุ่มเครื่องลมไม้ (Woodwind) ได้แก่ แซ็กโซโฟน, บาสซูน, โอโบ, คลาริเนท, ฟลูท และปิคโคโล ( ในบางโอกาสมักใช้ผู้เล่นคนเดียวกัน )
- กลุ่มเครื่องทองเหลือง (Brass) ได้แก่ ทรัมเป็ต, ทรอมโบน, ทูบา, ยูโฟเนียม, เฟรนช์ฮอร์นและคอร์เน็ต
- กลุ่มเครื่องตีประกอบจังหวะ (Percussion) ได้แก่ กลองทิมปานี, กลองเล็ก, กลองใหญ่, กิ่ง, มาริมบา, ฉาบ และระฆังราว ( ขึ้นอยู่กับเพลงด้วย )




          โดยปกติมักใช้นั่งบรรเลงเป็นหลัก ขณะที่นั่งบรรเลงจะต้องมีผู้อำนวยเพลง (Conductor) คอยควบคุมจังหวะและปรับความสมดุลของเพลงด้วย เพลงที่ใช้บรรเลงมักเป็นเพลงทั่วๆ ไปหรือเพลงที่ใช้เฉพาะในงานนั้นๆ ซึ่งเพลงที่นำมาบรรเลงจะต้องเป็นเพลงที่เขียน ขึ้นมาเพื่อใช้กับวงคอนเสิร์ตแบนด์โดยเฉพาะเท่านั้น เพราะในการเรียบเรียงเสียงประสานนั้นผู้ที่ เรียบเรียงฯ จะทราบจำนวนและเป็นผู้กำหนดเครื่องดนตรีเอง หากนำเพลงที่เรียบเรียงให้วงที่มีจำนวนนักดนตรีมากมาให้วงที่มีนักดนตรีน้อย เล่นอาจทำให้ทำนองหลักของเพลงขาดหายไปก็เป็นไปได้เนื่องจากจำนวนนักดนตรีไม่เท่ากัน


          2. วงมาร์ชชิ่งแบนด์ (Marching Band) เป็นวงดนตรีที่มีอยู่ตามโรงเรียนและสถาบันการศึกษาต่างๆ เหมาะสำหรับบรรเลงกลางแจ้ง เป็นดนตรีสนาม ใชบรรเลงนำขบวนพาเหรด บรรเลงในสนามกีฬา บรรเลงในวงเฉลิมฉลองต่างๆ ที่ต้องการความครึกครื้น สนุกสนาน และความเข้มแข็ง เพลงที่บรรเลงมีทั้งมาร์ชต่างๆ และเพลงลีลาแบบอื่นๆ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นเพลงมาร์ช นำมาเรียบเรียงใหม่เพื่อบรรเลงโดยวงมาร์ชชิ่งแบนด์โดยเฉพาะ เครื่องดนตรีที่นำมาประสมในวงมาร์ชชิ่งแบนด์คือ เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าและเครื่องตีกระทบประกอบจังหวะ ถ้าดูจากการประวงของเครื่องดนตรีแล้ว วงมาร์ชชิ่งแบนด์สมารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ


          2.1 แตรวง (Brass Band) เป็นวงดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบในการเดินแถวของทหาร การสวนสนาม พิธีแห่ต่างๆ และใช้บรรเลงประกอบในงานกีฬา ประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ

- กลุ่มเครื่องทองเหลือง (Brass) ได้แก่ ทรัมเป็ต, ทรอมโบน, ทูบา, ยูโฟเนียม, บาริโทน, เฟรนช์ฮอร์นและคอร์เน็ต
- กลุ่มเครื่องตีประกอบจังหวะ (Percussion) ได้แก่, กลองเล็ก, กลองใหญ่, ในขณะใช้เดินแถวนั้นวงแตรวงจะต้องมีคทากรหรือดรัมเมเยอร์ (Drum Major) เดินถือไม้คทานำหน้าแถวเพื่อทำหน้าที่ให้สัญญาณต่างๆ นอกจากนี้วงแตรวงยังถือว่าเป็นต้นแบบของดนตรีแจ๊ส






          2.2 วงโยธวาทิต (Military Band) เป็นวงดนตรีที่เกิดขึ้นเพื่อใช้ในกิจการของทหาร เช่น บรรเลงสำหรับเดินแถวทหาร บรรเลงเพื่อปลุกใจทหาร ต่อมาได้แพร่หลายไปสู่สถานศึกษาต่างๆ โดยได้นำวงโยธวาทิตไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ ของนักเรียน

          คำว่า " โยธวาทิต " ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง "วงดนตรีที่บรรเลงโดยทหาร ซึ่งมาจากคำว่า โยธ แปลว่า ทหาร รวมกับคำว่า วาทิต แปลว่า ดนตรี หรือผู้บรรเลงดนตรี" วงโยธวาทิตเป็นวงดนตรีที่มีลักษณะคล้ายกับวงคอนเสิร์ตแบนด์ทุกประการเพียง แต่เรียกชื่อต่างกันเท่านั้น กล่าวคือ ในขณะที่วงโยธวาทิตใช้ประกอบการเดินแถวสวนสนามหรือแสดงการแปรแถวกลางแจ้งเรา เรียกว่าการ " แสดงดนตรีสนาม " (Display) แต่เมื่อวงโยธวาทิตบรรเลงโดยการนั่งบรรเลงเราเรียกว่า "คอนเสิร์ตแบนด์" (Concert Band) สำหรับการใช้งานนั้นคล้ายกับวงแตรวง ยกเว้นเครื่องดนตรีที่ประกอบในวงโยธทิตนั้นประกอบด้วยเครื่องดนตรี 3 กลุ่ม คือ

- กลุ่มเครื่องลมไม้ (Woodwind) ได้แก่ แซ็กโซโฟน, บาสซูน, โอโบ, คลาริเนท, ฟลูท และปิคโคโล ( ในบางโอกาสมักใช้ผู้เล่นคนเดียวกัน )
- กลุ่มเครื่องทองเหลือง (Brass) ได้แก่ ทรัมเป็ต, ทรอมโบน, ทูบา, ยูโฟเนียม, คอร์เน็ตและเฟรนช์ฮอร์น, ซูซ่าโฟน
- กลุ่มเครื่องตีประกอบจังหวะ (Percussion) ได้แก่ กลองเล็ก, กลองใหญ่, ฉาบ





          วงโยธวาทิตที่มีชื่อเสียงของโลก คือ วงโยธวาทิตของ จอห์น ฟิลิป ซูซ่า (John Philip Sousa ค.ศ. 1854 - 1993) เป็นวงโยธวาทิตที่อยู่ในอเมริกา และเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย สำหรับ จอห์น ฟิลิป ซูซ่า นั้น เป็นผู้ที่มีความสามารถทางดนตรีอย่างมาก เป็นทั้งผู้ควบคุมวงดนตรีที่มีความสามารถ และนักประพันธ์เพลงที่มีชื่อเสียง โดยเฉพาะเพลงในลีลาจังหวะมาร์ช เขาแต่งได้อย่างไพเราะทุกเพลง จนได้รับการยกย่องให้เป็น “ราชาแห่งเพลงมาร์ช”







วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

2. วงออร์เคสตรา (Orchestra)


