วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

8. วงสตริงคอมโบ (String Combo)


          วงสตริงคอมโบ เป็นวงดนตรีเครื่องสายอย่างตะวันตกขนาดเล็ก เกิดใหม่จากการดัดแปลงและรวมวงวงคอมโบเข้ากับวงชาโดว์ บทเพลงที่บรรเลงส่วนใหญ่ยังคงเป็นเพลงในแนวดนตรีร็อคเหมือนเดิม เครื่องดนตรีที่นำมาใช้ในการประสมวง ประกอบด้วย กีต้าร์ไฟฟ้า 2 เครื่อง กีต้าร์เบส 1 เครื่องคีย์บอร์ด (เปียโน เปียโนไฟฟ้า ซินธีไซเซอร์) 1 เครื่อง กลองชุด 1 ชุด กีต้าร์เป็นเครื่องดนตรีที่มีบทบาทในการบรรเลงมาก ทำหน้าที่บรรเลงทำนองสอดแทรกต่างๆ ทำนองในตอนขึ้นต้นบทเพลง ทำนองล้อรับเสียงขับร้อง โซโล และทำนองท่อนลงจบ กีต้าร์ที่ทำหน้าที่ต่างๆ เหล่านี้เรียกว่า ลีดกีต้าร์ (Guitar Lead) หรือ โซโลกีต้าร์ (Guitar Solo) ส่วนกีต้าร์ที่เหลืออีก 1 เครื่อง จะทำหน้าที่ดีดคอร์ด ประกอบบทเพลงด้วยลีลาต่างๆ เรียกว่า ริธึ่มกีต้าร์ (Guitar Rhythm) วงสตริงคอมโบบางวงอาจจะเพิ่มกลุ่มของนักดนตรีประเภทเครื่องเป่าเข้าไปด้วย ประมาณ 1- 3 คน เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าที่นิยมนำมาประสมวง ได้แก่ ทรัมเป็ท ทรอมโบน และแซ็กโซโฟน


ประวัติวงสตริงฝั่งตะวันตก

          วงสตริงฝั่งตะวันตกแบ่งวิวัฒนาการออกได้เป็น 2 สมัย สมัยแรกคือดนตรีต้นตำรับตั้งแต่ร็อกยังไม่เกิด ได้แก่ บลูส์ คันทรี่ และโฟล์ก สมัยที่สองเป็นร็อกยุคแรกอันเป็นต้นฉบับให้กับร็อกรุ่นหลังถึงปัจจุบัน บรรพบุรุษร็อกนี้เรียกว่าคลาสสิก ร็อก ป็อป R&B


ประวัติวงสตริงของไทย

          วงการดนตรีไทยมีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับเนื่องจากอิทธิพลของดนตรีตะวันตกที่หลั่งไหลเข้ามาโดนใจวัยโจ๋ในสมัยนั้นไม่ขาดสายได้แก่วง เดอะบิทเทิล เดอะชาโดของคลิฟฟ์ ริชาร์ด เอลวิส เพรสลีย์ ฯลฯ แทบทุกวงดนตรีมากับกีตาร์ 3 ตัว กลองชุด พร้อมๆ กันนั้นวงดนตรีของไทยก็เริ่มหันมาเล่นเพลงสากลได้รับความนิยมไม่น้อยเหมือนกัน เมื่อสหรัฐอเมริกามาตั้งฐานทัพในประเทศไทยสมัยสงครามเวียดนาม เพลงสากลได้รับความนิยมไม่น้อยเช่นกัน วงดนตรีของไทยที่เล่นเพลงสากลในสมัยนั้นเช่น วงซิลเวอแซนด์ วงรอแยลสไปรท์ ฯลฯ ร้องและเล่นตามต้นแบบเป็นส่วนใหญ่

          พ.ศ. 2512 ได้จัดการประกวดวงสตริงคอมโบแห่งประเทศไทยขึ้น โดยมีกติกาการแข่งขันว่า เล่นเพลงสากล 1 เพลง เพลงไทยสากล 1 เพลง เพลงพระราชนิพนธ์ 1 เพลง วงที่ชนะเลิศคือ วงดิอิมพอสซิเบิล ซึ่งเดิมเป็นวงอาชีพเล่นอยู่แถบถนนเพชรบุรีตัดใหม่ในนามวงจอยท์รีแอคชั่นหรือ เจ-ทรี (ฮอลิเดย์ เจ-ทรีตามชื่อสถานบันเทิงที่เล่น) ชื่อดิอิมพอสซิเบิลซึ่งเปลี่ยนก่อนแข่งได้มาจากการ์ตูนในโทรทัศน์ยุคนั้น ดิอิมพอสซิเบิลโด่งดังเหลือหลาย นักดนตรีประกอบด้วย เศรษฐา ศิระฉายา วินัย พันธุรักษ์ อนุสรณ์ พัฒนกุล สิทธิพร อมรพันธ์ และพิชัย คงเนียม ครองรางวัลชนะเลิศ 3 ปีซ้อน

          ประวัติศาสตร์วงการดนตรีไทยต้องบันทึกไว้ในฐานะวงดนตรีประเภทสตริงคอมโบ้วงแรกที่สร้างความรู้สึกเป็นสากลและเป็นวงแรกอีกเช่นกันเปิดทางให้วัยรุ่นฟังเพลงไทยแนวใหม่ ความสำเร็จขั้นสูงสุดทำให้ผู้สร้างภาพยนตร์ตลอดจนผู้ประพันธ์เพลงให้ความสนใจกับวงดนตรีประเภทนี้มากขึ้น เวลาเดียวกันวงดนตรีวงอื่นๆ ได้รับความนิยมตามมาเช่น P.M.5 แฟนตาซี แกรนด์เอ็กซ์ ชาตรี ดิ อินโนเซ้นท์ ฯลฯ จากนั้นเข้าสู่ยุดแฟนฉัน (ชาตรี) ทำให้สตริงคอมโบโด่งดังเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

          การบรรเลงและการโซโล (Solo) ทํานองเพลงนั้นจะใช้เครืองสายเป็นส่วนใหญ่ (กีร์ต้า) เราจึงเรียกกันสั้นๆ ว่า “วงสตริง”



วงดิอิมพอสสิเบิล



วงชาตรี







ที่มา : https://th.wikipedia.org/
ที่มา : http://nuy1.exteen.com/20091104/5-string-combo
ที่มา : http://www.nmt.ac.th/home/art/new_page_1.htm


1 ความคิดเห็น: