วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

2. เครื่องลมไม้ (Woodwind Instruments)




         เครื่องเป่าลมไม้ (Woodwind Instruments)เป็นการจัดประเภทเครื่องดนตรีสากล โดยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าลมไม้นี้ แม้ตัวของเครื่องดนตรี อาจทำจากวัสดุต่างๆ มากมาย แต่ส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดเสียง คือ ลิ้น (Reed) ซึ่งทำมาจากไม้ จึงได้ชื่อว่า เครื่องเป่าลมไม้นั่นเอง

         เครื่องดนตรีประเภทนี้ เกิดเสียงโดยการเป่าลมผ่านช่องแคบๆ ให้เข้าไปภายในท่อ ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวขยายเสียงให้ดังขึ้น คุณลักษณะของเสียงที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกัน ตามขนาดของท่อ ความสั้นยาวของท่อ และความแรงของลมที่เป่าเข้าไปภายในท่อ เครื่องลมไม้บางชนิด เสียงคล้ายขลุ่ยไทย เช่น ฟลุ้ท ปิคโคโล ซึ่งไม่มีลิ้น เกิดเสียงโดยเป่าลมผ่านเข้าไปทางด้านข้างตามแนวนอนของเครื่อง เครื่องลมไม้บางชนิด เสียงคล้ายปี่ เกิดเสียงโดยเป่าลมผ่านลิ้น ซึ่งมีทั้งลิ้นคู่ เช่น บาสซูน โอโบ และลิ้นเดี่ยว เช่น คลาริเนต แซ็กโซโฟน เป็นต้น

         เครื่องดนตรีแต่ละชนิดยังมีขนาดต่างๆ กันออกไป เครื่องดนตรีขนาดเล็กจะให้ระดับเสียงสูง เครื่องดนตรีขนาดใหญ่จะให้เสียงต่ำ ผู้บรรเลงจะต้องเลือกใช้เครื่องดนตรีให้เหมาะสมกับบทเพลง ตามที่ผู้ประพันธ์เพลงได้กำหนดไว้


ประเภทเครื่องเป่าลมไม้
เครื่องเป่าลมไม้แบ่งได้อย่างกว้างๆ เป็น 2 ประเภท คือ

         ประเภทเป่าลมเข้าไปในรูเป่า (Blowing into a tube) หรือ เครื่องเป่าลมไม้ประเภทขลุ่ย ลำตัวมีลักษณะเป็นท่อ แบ่งตามลักษณะของการเป่าได้ 2 ประเภทคือ ประเภทเป่าตรงปลาย เช่น ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ และประเภทเป่าลมเข้าทางด้านข้าง เช่น ฟลูต และปิคโคโล

1. รีคอร์เดอร์ (Recorder) คลิก
2. ปิคโคโล (Piccolo) คลิก
3. ฟลุต (Flute) คลิก


         ประเภทเป่าลมให้ผ่านลิ้นของเครื่องดนตรี (Blowing through a reed) หรือ เครื่องเป่าลมไม้ประเภทปี่ ส่วนประกอบที่สำคัญคือมีลิ้น (Reed) เป็นตัวสั่นสะเทือน ส่วนที่เป็นลิ้นจะอยู่ตรงปลายด้านหนึ่งของปี่ เมื่อเป่าลมผ่านลิ้นให้เกิดการสั่นสะเทือน ลมจะเข้าไปในท่อซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวขยายเสียงหรือตัวกำทอน แล้วออกไปยังปากลำโพง เครื่องดนตรีพวกปี่ยังจำแนกออกได้ตามลักษณะของลิ้นที่ใช้ เป็นประเภทลิ้นคู่ (Double reed) และลิ้นเดี่ยว (Single reed)


ประเภทลิ้นเดียว (Single Reed)

1. คลาริเน็ต (Clarinet) คลิก
2. แซ็กโซโฟน (Saxophone) คลิก


ประเภทลิ้นคู่ (Double reed)

1. โอโบ (Oboe) คลิก
2. คอร์ แองเกลส์ หรืออิงลิชฮอร์น (Cor Anglais or English horn) คลิก
3. บาสซูน (Bassoon) คลิก




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น