วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

2. ยุคเรเนสซองส์หรือยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (The Renaissance Period)


ภาพ The Birth of Venus


          สมัยเรเนสซองส์ หรือ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา เพลงศาสนายังมีความสำคัญอยู่เช่นเดิม เพลงสำหรับประชาชนทั่วไป เพื่อให้ความบันเทิง ความสนุกสนาน ก็เกิดขึ้นด้วย การประสานเสียงได้รับการพัฒนาให้กลมกลืนขึ้น เพลงศาสนาเป็นรากฐานของทฤษฎีการประสานเสียง เพลงในยุคนี้แบ่งเป็นสองแบบ ส่วนใหญ่จะเป็น แบบที่เรียกว่า อิมมิเททีฟโพลีโฟนี (Imitative Polyphony) คือ มีหลายแนว และแต่ละแนวจะเริ่มไม่พร้อมกัน ทุกแนวเสียงมีความสำคัญ แบบที่สองเรียกว่า โฮโมโฟนี (Homophony) คือ มีหลายแนวเสียงและบรรเลงไปพร้อมกัน มีเพียงแนวเสียงเดียวที่เด่น แนวเสียงอื่นๆ เป็นเพียงเสียงประกอบ

          คำว่า “Renaissance” แปลว่า “การเกิดใหม่ ” (Re-birth) ซึ่งหมายถึงช่วงเวลาที่ปัญญาชนในยุโรปได้หันความสนใจจากกิจการฝ่ายศาสนาที่ได้ปฏิบัติมาอย่างเคร่งครัดตลอดสมัยกลาง มาสู่การฟื้นฟูศิลปวิทยา ซึ่งมีแนวความคิดอ่านและวัฒนธรรมตามแบบกรีก และโรมันโบราณ สมัยแห่งการฟื้นฟูศิลปวิทยานี้ ได้เริ่มขึ้นครั้งแรกตามหัวเมืองภาคเหนือของแหลมอิตาลี โดยได้เริ่มขึ้นที่เมืองฟลอเรนซ์ ก่อนแล้วจึงแพร่ไปยังเวนิช ปิสา เจนัว จนทั่วแคว้นทัสคานีและลอมบาร์ดี จากนั้นจึงแพร่ไปทั่วแหลมอิตาลีแล้วขยายตัวเข้าไปในฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ

          เพลงในสมัยนี้ ยังไม่มีการแบ่งจังหวะที่แน่นอน คือ ยังไม่มีการแบ่งห้องออกเป็น 3/4 หรือ 4/4 เพลงส่วนใหญ่ก็ยังเกี่ยวข้องกับคริสต์ศาสนาอยู่เพลงประกอบขั้นตอนต่างๆ ของพิธีทางศาสนาที่สำคัญ คือ เพลงแมส (Mass) และโมเต็ท (Motet) คำร้องเป็นภาษาละติน เพลงที่ไม่ใช่เพลงศาสนาก็เริ่มนิยมกันมากขึ้น ได้แก่ เพลงประเภท แมดริกัล (Madrigal) ซึ่งมีเนื้อร้องเกี่ยวกับความรัก หรือยกย่องบุคคลสำคัญ และมักจะมีจังหวะสนุกสนาน นอกจากนี้ยังใช้ภาษาประจำชาติของแต่ละชาติ

          เพลงบรรเลงเริ่มมีบทบาทในยุคนี้ เครื่องดนตรีที่นำมาใช้ในการบรรเลง คือ ลูท ออร์แกนลม ฮาร์พซิคอร์ด เวอจินัล ขลุ่ยเรคอร์เดอร์ ซอวิโอล องค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของดนตรียุคนี้ที่ถูกนำมาใช้ คือ ความดัง - เบาของเสียงดนตรี (Dynamic)