          วงออร์เคสตรา หรือ วงดุริยางค์สากล เป็นวงดนตรีขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องดนตรี และผู้บรรเลงจำนวนมาก บทเพลงที่ใช้บรรเลงมีหลายประเภท เช่น ซิมโฟนี คอนแชร์โต โอเวอร์เจอร์ เพลงบรรยายเรื่องราวต่างๆ บรรเลงประกอบการแสดงละครโอเปร่า บรรเลงประกอบการแสดงระบำปลายเท้า เป็นต้น
          วงออร์เคสตรา หรือ วงดุริยางค์สากล ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย รวมกับเครื่องลมไม้ เครื่องลมทองเหลือง และเครื่องตีกระทบ ซึ่งมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานตั้งแต่สมัยยุคบาโรก (ศตวรรษที่ 16) ในการศึกษาวงออร์เคสตราจำเป็นต้องเข้าใจถึงองค์ประกอบดังนี้


1. ประวัติของวงออร์เคสตรา

          วงออร์เคสตรา เป็นภาษาเยอรมัน หมายถึง สถานที่เต้นรำ เป็นส่วนหน้าเวทีของโรงละครสมัยกรีกโบราณในยุคกลาง ความหมายได้เปลี่ยนเป็นเวทีที่ใช้แสดงเท่านั้น และใน กลางศตวรรษที่ 18 วงออร์เคสตรา หมายถึง การแสดงของวงดนตรี ซึ่งใช้มาจนปัจจุบัน อีกนัยหนึ่งก็ยังหมายถึง พื้นที่ระดับต่ำที่เป็นที่นั่งอยู่หน้าเวที ละคร และการแสดงคอนเสิร์ต





          ในระยะแรก การใช้เครื่องดนตรีไม่มีการระบุแน่นอนว่ามีการบรรเลงเป็นอย่างไร ต่อมาในระยะศตวรรษที่ 16 มีโอเปราเกิดขึ้นทำให้มีความจำเป็นต้องการให้มีการบรรเลงกลมกลืนกับนักร้องจึงเริ่มมีการกำหนดเครื่องดนตรีลงในบทเพลงโดยเป็นลักษณะของ วงเครื่องสายออร์เคสตรา (String Orchestra) มีผู้เล่นจำนวน 10-25 คน ในศตวรรษที่ 17 เริ่มมีการเพิ่มเครื่องลมไม้ และในตอนปลายยุคบาโรก (ประมาณ ค.ศ. 1750) ผู้ประพันธ์เพลงเริ่มระบุจำนวนเครื่องดนตรีไว้ในบทเพลงโดยละเอียด มีการเพิ่มเครื่องลมทองเหลือง และเครื่องประกอบจังหวะ


วิดีโอตัวอย่างวงดนตรีสากล :
การบรรเลง วงสตริงออร์เคสตรา (STRING ORCHESTRA)



          วงออร์เคสตราเริ่มมีการพัฒนารูปแบบจนได้มาตรฐานในยุค คลาสสิก (ศตวรรษที่ 18) บทเพลงประเภทซิมโฟนีมีการพัฒนารูปแบบที่หลากหลาย ได้แก่ บทเพลงประเภท คอนแชร์โต โอเปรา และเพลงร้องเกี่ยวกับศาสนา

          นอกจากนี้ในวงออร์เคสตรายังมีเครื่องดนตรีแต่ละประเภทครบถ้วน คือ ในกลุ่มเครื่องสายประกอบด้วย ไวโอลิน วิโอลา เชลโล และดับเบิลเบส ในกลุ่มเครื่องลมไม้ ประกอบด้วยฟลูต คลาริเน็ต โอโบ บาสซูน ในกลุ่มเครื่องลมทองเหลืองประกอบด้วย ฮอร์น ทรัมเป็ต ทรอมโบน และทูบาและในกลุ่มเครื่องตีประกอบด้วย กลองทิมปานี กลองใหญ่ และเครื่องประกอบจังหวะอื่นๆ ซึ่งจะมีรายละเอียดตามความต้องการของผู้ประพันธ์เพลง

          ต่อมาในยุคโรแมนติก วงออร์เคสตราเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อแสดงความยิ่งใหญ่และสื่ออารมณ์ของบทเพลงให้ชัดเจน ความนิยมในบทเพลงประเภทบรรยายเรื่องราว (Symphonic poem) ทำให้วงออร์เคสตรามีผู้แสดงถึง 100 คน และนับว่าเป็นการพัฒนาถึงขีดสุดจนถึงยุคศตวรรษที่ 20 เนื่องจากผลกระทบหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้วงมีขนาด ลดลงซึ่งในการจัดวงนั้นก็ขึ้นกับปัจจัยทางสังคม เช่น เศรษฐกิจ การเมือง เป็นต้น เช่นเดียวกับการประพันธ์บทเพลง


2. วิวัฒนาการการจัดวงออร์เคสตรา

2.1 ยุคบาโรก (Baroque) ค.ศ. 1600-1750 เป็นยุคแรกของวงออร์เคสตรา ดังนั้น มาตรฐานการจัดวงจึงมีความไม่แน่นอนซึ่งอาจประกอบด้วย

เครื่องสาย  คือ       ไวโอลิน 2 แนว (ไวโอลิน 1 ไวโอลิน 2)
      วิโอลา
      เชลโลและดับเบิลเบส



เครื่องลมไม้  คือ       โอโบ 3 เครื่อง


      บาสซูน 1 เครื่อง


      บางครั้งอาจมีฟลูต



เครื่องลมทองเหลือง  คือ       ทรัมเป็ต 3 เครื่อง


      บางครั้งอาจมีฮอร์น



เครื่องประกอบจังหวะ  คือ       ทิมปานี






          นอกจากนี้อาจมีออร์แกนหรือฮาร์พซิคอร์ด เพื่อบรรเลงบทเพลงที่เกี่ยวกับศาสนา (เพลงโบสถ์) และเครื่องดนตรีชนิดอื่นตามความต้องการของผู้ประพันธ์


วิดีโอตัวอย่างการบรรเลง วงออร์เคสตร้ายุคบาโรค





2.2 ยุคคลาสสิก (The Classic Era) ค.ศ. 1750-1820 ยุคนี้วงออร์เคสตราเริ่มมีแบบแผนอาจแบ่งเป็น วงเครื่องสายออร์เคสตรา (String Orchestra) คือ วงออร์เคสตราที่ประกอบด้วยเครื่องสายเพียงอย่างเดียวและวงออร์เคสตรามีเครื่องดนตรีทั้ง 4 ประเภท อาจประกอบด้วย

ฟลูต   2       เครื่อง
ฮอร์น    2       เครื่อง
โอโบ   2       เครื่อง
ทรัมเป็ต    2       เครื่อง
คลาริเน็ต   2       เครื่อง
กลองทิมปานี    2       เครื่อง
บาสซูน   2       เครื่อง

          

เครื่องสาย (ตามแต่ผู้ประพันธ์เพลงต้องการ)

ในกลุ่มเครื่องสายจะมีแนวบรรเลง 2 แนว คือ แนวทำนองหลักและแนวเสียงประสาน






วิดีโอตัวอย่างวงดนตรีสากล : การบรรเลง วงออร๋เคสตร้า
(ตัวอย่างลักษณะ การจัดวงยุคคลาสสิก)



2.3 ยุคโรแมนติก (The Romantic Era) ค.ศ. 1820-1900 ยุคนี้ออร์เคสตราพัฒนาถึงจุดที่เป็นมาตรฐานเครื่องดนตรีสามารถให้สีสันกับบทเพลงได้อย่างเด่นชัด โดยมีการเพิ่มจำนวนเครื่องดนตรีให้มากขึ้น ผู้บรรเลงประมาณ 80 คน ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ดังนี้

ฟลูต   4       เครื่อง
ดับเบิลเบส    8       เครื่อง
โอโบ   4       เครื่อง
ฮอร์น    4       เครื่อง
คลาริเน็ต   4       เครื่อง
ทรัมเป็ต    4       เครื่อง
บาสซูน   4       เครื่อง
ทรอมโบน    4       เครื่อง
ไวโอลิน 1 14       เครื่อง
ทิมปานี    1       เครื่อง
ไวโอลิน 2 14       เครื่อง
กลองใหญ่    1       เครื่อง
วิโอลา   8       เครื่อง
ฉาบ    1       เครื่อง
เชลโล 10       เครื่อง
ฮาร์ฟ    1       เครื่อง





2.4 วงออร์เคสตราในปัจจุบัน มีความแตกต่างกันไปตามสภาพสังคม และเศรษฐกิจ รวมทั้งจุดมุ่งหมายการบรรเลงเพลงด้วย แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

- วงแชมเบอร์ออร์เคสตรา
          วงแชมเบอร์ออร์เคสตรา หมายถึง วงดนตรีที่ประสมวงด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายในตระกูลไวโอลินเท่านั้น มีผู้บรรเลงจำนวน 16 – 20 คน

- วงซิมโฟนีออร์เคสตรา หรือวงดุริยางค์สากล
           ประกอบด้วยเครื่องดนตรีครบทุกประเภท คือ เครื่องสาย เครื่องลมไม้ เครื่องลมทองเหลือง เครื่องลิ้มนิ้ว และเครื่องตีกระทบ เป็นลักษณะการประสมวงที่สมบูรณ์ที่สุด ขนาดของวงได้กำหนดโดยผู้บรรเลงในกลุ่มเครื่องสายดังนี้

1) วงขนาดเล็ก (Small Orchestra) มีผู้บรรเลงประมาณ 40 – 60 คน
2) วงขนาดกลาง (Medium Orchestra) มีผู้บรรเลงประมาณ 60 – 80 คน
3) วงขนาดใหญ่ (Full Orchestra) มีผู้บรรเลงประมาณ 80 คนขึ้นไป

          วาทยกร (Conductor) หรือ เรียกว่า ผู้อำนวยเพลง คือผู้ที่ทำหน้าที่ควบคุมวงดนตรี ต้องที่ด้านหน้าวงดนตรี เพื่อกำกับจังหวะ กำกับลีลา และกำกับความดังเบาของบทเพลงที่บรรเลงอยู่ เป็นผู้เชื่อมโยงอารมณ์ และความรู้สึกของผู้ประพันธ์เพลงไปสู่ผู้ฟังเพลง


วีดีโอตัวอย่าง วาทยกร หรือ ผู้อำนวยเพลง
(CONDUCTOR) เขามีหน้าที่อะไร ไปชมกัน



          การจัดวงออร์เคสตรา คำนึงถึงความกลมกลืนของเสียงดนตรี และความสมดุลของเสียงเครื่องดนตรีแต่ละกลุ่ม กลุ่มเครื่องสายมีจำนวนมากที่สุดในวง ประมาณ 2 ใน 3 ของจำนวนผู้บรรเลงทั้งหมด ในการจัดกลุ่มเครื่องดนตรี นิยมให้กลุ่มเครื่องสายนั่งอยู่ด้านหน้าสุด ต่อจากนั้นจะเป็นกลุ่มเครื่องลมไม้ กลุ่มเครื่องลมทองเหลืองและกลุ่มเครื่องตีกระทบอยู๋ด้านหลัง ดังนี้

กลุ่มเครื่องสาย ไวโอลิน 1       18 เครื่อง

ไวโอลิน 2       15 เครื่อง

วิโอลา       12 เครื่อง

เชลโล       12 เครื่อง

ดับเบิลเบส       12 เครื่อง




กลุ่มเครื่องลมไม้ ฟลูต         3 เครื่อง

ปิกโคโล         1 เครื่อง

โอโบ         3 เครื่อง

อิงลิชฮอร์น         1 เครื่อง

คลาริเน็ต         3 เครื่อง

เบสคลาริเน็ต         1 เครื่อง

บาสซูน         3 เครื่อง

ดับเบิลบาสซูน         1 เครื่อง




กลุ่มเครื่องลมทองเหลือง ฮอร์น       4-6 เครื่อง

ทรัมเป็ต         4 เครื่อง

ทรอมโบน         3 เครื่อง

ทูบา         1 เครื่อง




กลุ่มเครื่องตี กลองทิมปานี         1 เครื่อง

กลองใหญ่


กลองเล็ก


ไซโลโฟน


สามเหลี่ยม


ฉาบ


แทมโบริน






วิดีโอตัวอย่างวงดนตรีสากล : การบรรเลง วงออร์เคสตรา
(ตัวอย่างลักษณะการจัดวง ยุคปัจจุบัน)



3. บทเพลงที่ใช้ในวงออร์เคสตรา

ซิมโฟนี (Symphony)

          เป็นบทเพลงต้นแบบของเพลงประเภทต่างๆ ที่ใช้บรรเลงสำหรับวงซิมโฟนีออร์เคสตรา ซึ่ง นิยมในยุคคลาสสิก (1750-1820) ส่วนใหญ่ประพันธ์โดยไฮเดิน (106 บท) โมซาร์ท (ประมาณ 50 บท) ในยุคโรแมนติกเป็นบทเพลงที่มีความไพเราะ สง่างามและแสดงออกถึงอารมณ์ จิตวิญญาณของดนตรีในยุคผู้ประพันธ์ที่สำคัญ เช่น ชูเบิร์ต ชูมานน์ เป็นต้น ซิมโฟนีโดยปกติ ประกอบด้วย 3-4 ท่อน โดยรูปแบบจังหวะแต่ละท่อนเป็นเร็ว-ช้า-เร็ว หรือ เร็ว-ช้า-เร็ว ปานกลาง-เร็ว


วิดีโอตัวอย่างวงดนตรีสากล :
การบรรเลงบทเพลงประเภท ซิมโฟนี (SYMPHONY)



คอนแชร์โต (Concerto)
          เป็นบทเพลงสำหรับเครื่องดนตรีเดี่ยวเพื่อแสดงฝีมือของผู้บรรเลงร่วมบรรเลงกับวงออร์เคสตรา เกิดขึ้นในยุคบาโรกและมีแบบแผนที่เป็นมาตรฐานในยุคคลาสสิก ด้านรูปแบบมีลักษณะคล้ายกับซิมโฟนีแต่มีเพียง 3 ท่อน ประกอบด้วย เร็ว-ช้า-เร็ว คอนแชร์โตที่นิยม คือ เปียโนคอนแชร์โตและไวโอลินคอนแชร์โต


วิดีโอตัวอย่างวงดนตรีสากล :
การบรรเลงบทเพลงประเภท คอนแชร์โต ‎(CONCERTO)‎



โอเปรา (Opera)

          เป็นละครเพลงร้องที่ใช้วงออร์เคสตราในการบรรเลงดนตรีประกอบ และดำเนินเรื่องใช้การร้องเป็นหลัก โอเปราแบ่งได้ 2 ประเภท คือ โอเปรา ซีเรีย (Opera Seria) เป็นเรื่องราว เกี่ยวกับชนชั้นสูง เนื้อหาเกี่ยวกับโศกนาฏกรรม ความรัก และโอเปรา ชวนหัว (Comic Opera, Opera buffa) เนื้อหาเป็นเรื่องสามัญชนทั่วไป แนวสนุกสนาน ตลกขบขัน ดำเนินเรื่องรวดเร็ว

