วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2559

วิโอลา (Viola)


วิโอล่า (Viola) ซินเดอร์เรลล่าแห่งเครื่องสาย



          เรื่องราวของเครื่องดนตรีชนิดนี้ช่างคล้ายคลึงกับเทพนิยายเรื่องซินเดอเรลล่าเมื่อเทียบกับเครื่องสายในตระกูลเดียวกัน‘ Viola ’ ในภาษาอิตาเลี่ยนหมายถึงซอวิโอล (Viol)
          ในช่วงศตวรรษที่ 16 และต้นศตวรรษที่ 17 มักจะพบเครื่องดนตรีที่ชื่อ da gamba หรือ da braccio ซึ่งแสดงถึงเครื่องสายที่พัฒนามาจากเครื่องดนตรีตระกูลเดียวกัน วิโอล่าก็เช่นเดียวกับไวโอลิน ปรากฎอยู่ในภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังที่วิหาร Saronno Cathedral ซึ่งเขียนขึ้นในปี ค.ศ. 1535 ต่อมาในศตวรรษที่ 16 วิโอล่าได้พัฒนาตัวเองเป็นเครื่องดนตรีเสียง Alto หรือ Tenor ในตระกูลไวโอลิน


โครงสร้างของวิโอล่า

          วิโอล่าจำนวนมากจากยุค Renaissance ตอนปลายและต้นยุค Baroque ที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่ามีการสร้างขึ้นแตกต่างกันหลายขนาด รวมถึงวิโอล่าขนาดเล็กเพื่อให้มีโทนเสียงที่สูงขึ้นเพื่อเล่นในวง Ensemble และวิโอล่าขนาดใหญ่สำหรับเล่นโทนเสียงต่ำ
          วิโอล่าจะตั้งสายต่ำกว่าไวโอลินคือ C-G-D-A ซึ่งเป็นคู่ 5 เช่นเดียวกัน ปัจจุบันวิโอล่าก็ยังคงมีขนาดที่หลากหลายมากที่สุดในบรรดาเครื่องดนตรีใน ตระกูลเดียวกัน เพื่อให้การสะท้อนเสียงสมบูรณ์แบบเช่นเดียวกับไวโอลิน วิโอล่าจำเป็นต้องลดขนาดความยาวลงอีกครั้งหนึ่ง จากภาพเขียนในอดีตจะเห็นว่ามันไม่สามารถวางเล่นบนไหล่ได้ ผลของการประนีประนอมดังกล่าว ทำให้วิโอล่ามีขนาดความยาวอยู่ที่ 38 ถึง 45 ซม. (15-18 นิ้ว) ทำให้บทบาทของวิโอล่าในฐานะที่เป็นเครื่องดนตรีแสดงเดี่ยว ช้ากว่าไวโอลินและเชลโลซึ่งเป็นเครื่องดนตรีในตระกูลเดียวกัน


บทบาทของวิโอล่า

          เเม้ว่าจะมีวิโอล่าจำนวนมากที่ตกทอดมาจากศตวรรษที่ 16 และ 17 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงบทบาทของวิโอล่าในฐานะเครื่องดนตรีที่เป็นส่วนเติมเต็ม ของท่วงทำนองเท่านั้น ความถ่อมตัวดูเหมือนจะเป็นเอกลักษณ์ของเครื่องดนตรีชนิดนี้ วงเครื่องสาย 5 ชิ้นและวิโอล่าอีก 2 คัน ถือเป็นสิ่งแปลกในดนตรีฝรั่งเศสยุคศตวรรษที่ 17 เช่น ผลงานของ Jean-Baptisete Lully หนึ่งในคีตกวีที่หลงใหลในน้ำเสียงของวิโอล่า เเม้ว่าจริงๆ แล้วน้ำเสียงของวิโอล่าไม่สามารถเทียบความสดใสกับไวโอลินได้เลย รวมทั้งไม่สามารถเทียบกับประโยชน์ของเชลโลในการเล่นทำนองเสียงเบสได้เช่น เดียวกัน นักวิโอล่าซึ่งมีจำนวนน้อยอยู่แล้ว แม้แต่นักวิโอล่าที่เชี่ยวชาญก็ถูกมองว่ามีทักษะที่ไม่อาจเทียบกับนัก ไวโอลินได้เลย เป็นเพียงนักดนตรีมือใหม่ที่พึ่งจะเริ่มต้นเท่านั้น ในสำนวนสมัยใหม่ซึ่งเปรียบเทียบวิโอล่าไว้ว่า “นักเป่าฮอร์นที่ไม่มีฟัน”
          นอกจากนั้นภาษาดนตรีชั้นสูงในยุคบาโร้ค ไม่มีที่ว่างสำหรับวิโอล่าในวงโซนาต้าสำหรับเครื่องดนตรี 3 ชิ้น (Trio Sonata) ซึ่งประกอบด้วยเครื่องดนตรีเสียงสูง 2 ชิ้นและเครื่องดนตรีเดินทำนอง (Continuo) อีก 1 ชิ้น หรือในส่วนของงานประพันธ์ออร์เคสตร้า Concerto grosso นิยมใช้กลุ่ม Concertino ที่ประกอบด้วยไวโอลิน 2 คันและเชลโลมากกว่า มีเพียงช่วงปลายๆ ยุคเท่านั้นที่พบว่าคีตกวี เช่น Francesco Geminiani ได้ขยายขอบเขตงานประพันธ์ Concertino โดยเปิดโอกาสให้วิโอล่าได้เเสดงเดี่ยว
          งานประพันธ์ออร์เคสตร้าในช่วงปลายยุคบาโร้คและตอนต้นของยุคคลาสสิค บทบาทของวิโอล่าไม่ได้ถูกละเลยเสียทีเดียว แต่มักจะถูกใช้คู่กับไวโอลินสองในโทนเสียงเดียวกัน แต่โดยทั่วไปแล้วจะใช้เล่นแนวเสียงเบสที่สูงกว่า 1 ขั้นคู่เสียงมากกว่า และคงใช้อยู่จนถึงตอนต้นศตวรรษที่ 19 ซึ่งการเพิ่มวิโอล่าเข้าไปในงานประพันธ์ดนตรีวงออร์เคสตร้า (Tutti) ได้กลายเป็นเรื่องปกติมากๆ ยิ่งกว่านั้น คีตกวีไม่ต้องการที่จะให้ความสำคัญใดๆ กับบทบาทของวิโอล่ามากนัก เช่น ในช่วงท้ายของซิมโฟนีบทที่ 9 (ค.ศ. 1824) ในกระบวนช้า พบว่าบีโธเฟนได้ให้วิโอล่าได้เล่นคู่กับไวโอลินแนวที่สองเพื่อให้มั่นใจว่า จะได้จังหวะที่ช้าและสง่างามตามที่ต้องการเท่านั้น
          ในการซ้อมครั้งแรกของบทเพลงซิมโฟนี่หมายเลข 6 ในบันไดเสียง บี ไมเนอร์ ‘ Pathetique ’ (ค.ศ. 1893) ของไชคอฟสกี้ ลองจินตนาการถึงความประหลาดใจหรือจะเรียกว่าช็อคก็ได้ เมื่อบรรดานักวิโอล่พบว่าพวกเขาต้องเป็นผู้ที่เล่นทำนองหลักในกระบวนแรกด้วย ตัวของพวกเขาเอง




เครื่องดนตรี Viola da Gamba

เครื่องดนตรี Viola da braccio


          อิสระภาพที่เเท้จริงของวิโอล่าเกิดขึ้นในงาน ประพันธ์แชมเบอร์มิวสิค และที่สำคัญที่สุดคือการถือกำเนิดของวงเครื่องสาย 4 ชิ้น (String quartet) เเม้ว่าศักยภาพของการเล่นจะไม่นุ่มนวลเท่าไวโอลินก็ตาม ในงานควอเต็ทหลายๆ ชิ้น เช่น งานยุคแรกๆ ของไฮเดิ้น ซึ่งเป็นคีตกวีที่มีบทบาทมากกว่าคีตกวีคนอื่นๆ ในยุคนั้น เเละดูเหมือนว่าวิโอล่ายังคงตามหลังเชลโลในเรื่องขั้นคู่เสียงและแม้แต่ใน รื่องน้ำเสียง มีเพียงบทเพลงสำหรับวงสติงควอเต็ทโอปุส 33 ปี 1781 ที่วิโอล่ามีบทบาททัดเทียมกับเครื่องดนตรีอื่นๆ เท่านั้นที่ถือว่าประสบความสำเร็จ
          ก้าวต่อไปของวิโอล่าคือบทบาทในงาน ประพันธ์เพลงสำหรับวงเครื่องสาย 5 ชิ้น (String Quintet) ในงานของโมสาร์ท ซึ่งใช้วิโอล่า 2 คัน นักวิโอล่าที่ 1 บรรเลงควบคู่ไปกับนักไวโอลิน แต่ในงานประพันธ์ของโมสาร์ทนั้น วิโอล่ามักจะได้รับบทบาท Concertante เช่นในกระบวนช้าของเพลง C major Quintet (K515) อย่างไรก็ตาม แม้แต่ในงานคีตนิพนธ์ของโมสาร์ทเองก็พบว่ามีผลงานบางชิ้นที่ดัดเเปลงจากงาน ควินเต็ทรวมถึงเปียโนควอเต็ทของเขาด้วย โดยเพิ่มวิโอล่าเข้าไปในบทเพลงซึ่งเป็นที่รู้จักดีอยู่แล้ว เช่น ในคีตนิพนธ์สำหรับเครื่องดนตรี 3 ชิ้นคือ เปียโน ไวโอลิน และเชลโล ซึ่งถือเป็นเรื่องที่เสี่ยงสำหรับเขาพอสมควร เขายังถูกประชดชันอีกว่า บทเพลงทริโอสำหรับเครื่องดนตรีสามชิ้นซึ่งเป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ Kegelstadt (‘ Skittle-ground ’) สำหรับคลาริเน็ต วิโอล่า เเละเปียโน (K498) ประพันธ์ขึ้นในขณะที่กำลังเล่นโบว์ลิ่ง
          เพื่อให้การเล่นในวงดนตรีเเชมเบอร์มิวสิค นักวิโอล่าจำเป็นต้องมีเทคนิคที่หลากหลายมากขึ้นกว่าเครื่องดนตรีชิ้นอื่นๆ ในวง การมีบทบาทที่เทียบเท่ากับไวโอลินหรือเชลโลนั้น วิโอล่าจำเป็นต้องมีเทคนิคที่สูงขึ้น ตัวอย่างเช่น ในศตวรรษที่ 19 เป็นช่วงที่วิโอล่ามีบทบาทมากในงานประพันธ์ต่างๆ เช่น ในงานประพันธ์ Octet ที่เต็มไปด้วยความสดใสร่าเริงของ Mendelssohn หรืองาน Sextet ที่ประกอบด้วยเครื่องสาย 2 ชิ้นหลายๆ บทของ Brahms แตกต่างจากในยุคแรกๆ ที่วิโอล่าถูกมองว่าขาดความสดใสของน้ำเสียง
          คีตกวีในยุคโรแมนติคเริ่มมองเห็นคุณค่าน้ำเสียงที่ละเอียดอ่อนของวิโอล่ามากขึ้นด้วยน้ำเสียง ที่ทุ้มหนักเเน่นไม่ใช่น้ำเสียงที่หม่นมัวอีกต่อไป มันได้เปิดโลกแห่งศักยภาพใหม่ๆ ให้กับนักดนตรีวงออร์เคสตร้า ในขณะที่บทเพลงสำหรับเดี่ยววิโอล่ายังคงมีไม่มากนัก ไม่มีคอนแชร์โตบทสำคัญๆ และมีโซนาต้าที่สำคัญเพียงไม่กี่บทเท่านั้น เเม้จะมีผลงานของ Mendelsshon, Glinka และ โซนาต้าสำหรับคลาริเนต 2 บทผลงานของ Brahms ที่เรียบเรียงสำหรับการเล่นด้วยวิโอล่า รวมถึงบทเพลง Marchenbilder ของ Schumann ที่จะลืมไม่ได้เช่นกัน ในยุคนี้ยังไม่มีครูสอนวิโอล่าที่สำคัญๆ ทำให้เทคนิคของวิโอล่าแตกต่างจากไวโอลินเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
          การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของวิโอล่าเกิดขึ้นในศตวรรษนี้เอง โดยเฉพาะความพยายามของนักวิโอล่ายุคบุกเบิก เช่น Lionel Tetris และ William Primrose รวมถึงคีตกวีซึ่งเป็นนักวิโอล่าอย่าง Paul Hindemith วิโอล่าจึงไม่เป็นเพียงไวโอลินชั้น 2 อีกต่อไป แต่มีส่วนร่วมและมีบทบาทที่เสมอภาคทั้งในวงดนตรีขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ผลที่ได้ทำให้มีเพลงบรรเลงเดี่ยวที่มากขึ้นกว่าครั้งใดในประวัติศาสตร์ และเติบโตขึ้นนับเเต่นั้นเป็นต้นมา ความนิยมของวิโอล่าที่เพิ่มขึ้น ทำให้เครื่องดนตรีซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของ Bach, Mozart และ Schubert วิโอล่าได้พบตำแหน่งที่เหมาะสมของตัวเองบนเวทีคอนเสิร์ทแล้ว


Robert Schumann (1810-1856)



Viola Concerto ที่มีชื่อเสียง

Johann Sebastian Bach
          วิโอล่าถูกปฏิเสธในฐานะเครื่องดนตรีแสดงเดี่ยวมาอย่างยาวนาน นับตั้งแต่ยุคบาโร้คเป็นต้นมามีบทประพันธ์คอนเเชร์โตสำหรับวิโอล่าเพียงไม่ กี่ชิ้นเท่านั้น บทประพันธ์ที่สำคัญที่สุดก็คือ Brandenburg Concerto หมายเลข 6 (1718) ของ Bach มันเป็นงานเเชมเบอร์คอนเเชร์โตซึ่ง 2 กระบวนแรกบรรเลงด้วยวิโอล่า 2 คัน และบรรเลงทำนองประกอบด้วย Viole da gamba อีก 2 คัน เชลโล และเบส ส่วนในกระบวนช้า วิโอล่า 2 คันและเชลโลจะบรรเลงในแบบแผนของ Trio Sonata

Georg Philipp Teleman
          Teleman เป็นคีตกวีรวมสมัยเดียวกับ Bach เขาได้สร้างสรรค์ผลงานออกมาเป็นจำนวนมากที่สุดคนหนึ่ง จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าเขาเป็นผู้ที่เขียนคอนเเชร์โตบทแรกสำหรับวิโอล่าขึ้น คอนเเชร์โตบทนี้อยู่ในบันไดเสียง G major นอกจากนั้นยังมีคอนเเชร์โตสำหรับ Violetti 2 คัน ซึ่งอยู่ในบันไดเสียง G major เช่นเดียวกัน

Wolfgang Amadeus Mozart
          Mozart เป็นนักวิโอล่าเช่นกัน เขาให้บทบาทและความสำคัญกับเครื่องดนตรีชนิดนี้ในงานแชมเบอร์ค่อนข้างมาก แต่ก็ไม่มีงานประพันธ์คอนเเชร์โตสำหรับวิโอล่า บทประพันธ์ Sinfonia concertante (K364) สำหรับไวโอลิน วิโอล่า เชลโล และออร์เคสตร้า เป็นผลงานที่เปี่ยมด้วยความสง่างามมาก Mozart ประพันธ์งานชิ้นนี้ขึ้นในปี 1779 ความตั้งใจของ Mozart ในเพลงนี้ซึ่งเขาคิดว่าการเดี่ยววิโอล่าควรจะปรับเสียงให้สูงขึ้นครึ่งเสียง เพื่อให้มีความสดใสสมดุลกับไวโอลิน แต่ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้กันแล้ว
          ถ้าผลงานอยู่ในบันไดเสียง E flat วิโอล่าควรจะเล่นในคีย์ D major ที่สดใสกว่า ทำให้ต้องเล่นสายเปล่ามากขึ้น ในทั้ง 3 กระบวนของงานประพันธ์ออร์เคสตร้าสำหรับวิโอล่านั้น วิโอล่าถูกแบ่งเป็นวิโอล่า 1 และวิโอล่า 2 เช่นเดียวกับไวโอลิน ซึ่ง Mozart ได้เขียนโครงร่างเอาไว้แต่ยังประพันธ์ไม่เสร็จทั้งผลงานสำหรับไวโอลิน วิโอล่า เชลโล และออร์เคสตร้า

Hector Berlioz
          เขาได้ประพันธ์ผลงาน Concertante เอาไว้จำนวน 2 บท ซึ่งถือเป็นบทประพันธ์ที่ดีที่สุดของศตวรรษที่ 19 แต่ก็ไม่ใช่งานคอนเเชร์โตสำหรับวิโอล่า เมื่อปากานินี่แนะนำ Berlioz ให้ประพันธ์งานเดี่ยววิโอล่าเพราะอยากอวดวิโอล่า Stradiavari ในครอบครองของเขา ผลลัพธ์ที่ได้คือบทประพันธ์ซิมโฟนี่ “ Harold in Italy ” ซึ่งมี Viola Obbligato แต่ปากานินี่ได้ปฏิเสธการแสดงบทประพันธ์ชิ้นนี้เนื่องจากเทคนิคของเขายังไม่ สมบูรณ์ ผลงานชิ้นนี้เสร็จสมบูรณ์ในปี 1834 โดยให้นักเดี่ยววิโอล่ารับบทวีรบุรุษตามชื่อเรื่อง

Richard Strauss
          เขาได้นำเอาเทคนิคของ Berlioz มาใช้ในงานประพันธ์โทนโพเอ็ม (Tone-poem) ที่มีชื่อเสียงของเขาคือ Don Quixote ที่ประพันธ์ขึ้นในปี 1897 โดยใช้เสียงเดี่ยวเชลโลและวิโอล่าแทนเสียงของ Quixote และ Sancho Panza ตามลำดับ

William Walton
          เขาประพันธ์ผลงานชิ้นนี้ เสร็จในปี 1929 และแก้ไขใหม่ในปี 1961 ผลงานชิ้นนี้ส่งให้เขากลายเป็นนักดนตรีรุ่นใหม่มาแรงของวงการดนตรีอังกฤษ แม้ว่าจะเป็นงานประพันธ์ยุคแรกๆ ของเขา แต่มันกลับถูกปฏิเสธจาก Lionel Tetris นักวิโอล่าที่ได้รับมอบหมายให้นำออกแสดงเป็นคนแรกเนื่องจากมีแนวคิดที่ล้ำ สมัยเกินไป ต่อมาจึงได้มอบให้กับ Hindemith เป็นผู้นำออกแสดงเป็นคนเเรกแทน

Paul Hindemith
          เขาได้สร้างสรรค์ผลงานการประพันธ์มากกว่าคีตกวีคนใดๆ ในการประพันธ์บทเพลงสำคัญๆ ให้กับยุคศตวรรษที่ 20 ซึ่งตัวเขาเป็นนักวิโอล่าอยู่แล้ว นอกจากบทประพันธ์โซนาต้าสำหรับวิโอล่าจำนวนหลายบทแล้ว เขายังได้ประพันธ์ Concertante สำหรับวงออร์เคสตร้าอีก 4 บท ประกอบด้วย Kammermusik No. 5 (1927) Konzertmusik (1930) คอนเเชร์โต (Der Schwanendreher) ที่ได้เค้าโครงมาจากดนตรีพื้นเมือง และ Trauermusik (1936) ซึ่งอุทิศให้กับกษัตริย์จอร์จที่ 5 (George V)

Bela Bartok
          ในปี 1945 ยอดนักนักวิโอล่าแห่งศตวรรษ William Primrose ได้รับมอบหมายจาก Bartok ให้เป็นผู้บรรเลงคอนเเชร์โตของเขา แต่ผลงานชิ้นนี้กลับประพันธ์ไม่จบเนื่องจากการเสียชีวิตของ Bartok แต่ผลงานชิ้นนี้ถูกเรียบเรียงขึ้นใหม่จากเค้าโครงร่างของ Bartok โดย Tibor Serly ผลงานชิ้นนี้ได้รับการยอมรับให้เป็นผลงานชิ้นสำคัญบทหนึ่งของบทประพันธ์วิโอล่า

นักวิโอล่าที่มีชื่อเสียง
          การถือกำเนิดขึ้นของนักวิโอล่าชั้นนำแห่งยุคเป็นปรากฎการณ์ที่พึ่งเกิดขึ้นไม่นานมานี้เอง สะท้อนให้เห็นถึงสถานภาพทางประวัติศาสตร์ที่คลอนเเคลนของเครื่องดนตรีชนิด นี้ได้เป็นอย่างดี นักดนตรีส่วนใหญ่ในยุคก่อนๆ โดยเฉพาะนักดนตรีในวงออร์เคสตร้าส่วนใหญ่มักจะเลือกเป็นนักไวโอลิน แต่อย่างไรก็ตาม เป็นที่รู้กันดีว่าคีตกวีหลายๆ คนในยุคศตวรรษที่ 18 และ 19 นิยมเล่นนักวิโอล่ามากกว่าไวโอลิน เช่น J.S. Bach, Mozart และ Schubert
          และนี่คือชื่อของสุดยอดนักวิโอล่าซึ่งชื่อเสียงของพวกเขาผูกพันกับเครื่องดนตรี ชนิดนี้และมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีเช่นเดียวกับสุดยอดนักไวโอลิน

Nicolo Paganini
          เขาไม่เพียงแต่เล่นวิโอล่าเท่านั้นแต่ยังประพันธ์บทเพลงสำหรับวิโอล่าไว้ด้วย แม้ว่าจะไม่มากเท่ากับงานประพันธ์สำหรับไวโอลินก็ตาม บทประพันธ์ที่สำคัญก็คือ Terzetto concertante สำหรับวิโอล่า เชลโล และกีตาร์ (ค.ศ. 1833)
          Paganini ยังมีชื่อเสียงในฐานะของนักกีตาร์อีกด้วย ผลงานที่น่าประหลาดใจที่ชื่อ Sonata per gran viola and orchestra (ค.ศ. 1834) และบทประพันธ์ ‘ Large viola ’ ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่มี 5 สาย Paganini ยังได้ปฏิเสธการแสดงบทประพันธ์ของ Berlioz ที่อาจจะเป็นผลงานวิโอล่าที่ดีที่สุดของเขา

Lionel Tetris
          เขาเป็นนักวิโอล่ายุคบุกเบิก ผู้ฟื้นฟูวิโอล่าในฐานะของเครื่องดนตรีแสดงเดี่ยว ในวัยเด็กเขาเริ่มเรียนไวโอลินที่สถาบันการดนตรี Leipsig Conservatoire เขาอุทิศตนให้กับวิโอล่าโดยการหาประสบการณ์จากการเล่นวงควอเต็ทต่างๆ ในช่วงอาชีพการเป็นนักวิโอล่าที่ยาวนานนั้น เขาออกแสดงในฐานะยอดนักวิโอล่าและได้ถ่ายทอดประสบการณ์ออกมาเป็นหนังสือ 3 เล่มคือ “ Beauty of tone in string playing ” (ค.ศ. 1938) และหนังสืออัตชีวประวัติที่ตั้งชื่อได้อย่างเหมาะสมว่า “ Cinderella no more ” (ค.ศ. 1953) และ “ My viola and I ” (ค.ศ. 1974)
          เขาเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้เกิดงานประพันธ์วิโอล่าในศตวรรษที่ 20 หลายๆ ชิ้น รวมถึงคอนเเชร์โตของ Walton แต่ข้อเสียข้อใหญ่ของเขาสำหรับประวัติศาสตร์ของวิโอล่าคือ เขาไม่สนใจในบทประพันธ์ร่วมสมัยเท่าใดนัก มีเพียงผลงานของ Walton เท่านั้นที่เขามีส่วนเกี่ยวข้อง และเขาไม่เคยนำผลงานประพันธ์วิโอล่าของ Hindemith ออกแสดงเลย

William Primrose (23 August 1904 – 1 May 1982)
          นักวิโอล่าร่วมสมัยที่มีชื่อเสียงชาวสก็อตแลนด์ เขาเริ่มต้นการเป็นนักดนตรีด้วยการเป็นนักไวโอลินเช่นเดียวกับคนอื่นๆ แต่เริ่มหันมาสนใจการเล่นวิโอล่าตามคำแนะนำของ Eugene Ysaye ผู้เป็นอาจารย์ ส่วนใหญ่แล้วเขาจะใช้ชีวิตการนักดนตรีอยู่ในสหรัฐอเมริกา เขาเป็นหัวหน้ากลุ่มวิโอล่าในวง NBC Symphony Orchestra ภายใต้การกำกับวงของ Toscanini ตั้งแต่ปี 1937 ถึง 1942 ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัย Southern California และมหาวิทยาลัย Indiana หลังจากนั้นเขาได้ก่อตั้งวงควอเต็ทของตนเองขึ้นในปี 1937 และได้ตีพิมพ์หนังสือ “ A method for violin and viola players ” ในปี 1960 ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขาคือได้รับมอบหมายให้สานงานคอนเเชร์โตที่ยังประพันธ์ไม่เสร็จสมบูรณ์ของ Bartok


William Primrose


Frederick Craig Riddle (20 April 1912 – 5 February 1995)
          เขาเคยเป็นหัวหน้ากลุ่มวิโอล่าของวง London Philharmonic และวง Royal Philharmonic เขามีความสนใจในดนตรีร่วมสมัยเป็นพิเศษ เเละเป็นนักวิโอล่าคนแรกที่นำบทประพันธ์คอนเเชร์โตของ Walton ออกแสดงในปี ค.ศ. 1737 นอกจากนั้นเขายังเป็นผู้ที่คีตกวีอย่าง Martin Dalby และ Justin Connolly อุทิศบทประพันธ์คอนเเชร์โตของพวกเขาให้


Frederick Craig Riddle


Yuri Bashmet
          เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นสุดยอดนักวิโอล่าแห่งยุคปัจจุบัน และว่ากันว่าเขายังเคยเป็นนักกีตาร์ในวงร็อคซึ่งมีอิทธิพลกับเขาในช่วงแรกๆ Bashmet เริ่มเปลี่ยนมาเล่นวิโอล่าในช่วงวัยรุ่นหลังจากที่เข้าศึกษาดนตรีในฐานะนัก ไวโอลิน หลังจากนั้นเขาได้ศึกษากับ Vadim Borisovsky ที่สถาบันการดนตรี Moscow Conservatoire เขาชนะรางวัล Munich Competition อันทรงเกียรติในปี ค.ศ. 1976 และยังเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งกลุ่ม Mosco Soloists ซึ่งเขาได้นำบทประพันธ์คอนเเชร์โตของ Schnittke ออกแสดงเป็นครั้งแรกด้วย ปัจุบันเขายังคงออกเเสดงคอนเสิร์ทร่วมกับวงออร์เคสตร้าชั้นนำทั่วโลกอย่าง สม่ำเสมอ


Yuri Bashmet





ที่มา : http://www.pantown.com/board.php?id=13220&area=4&name=board2&topic=84&action=view


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น