          ลักษณะของดนตรีในสมัยนี้ยังคงมีรูปแบบคล้ายในสมัยศิลป์ใหม่ แต่ได้มีการปรับปรุงพัฒนารูปแบบมากขึ้น ลักษณะการสอดประสานทำนอง ยังคงเป็นลักษณะเด่น เพลงร้องยังคงนิยมกัน แต่เพลงบรรเลงเริ่มมีบทบาทมากขึ้น ในช่วงศตวรรษที่ 15 และ 16 รูปแบบของดนตรีมีความแตกต่างกันดังนี้ (ไขแสง ศุขะวัฒนะ,2535:89)


1. สมัยศตวรรษที่ 15

          ประชาชนทั่วไปได้หลุดพ้นจากการปกครองระบอบศักดินา (Feudalism) มนุษยนิยม (Humanism) ได้กลายเป็นลัทธิสำคัญทางปรัชญา ศิลปินผู้มีชื่อเสียง คือ ลอเร็นโซ กิแบร์ตี โดนาเต็ลโล เลโอนาร์โด ดา วินชิ ฯลฯ เพลงมักจะมี 3 แนว โดยแนวบนสุดจะมีลักษณะน่าสนใจกว่าแนวอื่น ๆ เพลงที่ประกอบด้วยเสียง 4 แนว ในลักษณะของโซปราโน อัลโต เทเนอร์ เบส เริ่มนิยมประพันธ์กันซึ่งเป็นรากฐานของการประสานเสียง 4 แนว

          ในสมัยต่อๆ มา เพลงโบสถ์จำพวก แมสซึ่งพัฒนามาจากแชนท์มีการประพันธ์กันเช่นเดียวกับในสมัยกลาง เพลงโมเต็ตยังมีรูปแบบคล้ายสมัยศิลป์ใหม่ ในระยะนี้เพลงคฤหัสถ์เริ่มมีการสอดประสานเกิดขึ้น คือ เพลงประเภทซังซอง แบบสอดประสาน (Polyphonic chanson) ซึ่งมีแนวทำนองเด่น 1 แนว และมีแนวอื่นสอดประสานแบบล้อกัน (Imitative style) ซึ่งมีแนวโน้มเป็นลักษณะของการใส่เสียงประสาน (Homophony)

          ลักษณะล้อกันแบบนี้เป็นลักษณะสำคัญของเพลงในสมัยนี้ นอกจากนี้มีการนำรูปแบบของโมเต็ตมาประพันธ์เป็นเพลงแมสและการนำหลักของแคนนอนมาใช้ในเพลงแมสด้วย

          ผู้คนในยุคเรเนสซองส์ เชื่อในเรื่องเหตุผลมากขึ้น แสวงหาข้อเท็จจริง เลิกเชื่อผู้นำศาสนาจักรอย่างงมงาย แสวงหาความสุข ความสวย ความงาม ความโอ่อ่า ยอมรับความจริงของชีวิตกับธรรมชาติ สนใจเรื่องกายวิภาค มิติสัมพันธ์ การจัดองค์ประกอบ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้สะท้อนออกมาทางงานสถาปัตยกรรม สิ่งก่อสร้าง ผลงานทางศิลปะ ผลงานทางดนตรี วรรณกรรม และการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ผู้มีฐานะทางสังคม พ่อค้า ขุนนาง เริ่มให้ความสนใจกับผลงานทางศิลปะดนตรีมากขึ้น



เลโอนาร์โด ดาวินชี (Leonardo da Vinci)


          เลโอนาร์โด ดาวินชี (Leonardo da Vinci) บุคคลผู้มีชื่อเสียงในยุคเรเนสซองส์ มีอัจฉริยะทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ แพทย์ กวี ดนตรี จิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ผลงานที่มีชื่อเสียงของดาวินชี ได้แก่ ภาพพระกระยาหารมื้อสุดท้าย (The last Supper) ภาพพระแม่มารีแห่งภูผา (The Virgin of the Rock) ภาพพระนางพรหมจารีและพระกุมารกับนักบุญอันนา (The Virgin and St. Anne) และภาพหญิงสาวผู้มีรอยยิ้มอันลึกลับ (mystic smile) ที่โด่งดังไปทั่วโลก คือ ภาพโมนาลิซา (Mona Lisa)