          บางโอกาสอาจมีโอเปราอีก 2 ประเภท คือ โอเปเรตตา (Operetta) เป็นโอเปราขนาดเล็ก มีแนวสนุกสนานทันสมัย ใช้การพูดแทนการร้องในบทสนทนา และคอนทินิวอัสโอเปรา (Continuous Opera) เป็นโอเปราที่ใช้ดนตรีเชื่อมโยงเรื่องราวตลอดตั้งแต่ต้นจนจบ


วิดีโอตัวอย่าง : การแสดง อุปรากร (โอเปรา : OPERA)



ดนตรีบรรยายเรื่องราว (Simphonic poem)

          เป็นบทเพลงที่ใช้เสียงดนตรีสื่อความหมายต่างๆ หรือเล่าเรื่องราวตามความมุ่งหมายของผู้ประพันธ์ ซึ่งอาจเป็นการเล่าเรื่องราวหรือบรรยายภาพในลักษณะการเลียนเสียงธรรมชาติ เช่น น้ำไหล นกร้อง เป็นต้น บทเพลงประเภทนี้จะสื่ออารมณ์ความรู้สึกอย่างชัดเจน เกิดขึ้นในยุคโรแมนติกและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก


บัลเลต์ (Ballet)

          เป็นบทเพลงที่ใช้สำหรับประกอบการแสดงละครคล้าย โอเปร่า แต่ไม่มีบทร้อง ผู้แสดงใช้การเต้นบรรยายแทนการสนทนา ผู้ประดิษฐ์ท่าทางมีความสำคัญมากเพราะต้องสื่อเนื้อหาที่เข้ากับดนตรีและเนื้อเรื่อง ดนตรีบัลเลต์จัดเป็นดนตรีที่บรรเลงด้วยวงออร์เคสตร้าที่มีความไพเราะสามารถฟังได้โดยไม่ต้องมีการแสดงประกอบแต่ประการใด



ที่มา : http://tc.mengrai.ac.th/singthong/webstu/521/611/6119-Baroque-A/link16.htm


1. วงแชมเบอร์มิวสิค (Chamber Music)


          วงดนตรีประเภทแชมเบอร์มิวสิคจัดเป็นการผสมวงดนตรีของตะวันตกอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งมีความเป็นมายาวนาน นับตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 14 หรือยุคกลาง (Middle Age) เป็นต้นมา ได้มีการผสมวงดนตรีซึ่งพบในบทเพลงโมเต็ท (Motet) และแมดริกัล (Madrigal) ซึ่งเป็นบทเพลงขับร้อง นับตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 14 จนถึงต้นศตวรรษที่ 16 เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายและเครื่องลมได้เข้ามาบรรเลงร่วมกับการขับร้อง "Webster's Dictionary" ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "แชมเบอร์มิวสิค" ไว้ว่า "Instrumental music suitable for performance in a chamber or a small audience hall" ซึ่งศาสตราจารย์ไขแส ศุขะวัฒนะ (2525:20) แปลเป็นภาษาไทยว่า "ดนตรีประเภทบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีที่เหมาะสำหรับแสดงภายในห้องโถงหรือสถานที่ที่จุผู้ฟังได้เพียงจำนวนน้อย" หรือจะเรียกดนตรีประเภทนี้ว่า แชมเบอร์มิวสิคเป็นดนตรีของนักดนตรี (musicians' music) , ดนตรีของมิตรสหาย (music of friends) และ ดนตรีในหมู่เพื่อนฝูง (music among friends)

          ในสมัยแรกๆ วงดนตรีประเภทนี้เหมาะสำหรับการบรรเลงในบ้าน คฤหาสน์ของขุนนาง หรือห้องที่จุผู้ฟังได้จำนวนน้อย ซึ่งผู้จัดงานมีแขกพอประมาณ ต่อมาวงแชมเบอร์มิวสิคเล่นในห้องโถงที่มีขนาดใหญ่ และในที่สุดต้องเล่นในคอนเสิร์ตฮอลล์ (Concert hall) หรือสังคีตสถาน อย่างเช่นศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เป็นต้น การฟังดนตรีประเภทแชมเบอร์มิวสิคต้องมีความรู้ความเข้าใจเช่นเดียวกับการฟังดนตรีคลาสสิกทั่วๆ ไป

          เนื่องจากดนตรีประเภทนี้ใช้ผู้เล่นเพียงไม่กี่คน ฉะนั้นเสียงที่ออกมาจะยิ่งใหญ่มโหฬารหรือความมีพลัง อย่างวงออร์เคสตราก็ทำไม่ได้ ลักษณะเด่นของวงดนตรีประเภทนี้ก็คือเสียงดนตรีที่แท้จริง สำหรับด้านคุณภาพของการเล่นนั้นผู้เล่นต้องใช้ความสามารถอย่างเต็มที่ผู้ใดเล่นผิดพลาดจะได้ยินอย่างเด่นชัด ความถูกต้องความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของดนตรีประเภทนี้ การฟังเพื่อให้ได้รสชาติที่สมบูรณ์ของแชมเบอร์มิวสิคนั้นไม่ได้อยู่แต่เพียงความตั้งอกตั้งใจฟังอย่างไตร่ตรอง แต่ยังต้องอาศัยบรรยากาศที่เอื้อต่อการฟังอีกด้วย

          คีตกวีเกือบทุกคนจะมีผลงานแต่งเพลงแบบวงแชมเบอร์ ซึ่งการผสมวงดนตรีก็อาจแตกต่างกันออกไป ตามความนิยม ในปัจจุบันเรามักพบเห็นการแสดงดนตรีแบบแชมเบอร์ตามงานต่างๆ เช่น งานแต่งงานหรืองานเลี้ยงสังสรรค์ ซึ่งนิยมบรรเลงเพลงที่ฟังสบายๆ ทั้งเพลงคลาสสิกและเพลงตามสมัยนิยม มีตั้งแต่กลุ่มละ 2 คน ไปจนถึง 9 คน แต่ละกลุ่มมีชื่อเรียกเฉพาะแตกต่างกันตามจำนวนผู้บรรเลงดังนี้

วงแชมเบอร์มิวสิค (Chamber Music)



1.1 กลุ่มละ 2 คน เรียกว่า ดูเอต (Duet) หรือ ดูโอ (Duo) มีผู้แสดงจำนวน 2 คน เช่น ผู้เล่นไวโอลิน 1 คน ผู้เล่นเปียโน 1 คน



1.2 กลุ่มละ 3 คน เรียกว่า ทรีโอ (trio) มีผู้แสดงจำนวน 3 คน เช่น ผู้เล่นไวโอลิน 1 คน ฟลู้ต 1 คน ฮาร์พ 1 คน





1.3 กลุ่มละ 4 คน เรียกว่า ควอเต็ต (quartet) มีผู้แสดงจำนวน 4 คน เช่น เครื่องสาย 4 ชิ้น คือผู้เล่นไวโอลิน 2 คน วิโอลา 1 คน และ เชลโล 1 คน





1.4 กลุ่มละ 5 คน เรียกว่า ควินเต็ต (quintet) มีผู้แสดงจำนวน 5 คน เช่น วงเครื่องเป่าทองเหลือง 5 ชิ้น คือ ผู้เล่นทรัมเป็ต 2 คน ฮอร์น 1 คน ทรอมโบน 1 คน ทูบา 1 คน





1.5 กลุ่มละ 6 คน เรียกว่า เซ็กเต็ต (sextet) มีผู้แสดงจำนวน 6 คน เช่น ผู้เล่นทรัมเป็ต 2 คน เฟรนช์ฮอร์น 1 คน ทูบา 1 คน ยูโฟนเนียม 1 คน ทรอมโบน 1 คน





1.6 กลุ่มละ 7 คน เรียกว่า เซ็ปเต็ต (septet) มีผู้แสดงจำนวน 7 คน เช่น ผู้เล่นไวโอลิน 2 คน เฟรนช์ฮอร์น 1 คน คลาริเน็ต 1 คน บาสซูน 1 คน เชลโล 1 คน และ ดับเบิลเบส 1 คน





1.7 กลุ่มละ 8 คน เรียกว่า อ๊อกเต็ต (octet) มีผู้แสดงจำนวน 8 คน เช่น ผู้เล่นไวโอลิน 4 คน วิโอลา 2 คน เชลโล 2 คน





1.8 กลุ่มละ 9 คน เรียกว่า โนเน็ต (nonet) มีผู้แสดงจำนวน 9 คน ประกอบด้วย ผู้เล่นไวโอลิน วิโอลา ฟลุท โอโบ คลาริเน็ต บาสซูน ฮอร์น เชลโล ดับเบิลเบส รวมเป็น 9 คน





วีดีโอตัวอย่างการบรรเลงวงแชมเบอร์มิวสิค (Chamber Music)




          ในการเรียกชื่อวงแชมเบอร์มิวสิคนั้นยังมีประเพณีในการเรียกอีกอย่างคือเรียกชื่อประเภทของเครื่องดนตรีก่อนแล้วตามด้วยจำนวนเครื่องดนตรีเช่น สตริงควอเต็ต หมายถึงวงแชมเบอร์มิวสิคที่ประกอบด้วย ไวโอลิน 2 คัน, วิโอลาและเชลโล เป็นต้น เครื่องดนตรีที่นำมารวมกันเป็นวงแชมเบอร์มิวสิคนั้น ที่นิยมแพร่หลายนั้นได้แก่ กลุ่มเครื่องสาย ตระกูลไวโอลิน เพราะสุ้มเสียงของเครื่องตระกูลนี้ไม่ว่าจะเป็นไวโอลิน, วิโอลา, และเชลโล ล้วนสามารถกลมกลืนเข้ากันได้เป็นอย่างดี เช่น วงสตริงควอเต็ต ( ไวโอลิน 2 คัน, วิโอลาและเชลโล) ซึ่งถือว่าเป็นวงดนตรีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการผสมวงดนตรีประเภทนี้ควรเป็นเครื่องดนตรีที่อยู่ในตระกูลเดียวกันเพราะสุ้มเสียงที่มีสีสัน (Tone color) เดียวกันอีกทั้งยังไม่มีการแสดงความเด่นข่มสุ้มเสียงอื่น


การบรรเลง วงสตริงควอเต็ต (String Quartet) : แคนอน ในบันไดเสียง ดี เมเจอร์





          การผสมวงที่ใช้เครื่องสายไวโอลิน 2 คัน รวมเรียกว่า "สตริงดูโอ" (String Duo) ในงานของ ลุยส์ ชโปร์ (ค.ศ.1784 - 1859) คีตกวีและนักไวโอลินชาวเยอรมัน และของบาร์ทอค






          ในยุคบาโรคการได้มีการปรับปรุงการจัดวงแชมเบอร์มิวสิคได้รู้จักกันในชื่อว่า "ทริโอโซนาตา" (Trio sonata) โดยโซนาตาชนิดนี้มีผู้บรรเลง 4 คน คือ ผู้บรรเลงเดี่ยว 2 คน และผู้บรรเลงแนวล่างสุดหรือ คอนตินูโอ (Continuo) อีก 2 คน ถึงแม้ว่าจะมีจำนวนผู้บรรเลง 4 คนก็ตามแต่ให้ถือว่ามี 3 แนว คือ สองแนวแรกเป็นแนวของเครื่องดนตรีบรรเลงเดี่ยว และแนวที่สามนั้นเป็นของเครื่องดนตรีคอนตินูโอ เช่น บาโรคทริโอโซนาตา ประกอบด้วย ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ 2, ฮาร์พซิคอร์ดและเชลโล


การบรรเลงวง "ทริโอโซนาตา" (Trio sonata)





          นอกจากนี้ยังมีการผสมวงแบบต่าง ๆ ด้วยเครื่องสายและเปียโน เช่น เปียโนทรีโอ ( เปียโน, ไวโอลินและเชลโล)






          ปัจจุบันในประเทศไทยเราก็ได้มีการพัฒนาวงดนตรีประเภทแชมเบอร์มิวสิคขึ้นมาเช่นกันโดยการนำเอาเครื่องดนตรีตระกูลแซ็กโซโฟน ( โซปราโน, อัลโต, เทเนอร์และบาริโทนแซ็กโซโฟน) มารวมกันเป็น "วงบางกอกแซ็กโซโฟนควอเต็ต" โดย รองศาสตราจารย์ ดร. สุกรี เจริญสุข และสมาชิก ตั้งแต่ปี พ. ศ. 2532




          การผสมวงที่ใช้เครื่องลมบางชนิดรวมกัน เช่น โอโบ 2, คลาริเนท 2 , บาสซูน 2 และ แตรเฟรนช์ฮอร์น 2 รวมเรียกว่า "วินด์อ๊อคเต็ต" (Wind Octet)



          นอกจากนี้ยังมีคำว่า "อองซองค์เบิล" (Ensemble) เป็นภาษฝรั่งเศส ซึ่งมีความหมายว่า "ด้วยกัน" เป็นลักษณะของการบรรเลงดนตรีจากผู้เล่นหลาย ๆ คนมีจำนวนผู้เล่นไม่เกิน 20 คน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจในการแสดงของทุกคนรวมถึงความสามารถของนักดนตรีแต่ละคน


วิดีโอตัวอย่าง การบรรเลงประเภทวง "อองซองค์เบิล" (Ensemble)





          ในกรณีที่กลุ่มนักดนตรีไม่ว่าชนิดที่มีเฉพาะผู้เล่นเครื่องสายล้วนๆ และมีผู้เล่นเครื่องลมผสมอยู่บ้างแต่รวมแล้วไม่เกิน 30 คน โดยสัดส่วนของวงเช่นเดียวกับวงออร์เคสตรา กลุ่มนักดนตรีนี้ก็จะเรียกว่า "วงแชมเบอร์ ออร์เคสตรา" (Chamber Orchestra)



วิดีโอตัวอย่าง การบรรเลงประเภทวง "อองซองค์เบิล" (Ensemble)





          ลักษณะการผสมวงแบบแชมเบอร์มิวสิคนี้หากนักดนตรีที่มารวมกันนั้นเป็นนักศึกษามาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ กัน อาจเป็นการรวมวงระหว่างอาจารย์หรือนักศึกษาที่มีความสามารถทางดนตรีเป็นเยี่ยม เรามักจะเรียกการรวมวงประเภทนี้ว่า "โปรมิวสิคกา ออร์เคสตรา" (Promusica Orchestra)





ที่มา : โรงเรียนคูซอดประชาสรรค์


ประเภทวงดนตรีสากล


          วงดนตรีแต่ละประเภทมีลักษณะการผสมวงที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่มนุษย์ได้คิดค้นวงดนตรีนั้นๆ ขึ้นมาใช้งานและหน้าที่ของวงดนตรีแต่ละประเภทด้วย การผสมวงดนตรี หมายถึง การนำเครื่องดนตรีแต่ละประเภทหรือชนิดต่างๆ มาบรรเลงร่วมกันเพื่อถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกของบทเพลงด้วยเสียงดนตรีไปสู่ผู้ฟัง ตามรูปแบบที่ผู้ประพันธ์เพลงได้กำหนดเอาไว้ นับว่าเป็นศาสตร์ทางดนตรีที่มีประวัติความเป็นมายาวนานไม่น้อยไปกว่าการขับร้อง
          คีตกวีในแต่ละยุคสมัยได้สร้างสรรค์ผลงานสำหรับการบรรเลงด้วยวงดนตรีในรูปแบบต่างๆ ตามความนิยมในแต่ละยุคสมัย เราจะพบเห็นการบรรเลงของนักดนตรีตั้งแต่หนึ่งคนไปจนถึงหนึ่งร้อยคนวงดนตรีสากลที่บรรเลงในปัจจุบัน มีการเรียกชื่อต่างๆ กันออกไปหลายลักษณะ พิจารณาจากรูปแบบการผสมวงด้วยเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ และลักษณะของบทเพลงที่บรรเลง สามารถจำแนกวงดนตรีออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้


1. วงแชมเบอร์มิวสิค (Chamber Music) คลิก

2. วงออร์เคสตรา (Orchestra) คลิก

3. วงป็อปปูล่ามิวสิค (Popular Music) คลิก

4. วงคอมโบ (Combo Band) คลิก

5. วงชาโดว์ (Shadow Band) คลิก

6. วงแจ๊ส (Jazz Band ) คลิก

7. วงโยธวาทิต (Military Band) คลิก

8. แตรวง (Brass Band)

9. วงสตริงคอมโบ (String Combo ) คลิก

10. วงดนตรีพื้นบ้าน(Folk Band) คลิก

11. วงแตรวงชาวบ้าน คลิก


          (1)วงดนตรีสากลที่นิยมบรรเลงกัน มีการผสมวงอยู่หลายลักษณะ ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ วงแชมเบอร์ วงออร์เคสตรา วงคอมโบ และวงสตริงคอมโบซึ่งวงแต่ละประเภทก็จะมีการแบ่งแยกย่อยลงไปอีกตามลักษณะของเครื่องดนตรีที่นำเข้ามาใช้และจำนวนนักดนตรีที่ร่วมบรรเลง รวมไปถึงบทเพลงที่ใช้บรรเลงด้วย
          สำหรับวงดนตรีออร์เคสตรา ซึ่งเป็นวงดนตรีขนาดใหญ่มีนักดนตรีจำนวนมาก เครื่องดนตรีมีหลายชนิด จำเป็นจะต้องมีวาทยกรหรือคอนดักเตอร์ทำหน้าที่ควบคุมวง เพื่อให้การบรรเลงดนตรีดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
          นอกจากการเรียนรู้ประเภทวงดนตรีสากลแล้ว วงดนตรีพื้นบ้านที่สำคัญๆ ของโลกก็เป็นแนวดนตรีอีกแนวหนึ่งที่เราจำเป็นต้องศึกษา ทั้งนี้เพื่อจะได้มีความรู้ความเข้าใจลักษณะของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรมได้ดียิ่งขึ้น


ประเภทวงดนตรีสากล





ที่มา : (1)http://krutri.samroiwit.ac.th/band.html


วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

5. เครื่องกระทบ (Percussion Instruments)




          เครื่องกระทบ (Percussion instruments) เป็นการจัดประเภทเครื่องดนตรีสากล เครื่องดนตรีประเภทเครื่องกระทบนั้นหมายถึง เครื่องดนตรีที่เกิดเสียงดังขึ้นจากการตี กระทบการสั่น การเขย่า หรือ การเคาะ การตีอาจใช้ไม้ตีหรือใช้สิ่งหนึ่งกระทบเข้ากับอีกสิ่งหนึ่งเพื่อทำให้เกิดเสียง เครื่องประเภทนี้มักประกอบขึ้นด้วยวัสดุของแข็งหลายชนิด เช่น โลหะ ไม้ หรือ แผ่นหนังขึงตึง เครื่องประกอบจังหวะอาจมีชื่อเรียกเป็นคำอื่น เช่น เครื่องตี เครื่องประกอบจังหวะ เป็นต้น


เครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องกระทบ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

          เครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงแน่นอน (Definite Pitch Instruments) เครื่องดนตรีกลุ่มนี้มีระดับเสียงสูงต่ำเหมือนกับเครื่องดนตรีประเภทอื่น เกิดเสียงโดยการตีกระทบ ส่วนใหญ่ตีกระทบเป็นทำนองเพลงได้ เช่น มาริมบา ไซโลโฟน ไวบราโฟน ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับระนาดของไทย และกลองทิมปานี


1. กล็อคเคนสปิล (Glockenspiel)     คลิก
2. ไซโลโฟน (Xylophone)     คลิก
3. ไวบราโฟน (Vibraphone)     คลิก
4. มาริมบา (Marimba)     คลิก
5. ระฆังราว (Tubular Bells)     คลิก



          เครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงไม่แน่นอน (Indefinite Pitch Instruments) เครื่องดนตรีกลุ่มนี้ไม่มีระดับเสียงที่แน่นอน หน้าที่สำคัญคือ ใช้เป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ เกิดเสียงโดยการตี สั่น เขย่า เคาะ หรือขูด เช่น คาบาซา กิ๋ง ฉาบ แทมโบริน คาวเบลล์ มาราคาส และกลองชนิดต่างๆ


1. คาสทาเน็ตหรือกรับสเปน (Castanets)     คลิก
2. มาราคาส (Maracas)     คลิก
3. ไทรแองเกิล หรือ กิ๋ง (Triangle)     คลิก
4. ฉาบ (Cymbal)     คลิก
5. บองโก (Bongo)     คลิก
6. คองกา (Conga)     คลิก
7. คาบาซา (Cabasa)     คลิก
8. คาวเบลล์ (Cowbell)     คลิก
9. กลองชุด (Drum Set or Drum Kit)     คลิก
10. แทมบูริน (Tambourine)     คลิก
11. กลองทิมปานี (Timpani ) หรือ เคทเทิลดรัม (Kettle Drums)      คลิก
12. กลองใหญ่ (Bass Drum)     คลิก
13. สแนร์ดรัม (Snare Drum or Side Drum)     คลิก





4. เครื่องลิ่มนิ้ว (Keyboard Instruments)




          เครื่องดนตรีในยุคนี้ มักนิยมเรียกทับศัพท์ในภาษาอังกฤษว่า “เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ด” ลักษณะเด่นของเครื่องดนตรีที่อยู่ในกลุ่มนี้ก็คือ มีลิ่มนิ้วสำหรับกด เพื่อเปลี่ยนระดับเสียงดนตรี ลิ่มนิ้วสำหรับกดนั้นนิยมเรียกว่า “คีย์” (Key) เครื่องดนตรีแต่ละชนิดมีจำนวนคีย์ไม่เท่ากัน โดยปกติสีของคีย์เป็นขาวหรือดำ คีย์สีดำโผล่ขึ้นมากกว่าคีย์สีขาว

          การเกิดเสียงของเครื่องดนตรีในกลุ่มนี้มีหลายลักษณะ เปียโน ฮาร์ปซิคอร์ด คลาวิคอร์ด เกิดเสียง โดยการกดคีย์ที่ต้องการ แล้วคีย์นั้นจะส่งแรงไปที่กลไกต่างๆ ภายในเครื่องเพื่อที่จะทำให้สายโลหะที่ขึงตึงสั่นสะเทือน ทำให้เกิดเสียงให้ดังขึ้น เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดบางชนิดให้ลมผ่านไปยังลิ้นโลหะให้สั่นสะเทือน ทำให้เกิดเสียงดังขึ้น เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดบางชนิดให้ลมผ่านไปยังลิ้นโลหะให้สั่นสะเทือนทำให้เกิดเสียง ในปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้วจะมีบางเป็นบางโอกาส เช่น ออร์แกนลม แอ็คคอร์เดียน สำหรับเมโลเดียน และเมโลดิกา ที่นำมาใช้เป็นอุปกรณ์การสอนดนตรี ในโรงเรียนระดับอนุบาล จนถึงระดับประถมศึกษาก็จัดอยู่ในเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดด้วยเช่นกัน

          ในปัจจุบัน เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดที่เกิดเสียงโดยใช้วงจรอิเล็คทรอนิกส์ ไดรับความนิยมมาก เพราะสามารถเลียนแบบเสียงเครื่องดนตรีต่างๆ ได้หลายชนิด ซึ่งได้พัฒนามาจากออร์แกนไฟฟ้านั่นเอง มีชื่อเรียกหลายชื่อ แต่ละชื่อมีลักษณะแตกต่างกันออกไป เช่น เครื่องสตริง (String Machine) คือ เครื่องประเภทคีย์บอร์ด ทีเลียนเสียงเครื่องดนตรีในตระกูลไวโอลินทุกชนิด อิเล็คโทน คือ เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดที่มีจังหวะในตัว สามารถบรรเลงเพลงต่างๆ ได้ด้วยนักดนตรีเพียงคนเดียว

          ในยุคของคอมพิวเตอร์ เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดได้วิวัฒนาการไปมาก เสียงต่างๆ มีมากขึ้น นอกจากเสียงดนตรีแล้วยังมีเสียงเอฟเฟ็คต์ (Effect) ต่างๆ ให้เลือกใช้มาก เสียงต่างๆ เหล่านี้เป็นเสียงที่สังเคราะห์ขึ้นมาด้วยระบบ อิเล็คทรอนิกส์ ดังนั้นเครื่องดนตรีประเภทนี้จึงถูกเรียกว่า “ซินธีไซเซอร์” (Synthesizer)


เครื่องดนตรีที่จัดอยู่ในกลุ่มเครื่องลิ่มนิ้ว ได้แก่

1. เปียโน (Piano) คลิก
2. ออร์แกน (Organ) คลิก
3. ฮาร์พซิคอร์ด (Harpsichord) คลิก
4. คลาวิคอร์ด (Clavichord) คลิก
5. แอคคอร์เดียน (Accordion) คลิก
6. อิเล็คโทน (Electone) คลิก
7. ซินเธไซเซอร์ (Synthesizer) คลิก
8. เมโลเดียน หรือ เมโลดิกา (Melodion or Melodica) คลิก




3. เครื่องลมทองเหลือง (Brass Instruments)




          เครื่องดนตรีประเภทนี้มักทำด้วยโลหะผสมหรือโลหะทองเหลือง เสียงของเครื่องดนตรีประเภทนี้เกิดจากการเป่าผ่านท่อโลหะ ความสั้นยาวของท่อโลหะทำให้ระดับเสียงเปลี่ยนไป การเปลี่ยนความสั้นยาวของท่อโลหะจะใช้ลูกสูบเป็นตัวบังคับ โดยทั่วไปมีเครื่องละ 3 ลูกสูบ เช่น คอร์เนต ทรัมเป็ท ฟลูเกิลฮอร์น เป็นต้น เครื่องดนตรีประเภทนี้มี 4 ลูกสูบก็ได้ เครื่องลมทองเหลืองชนิดที่มี 4 ลูกสูบ จะสามารถทำเสียงได้มากกว่าชนิดที่มี 3 ลูกสูบ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นระดับเสียงที่ต่ำกว่าปกติ เช่น ทูบา ยูโฟเนียม เป็นต้น

          เครื่องดนตรีบางชนิดจะใช้การชักท่อลมเข้าออก เปลี่ยนความสั้นยาวของท่อตามความต้องการ เช่น ทรอมโบน ลักษณะเด่นของเครื่องดนตรีประเภทนี้ มีปากลำโพงสำหรับใช้ขยายเสียงให้มีความดังเจิดจ้า เรามักเรียกเครื่องดนตรีประเภทนี้รวมๆ กันว่า “แตร” ขนาดของปากลำโพงขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องดนตรี ปากเป่าของเครื่องดนตรีประเภทนี้เรียกว่า “กำพวด” (Mouthpiece) ทำด้วยท่อโลหะ ทรงกรวย ด้านปากเป่ามีลักษณะบานออก คล้ายรูปกรวย มีขนาดต่างๆ กัน ตามขนาดของเครื่องดนตรีนั้นๆ ปลายท่ออีกด้านหนึ่งของกำพวด ต่อเข้ากับท่อลมของเครื่องดนตรี


1. คอร์เน็ต (Cornet)     คลิก
2. ทรัมเป็ต (Trumpet)     คลิก
3. บิวเกิล (Bugle)     คลิก
4. ฟลูเกิลฮอร์น (Flugelhorn)     คลิก
5. เฟรนช์ฮอร์น (Frenchhorn)     คลิก
6. ทรอมโบน (Trombone)     คลิก
7. บาริโทน (Baritone)     คลิก
8. ยูโฟเนียม (Euphonium)     คลิก
9. ทูบา (Tuba)     คลิก
10. ซูซาโฟน (Sousaphone)     คลิก




2. เครื่องลมไม้ (Woodwind Instruments)




         เครื่องเป่าลมไม้ (Woodwind Instruments)เป็นการจัดประเภทเครื่องดนตรีสากล โดยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าลมไม้นี้ แม้ตัวของเครื่องดนตรี อาจทำจากวัสดุต่างๆ มากมาย แต่ส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดเสียง คือ ลิ้น (Reed) ซึ่งทำมาจากไม้ จึงได้ชื่อว่า เครื่องเป่าลมไม้นั่นเอง

         เครื่องดนตรีประเภทนี้ เกิดเสียงโดยการเป่าลมผ่านช่องแคบๆ ให้เข้าไปภายในท่อ ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวขยายเสียงให้ดังขึ้น คุณลักษณะของเสียงที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกัน ตามขนาดของท่อ ความสั้นยาวของท่อ และความแรงของลมที่เป่าเข้าไปภายในท่อ เครื่องลมไม้บางชนิด เสียงคล้ายขลุ่ยไทย เช่น ฟลุ้ท ปิคโคโล ซึ่งไม่มีลิ้น เกิดเสียงโดยเป่าลมผ่านเข้าไปทางด้านข้างตามแนวนอนของเครื่อง เครื่องลมไม้บางชนิด เสียงคล้ายปี่ เกิดเสียงโดยเป่าลมผ่านลิ้น ซึ่งมีทั้งลิ้นคู่ เช่น บาสซูน โอโบ และลิ้นเดี่ยว เช่น คลาริเนต แซ็กโซโฟน เป็นต้น

         เครื่องดนตรีแต่ละชนิดยังมีขนาดต่างๆ กันออกไป เครื่องดนตรีขนาดเล็กจะให้ระดับเสียงสูง เครื่องดนตรีขนาดใหญ่จะให้เสียงต่ำ ผู้บรรเลงจะต้องเลือกใช้เครื่องดนตรีให้เหมาะสมกับบทเพลง ตามที่ผู้ประพันธ์เพลงได้กำหนดไว้


