วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2559

ฮาร์พ (Harp)


          ฮาร์พ คือเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายของดนตรีตะวันตก เรียกอีกอย่างว่า “พิณ” มีเสียงเกิดขึ้นจากการใช้นิ้วดีดสาย เสียงของเครื่องดนตรีนี้ปกติแล้วมี 47 สาย และที่เหยียบเพดดัล 7 อัน เพดดัลแต่ละอันจะควบคุมสายเสียงแต่ละชุด เช่น เพดดัล อันหนึ่งจะเหยียบเมื่อบังคับสายเสียง C ทั้งหมดทุกช่วงเสียง ให้เป็นแฟล็ท (Flat) ชาร์ป (Sharp) หรือเนเจอร์รัล (Natural) ตามความต้องการของผู้บรรเลง ฮาร์พเป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ชนิดหนึ่งที่มีการกล่าวถึงตั้งแต่ราว 3,000 ก่อนคริสตกาล ที่มาของเครื่องดนตรีชิ้นนี้ น่าจะมาจากประเทศไอยคุปต์ เพราะตามภาพฝาผนังใต้สุสานของประเทศไอยคุปต์ที่เห็นจะมีรูปคนดีดพิณชนิดนี้อยู่มาก




ฮาร์พ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

          1) ฮาร์พขนาดใหญ่ที่มีคันเหยียบ (pedal harp) มี 47 สาย เรียกกันง่ายๆ ว่า แกรนด์คอนเสิร์ตฮาร์พ (Grand Concert Harp) มีขนาดลดหลั่นกันไป เช่น Semi grand และ salon วงดุริยางค์ซิมโพนีที่มีมาตรฐานจะใช้ฮาร์พขนาด Grand Concert 47 สาย เท่านั้น
          2) ลีเวอร์ฮาร์พ (Lever Harp) ฮาร์พที่ใช้ไกเปลี่ยนเสียงจะมีขนาดต่างๆ กันเช่นเดียวกัน มี 36 สาย ซึ่งบางรุ่นอาจใช้บรรเลงเทียบเท่าฮาร์พชนิดคันเหยียบ


ลีเวอร์ฮาร์พ (Lever Harp)



เจ้าฟ้านักฮาร์พ

          นักฮาร์พคนแรกของประเทศไทย คือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพชรบูรณ์ อินทราชัย (พระราชโอรสองค์ที่ 72 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระราชโอรสองค์ที่ 8 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง) เป็นศิลปินไทย พระองค์แรกที่ทรงเรียนเล่นพิณฝรั่งหรือฮาร์พ และได้นำฮาร์พเครื่องหนึ่ง กลับมาทรงที่เมืองไทยในฐานะเป็นเครื่องดนตรีชิ้นโปรดด้วย


สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก
กรมขุนเพชรบูรณ์ อินทราชัย


          ฮาร์พตัวนี้ ทำโดยตระกูลมอร์ลี ช่างฮาร์พหลวง (ในอดีต) ของอังกฤษ ท่านทรงซื้อเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๕๙ และหลังจากสิ้นพระชนม์แล้ว ฮาร์พตัวนี้ถูกทอดทิ้งอยู่ในวังเพชรบูรณ์โดยไม่มีคนเล่น ครั้นมีการชะลอ ตำหนักประถมมาอยู่ที่นนทบุรี ฮาร์พตัวนี้ได้ตามมาด้วย
          เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๓ ทายาทส่งฮาร์พนี้ไปบูรณะที่โรงงานดั้งเดิมที่อังกฤษ เพื่ออนุรักษ์ไว้เป็นฮาร์พประวัติศาสตร์ เป็นฮาร์พตัวแรกของประเทศไทย


ฮาร์พโรงเรียนสารสาสน์วิเทศบางบอน

          โรงเรียนสารสาสน์วิเทศบางบอน โดยการสนับสนุนของท่านผู้อำนวยการ สยมพร ทองเนื้อดี ที่มีแนวนโยบายในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพกิจกรรม ด้านดนตรี




          ฮาร์พจัดเป็นเครื่องดนตรีที่มีเสน่ห์ ในท่วงทำนองที่ไพเราะ ประกอบด้วย ความสง่างามของผู้เล่น สามารถเล่นได้ทั้งประเภทเดี่ยว ประเภทกลุ่มและ การรวมกับวงออร์เคสตราประกอบกับ โรงเรียนสารสาสน์วิเทศบางบอน ได้เล็งเห็น คุณค่าของเครื่องดนตรีชนิดนี้ จึงได้เปิด การเรียนการสอนวิชาฮาร์พขึ้น โดยได้รับ ความร่วมมือจากศูนย์ฮาร์พ ตำหนักประถม ซึ่งถือได้ว่าเป็นโรงเรียนเอกชนแห่งแรก ในประเทศไทย ที่จัดการเรียนการสอน วิชาฮาร์พในหลักสูตรดนตรี





Elinor Bennett


Elinor Bennett
นักเล่นฮาร์พระดับโลก มาแสดงที่โรงเรียนสารสาสน์วิเทศบางบอน



ประวัติ Elinor Bennett

          Elinor Bennett เป็นนักฮาร์พคนหนึ่งที่มีชื่อเสียงแห่งแคว้นเวลส์ เป็นทั้งครูฮาร์พ ผู้แทนทูตทางดนตรีของเวลส์ ขณะนี้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการแผนกดนตรีฮาร์พแห่งมหาวิทยาลัยเวลส์ และเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งวิทยาลัฮาร์พแห่งเวลส์ ศูนย์William Mathias มิวสิคเซ็นเตอร์ในเมือง Caernafon และเป็นอาจารย์ ฮาร์พที่ Royal Academy of Music ที่ลอนดอน
          Elinor ศึกษาฮาร์พเมื่ออายุ 11 ปี แต่สำเร็จการศึกษาด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัย Aberystwyth แห่งเวลส์ ก่อนที่จะได้รับทุนศึกษาต่อเกี่ยวกับฮาร์พที่ Royal Academy of Music กับ Osian Ellis Elinor ได้ร่วมเล่นกับวงออเครสต้า ของสหราชอาณาจักร และร่วมแสดงเดี่ยวฮาร์พในคอนเสิร์ตใหญ่ทั่วโลก ในปี 1985 Elinor ได้รับรางวัลมิตรภาพ จากประเทศออสเตรเลีย เพื่อศึกษาต่อและพัฒนาดนตรีบำบัดเมื่อเธอกลับมาได้เป็นผู้ริเริ่มดนตรีบำบัดของแคว้นเวลส์
          Elinor ได้จัดหลักสูตรต่างๆ จัดสัมมนา รวมถึงจัดงานเทศกาลดนตรีต่างๆ ทั่วแคว้นเวลส์และสหราชอาณาจักร อีกทั้งยังมีผลงานการแสดงดนตรี การเล่นเพลง ที่เป็นที่รู้จักมากมาย และมีนักฮาร์พจากทั่วโลกได้มาเรียนกับเธอด้วย
          จากการเป็นอัจฉริยะด้านเครื่องดนตรีประเภทฮาร์พ ทำให้มีนักประพันธ์ร่วมสมัย Karl Jenkins ประพันธ์เพลงพิเศษให้กับ Elinor ล่าสุดคือบทเพลง “Double Concerto” ซึ่งสนับสนุนโดยเจ้าชายแห่งเวลส์ และได้แสดงรอบปฐมทัศน์กับนักฮาร์พลูกศิษย์ดาวรุ่ง Catrin Finch







ที่มาภาพและบทความ : โรงเรียนสารสาสน์วิเทศบางบอน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น