ภาพพระกระยาหารมื้อสุดท้าย (The last Supper)



ภาพโมนาลิซา (Mona Lisa)



ภาพกายวิภาค"วิทรูเวียนแมน" (Vitruvian Man)


          ด้านดนตรีนั้น เลโอนาร์โด ดาวินซี่ มีความสามารถบรรเลงเครื่องดนตรีได้ คือ Lyre และ Lira da braccia คือเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายที่มีลักษณะคล้ายกับเชลโลในปัจจุบัน ประพันธ์เพลงทำนองสั้นๆไว้หลายทำนอง นอกจากนั้นก็เป็นเรื่องการออกแบบประดิษฐ์เครื่องดนตรีต่างๆ เฃ่นคิดระบบกลไกของการขึ้นหนังกลองให้สะดวก ง่ายขึ้น คิดระบบกลไกของเครื่องดนตรี "hurdy-gurdy" คิดระบบกลไกของเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดที่ใช้ในปัจจุบัน รวมทั้งฟลุ้ตชนิดต่างๆ และ viola organista ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายกับออร์แกน เกิดเสียงโดยใช้สายเหมือนกับวิโอลา หรือ ไวโอลิน ไม่ต้องใช้คันชักสีที่สาย ใช้ระบบกลไกโดยการกดที่คีย์บอร์ด เครื่องดนตรีนี้ได้ออกแบบไว้อย่างเดียวแต่ยังไม่เคยสร้างมาใช้เลย


2. สมัยศตวรรษที่ 16

          มนุษยนิยมยังคงเป็นลัทธิสำคัญทางปรัชญา การปฏิรูปทางศาสนาและการต่อต้านการปฏิรูปทางศาสนาของพวกคาทอลิกเป็นเหตุการณ์สำคัญยิ่งของคริสต์ศาสนาเพลงร้อง แบบสอดประสานทำนองพัฒนาจนมีความสมบูรณ์แบบเพลงร้องยังคงเป็นลักษณะเด่น แต่เพลงบรรเลงก็เริ่มนิยมกันมากขึ้น เพลงโบสถ์ยังมีอิทธิพลจากเพลงโบสถ์ของโรมัน แต่ก็มีเพลงโบสถ์ของนิกายโปรแตสแตนท์เกิดขึ้น การประสานเสียงเริ่มมีหลักเกณฑ์มากขึ้น การใช้การประสานเสียงสลับกับการล้อกันของทำนองเป็นลักษณะหนึ่งของเพลงในสมัยนี้ การแต่งเพลงแมสและโมเต็ต นำหลักของการล้อกันของทำนองมาใช้แต่เป็นแบบฟิวก์ (Fugue) ซึ่งพัฒนามาจากแคนนอน คือ การล้อของทำนองที่มีการแบ่งเป็นส่วนๆ ที่สลับซับซ้อน มีหลักเกณฑ์มากขึ้น




          ในสมัยนี้มีการปฏิวัติทางดนตรีเกิดขึ้นในเยอรมัน ซึ่งเป็นเรื่องของความขัดแย้งทางศาสนากับพวกโรมันแคธอลิก จึงมีการแต่งเพลงขึ้นมาใหม่โดยใช้กฏเกณฑ์ใหม่ด้วยเพลงที่เกิดขึ้นมาใหม่เป็นเพลงสวดที่เรียกว่า “โคราล” (Chorale) ซึ่งเป็นเพลงที่นำมาจากแชนท์แต่ใส่อัตราจังหวะเข้าไป นอกจากนี้ยังเป็นเพลงที่นำมาจากเพลงคฤหัสถ์โดย ใส่เนื้อเป็นเรื่องศาสนาและเป็นเพลงที่แต่งขึ้นใหม่ด้วย เพลงในสมัยนี้เริ่มมีอัตราจังหวะแน่นอน เพลงคฤหัสถ์มีการพัฒนาทั้งใช้ผู้ร้องและการบรรเลง กล่าวได้ว่าดนตรีในศตวรรษนี้มีรูปแบบ ใหม่ๆ เกิดขึ้นและหลักการต่างๆ มีแบบแผนมากขึ้น

          ในสมัยนี้มนุษย์เริ่มเห็นความสำคัญของดนตรีมาก โดยถือว่าดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต นอกจากจะให้ดนตรีในศาสนาสืบเนื่องมาจากสมัยกลาง (Middle Ages) แล้วยังต้องการดนตรีของคฤหัสถ์ (Secular Music) เพื่อพักผ่อนในยามว่าง เพราะฉะนั้นในสมัยนี้ดนตรีของคฤหัสถ์ (Secular Music) และดนตรีศาสนา (Sacred Music) มีความสำคัญเท่ากัน



สรุปลักษณะบทเพลงในสมัยนี้

1. บทร้องใช้โพลีโฟนี (Polyphony) ส่วนใหญ่ใช้ 3-4 แนว ในศตวรรษที่ 16 ได้ชื่อว่า “The Golden Age of Polyphony”
2. มีการพัฒนา Rhythm ในแบบ Duple time และ Triple time ขึ้น
3. การประสานเสียงใช้คู่ 3 ตลอด และเป็นสมัยสุดท้ายที่มีรูปแบบของขับร้องและบรรเลงเหมือนกัน


เครื่องดนตรีสมัยรีเนซองส์

- เครื่องดนตรีในสมัยนี้ที่นิยมใช้กันได้แก่ เครื่องสายที่บรรเลงด้วยการใช้คันชัก ได้แก่ ซอวิโอล (Viols) ขนาดต่างๆ ซอรีเบค (Rebec) ซึ่งตัวซอมีทรวดทรงคล้ายลูกแพร์เป็นเครื่องสายที่ใช้คันชัก ลูท เวอร์จินัล คลาวิคอร์ด ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ปี่ชอม ปี่คอร์เน็ต แตรทรัมเปต และแตรทรอมโบนโบราณ เป็นต้น



คีตกวีในยุคเรเนสซองส์หรือยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา 

1. ดันสเตเบิล (John Dunstable, ประมาณ 1390 –1453)





          ผู้ประพันธ์เพลงชาวอังกฤษ ซึ่งนอกจากมีชื่อเสียงเรื่องการประพันธ์เพลงแล้ว ยังเป็นนักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ อีกด้วย เป็นผู้ทำให้วงการดนตรีรู้จักและยกย่องดนตรีของชาวอังกฤษ

          ชีวิตส่วนใหญ่ของ ดันสเตเบิลไปอยู่ในฝรั่งเศส โดยการไปรับใช้ดยุคแห่งเบดฟอร์ด ผลงานการประพันธ์ของ ดันสเตเบิลไม่ว่าจะเป็นเพลงร้อง เพลงแมสและโมเต็ตล้วนได้รับการยกย่องในเขตยุโรปตะวันตก โดยเฉพาะในช่วงระหว่างปี 1420-1430 รูปแบบดนตรีของเขามีอิทธิพลอย่างมากต่อวงการดนตรี เขาคงความมีชื่อเสียงได้จนกระทั่งเสียชีวิตในปี 1453


 

An illuminated manuscript of John, Duke of Bedford, praying to St. George, circa 1410-1430