ประเภทเครื่องเป่าลมไม้
เครื่องเป่าลมไม้แบ่งได้อย่างกว้างๆ เป็น 2 ประเภท คือ

         ประเภทเป่าลมเข้าไปในรูเป่า (Blowing into a tube) หรือ เครื่องเป่าลมไม้ประเภทขลุ่ย ลำตัวมีลักษณะเป็นท่อ แบ่งตามลักษณะของการเป่าได้ 2 ประเภทคือ ประเภทเป่าตรงปลาย เช่น ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ และประเภทเป่าลมเข้าทางด้านข้าง เช่น ฟลูต และปิคโคโล

1. รีคอร์เดอร์ (Recorder) คลิก
2. ปิคโคโล (Piccolo) คลิก
3. ฟลุต (Flute) คลิก


         ประเภทเป่าลมให้ผ่านลิ้นของเครื่องดนตรี (Blowing through a reed) หรือ เครื่องเป่าลมไม้ประเภทปี่ ส่วนประกอบที่สำคัญคือมีลิ้น (Reed) เป็นตัวสั่นสะเทือน ส่วนที่เป็นลิ้นจะอยู่ตรงปลายด้านหนึ่งของปี่ เมื่อเป่าลมผ่านลิ้นให้เกิดการสั่นสะเทือน ลมจะเข้าไปในท่อซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวขยายเสียงหรือตัวกำทอน แล้วออกไปยังปากลำโพง เครื่องดนตรีพวกปี่ยังจำแนกออกได้ตามลักษณะของลิ้นที่ใช้ เป็นประเภทลิ้นคู่ (Double reed) และลิ้นเดี่ยว (Single reed)


ประเภทลิ้นเดียว (Single Reed)

1. คลาริเน็ต (Clarinet) คลิก
2. แซ็กโซโฟน (Saxophone) คลิก


ประเภทลิ้นคู่ (Double reed)

1. โอโบ (Oboe) คลิก
2. คอร์ แองเกลส์ หรืออิงลิชฮอร์น (Cor Anglais or English horn) คลิก
3. บาสซูน (Bassoon) คลิก




1. เครื่องสาย (String Instruments)




          เครื่องสาย (String Instruments) เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายเกิดเสียงโดยการทำให้สายสั่นสะเทือน มีทั้งการดีดและสี เครื่องดนตรีที่บรรเลงโดยการดีดส่วนใหญ่ (ยกเว้นฮาร์พ) จัดอยู่ในตระกูลลูท (Lute Family) ซึ่งต่อมามีวิวัฒนาการเป็นเครื่องดนตรีที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เช่น ลูท (Lute) ไลร์ (Lyre) เป็นเครื่องดนตรีโบราณ ที่นิยมใช้ในปัจุบันได้แก่ กีต้าร์ (Guitar) แบนโจ (Banjo) แมนโดลิน (Mandolin) และฮาร์พ (Harp) ส่วนเครื่องดนตรีในตระกูลไวโอลิน (Violin Family) เช่น ไวโอลิน (Violin) วิโอลา (Viola) เชลโล (Cello) และดับเบิลเบส (Boudble Bass) มีวิวัฒนาการมาจากเครื่องดนตรีตระกูลไวโอลส์ (Viol Family) โดยได้เปลี่ยนแปลงขนาดและรูปร่างเรื่อยมาเป็นเวลาหนึ่งศตวรรษ จนกระทั่งมีขนาดและรูปร่างดังที่เห็นในปัจจุบัน เกิดเสียงโดยการกดนิ้วลงที่ตำแหน่งต่างๆ บนสะพานนิ้ว (Finger Board) มีทั่งการดีด และการสีโดยใช้คันชัก คันชักทำด้วยขนหางม้าทาด้วยยางสนเพื่อทำให้เกิดความฝืด เครื่องดนตรีประเภทนี้ทำให้เสียงเบาโดยการใช้มิวท์ (Mute) เสียบไว้ที่หย่องหรือส่วนล่างของสาย การนับจำนวนสาย นับจากสายที่เล็กสุดเป็นสายที่ 1 เรียงลำดับกันไปหาสายใหญ่

          เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย สายของเครื่องดนตรีประเภทนี้มีทั้งสายที่ทำมาจากเส้นลวด เส้นเอ็น เส้นไหม ไนล่อน หรือโลหะอย่างใดอย่างหนึ่ง นำมาขึงให้ตึง ความดังของเสียงขึ้นอยู่กับรูปร่าง และวัสดุที่นำมาใช้ทำกะโหลกเครื่องดนตรี กะโหลกเครื่องดนตรีทำหน้าที่เป็นตัวขยายเสียงที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของสาย เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายที่นำมาใช้ในการประสมวงดนตรีมีดังนี้


1. ไวโอลิน (Violin) คลิก
2. วิโอลา (Viola) คลิก
3. เชลโล (Cello) คลิก
4. ดับเบิลเบส (Double Bass) คลิก
5. ฮาร์พ (Harp) คลิก
6. ไลร์ (Lyre) คลิก
7. ลูท (Lute) คลิก
8. แบนโจ (Banjo) คลิก
9. กีตาร์ (Guitar) คลิก
10. แมนโดลิน (Mandolin) คลิก



ประเภทเครื่องดนตรีสากล




       คุณลักษณะของเสียงที่เกิดจากเครื่องดนตรีแต่ละชนิด ย่อมแตกต่างกันด้วยองค์ประกอบหลายประการ เครื่องดนตรีแต่ละชนิดมีบทบาทหน้าที่แตกต่างกันไป การเรียนรู้ให้เข้าใจเรื่องเครื่องดนตรีแต่ละชนิดจะทำให้สามารถจำแนกเครื่องดนตรีได้ถูกต้อง และเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดที่นำไปประสมวงเป็นวงดนตรีประเภทต่างๆ

       เมื่อดนตรีของชาติตะวันตกที่คิดค้นมาจากทวีปยุโรป และอเมริกา ได้รับการยอมรับมีการนำไปใช้กันอย่างแพร่หลาย ดนตรีตะวันตกจึงกลายเป็นดนตรี ของคนทุกชาติทุกภาษา ถือได้ว่า เป็นของสากล จึงเกิดคำว่า “ดนตรีสากล” เครื่องดนตรีตะวันตกก็เช่นเดียวกัน เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ชาติตะวันตกได้คิดค้นขึ้นมา เครื่องดนตรีมีอยู่หลายแบบแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม ความนิยมของแต่ละท้องถิ่น แต่ละชนชาติ และมีการนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก เป็นที่ยอมรับของคนทุกชาติ ทุกภาษา ถือว่าเป็นของสากลเช่นกัน จึงเกิดคำว่า “เครื่องดนตรีสากล” ซึ่งหมายถึง เครื่องดนตรีที่ถือกำเนิดมาจากชาติตะวันตกนั่นเอง

       เครื่องดนตรีคือสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อกำเนิดเสียงชนิดต่างๆ ตามที่ต้องการ เสียงของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันออกไป ทำให้เกิดความหลากหลายของเสียง บทเพลงมีสีสัน มีชีวิตชีวา เสริมสร้างอารมณ์จากเสียงของเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ เครื่องดนตรีสากลในปัจจุบันสามารถจำแนกหรือจัดเป็นประเภทใหญ่ๆ ตามลักษณะของเสียงที่คล้ายคลึงกัน และลักษณะของเครื่องดนตรี แบ่งออกเป็น 5 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้


1. เครื่องสาย (String Instruments) คลิก



2. เครื่องลมไม้ (Woodwind Instruments) คลิก



3. เครื่องลมทองเหลือง (Brass Instruments) คลิก



4. เครื่องลิ่มนิ้ว (Keyboard Instruments) คลิก



5. เครื่องกระทบ (Percussion Instruments) คลิก