Manuscript of Veni Sancti Spiritus


          ผู้ประพันธ์เพลงที่รับเอาอิทธิพลของดันสเตเบิลไว้ ได้แก่ แบงชัวส์ และดูเฟย์ และผู้ประพันธ์คนอื่น ๆ ที่อยู่ในกลุ่มผู้ประพันธ์เพลงเบอกันดี (Burgandy) ดันสเตเบิลใช้รูปแบบการประสานเสียงที่ดนตรีมาตรฐานนิยมใช้ ไม่ว่าจะเป็นในสมัยคลาสสิก โรแมนติก หรือเพลงสมัยนิยม ในขณะที่ดนตรีในสมัยนั้นโดยทั่ว ๆ ไปไม่นิยมการประสานเสียงในลักษณะนี้เลย จึงกล่าวได้ว่าดันสเตเบิลเป็นบิดาของดนตรีสมัยใหม่ (ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535:143)



2. กิโยม ดูเฟย์ (Guillianum Dufay ประมาณ 1400-1474)





Dufay ด้านซ้ายกับนักแต่งเพลง Binchois
(Dufay on the left with composer Binchois)


          ผู้ประพันธ์เพลงชาวเนเธอร์แลนด์ดูเฟย์เป็นหนึ่งในจำนวนนักแต่งเพลงที่มีความสามารถสูงในสมัยนี้เป็นหนึ่งของผู้ที่ริเริ่ม ดนตรีในสมัยรีเนซองส์ เมื่อมาโชท์สิ้นชีวิตลงในปี 1377 ดนตรีของฝรั่งเศสขาดผู้นำไป จนกระทั่งถึงดูเฟย์ซึ่งนับว่าเป็นผู้ประพันธ์ที่เป็นผู้นำทั้งในฝรั่งเศส และยุโรป ดูเฟย์ทำงานทางด้านดนตรีทั้งในอิตาลีและฝรั่งเศส

          ผลงานของดูเฟย์มีประกอบด้วยเพลงคฤหัสถ์และเพลงโบสถ์ โดยในระยะแรกดูเฟย์ ประพันธ์เพลงคฤหัสถ์ เช่น ชังซอง ในระยะต่อมาดูเฟย์ให้ความสนใจกับเพลงโบสถ์มาก และเบนแนวประพันธ์มาสู่เพลงโบสถ์



A kyrie by Dufay


          ผลงานของดูเฟย์ที่มีชื่อเสียงคือ เพลงแมส ซึ่งประพันธ์ไว้เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีเพลงโมเต็ต ซึ่งจัดเป็นเพลงที่ดูเฟย์พัฒนารูปแบบไว้และผู้ประพันธ์เพลงรุ่นต่อมานำไปใช้ ในบรรดาลูกศิษย์ของดูเฟย์มีผู้หนึ่งที่มีชื่อเสียงในวงการดนตรีมาก คือ โอคิกัม



3. โอคิกัม (Johannes Ockeghem, ประมาณ 1410-1497)





4. จอสกิน เดอส์ เพรซ์ (Josquin des Prez, ประมาณ 1440 -1521)





5. โทมัส ทัลลิส (Thomas Tallis)





6. จิโอวันนี ปิแอร์ลุยจิ ดา ปาเลสตรินา (Giovanni Pierluigi da Palestrina, ประมาณ 1524-1594)





7. วิลเลียม เบิร์ด (William Byrd, 1543-1623)





8. คลอดิโอ มอนเทแวร์ดี (Claudio Monteverdi, 1567-1643)



Monteverdi by Bernardo Strozzi, c. 1630



9. ยาคอบ โอเบร็คท์ (Jacob Obrecht, 1457/8-1505)





10. โคลด เลอเชิน (Claude Le Jeune, 1530-1600)





11. ออร์ลันโด้ ดิ ลัสโซ (Orlando di Lasso, 1532, possibly 1530 – 14 June 1594)





12. คาร์โล เกซวลโด (Carlo Gesualdo, 30 March 1566 – 8 September 1613)





13. อาดริออง วิลแลร์ต (Adriane Willaert, 1490 – 7 December 1562)






ที่มา : en.wikipedia.org/
ที่มา : http://study.com/
ที่มา : http://student.nu.ac.th/pick_ed/lesson4.htm
ที่มา : https://sites.google.com/site/mrjisclassroom/home

2 ความคิดเห็น: