ทรัมเป็ต เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง ประเภทเครื่องลมทองเหลืองเสียงสูง (High Brass) ทรัมเป็ตถือได้ว่าเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดชิ้นหนึ่ง ย้อนไปตั้งแต่สมัย 1500 ปีก่อน ค.ศ. มันถูกสร้างขึ้นมาจากทองเหลืองหล่อเป็นท่อกลวง แล้วนำมางอ 2 ครั้ง เป็นลักษณะคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้า เล่นโดยเป่าลมเข้าไปในเครื่องโดยที่ริมฝีปากยังปิดอยู่ ปากเม้มตึง ทำให้เกิดเสียงหึ่งๆ เหมือนผึ้งร้อง (buzzing sound) ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของการสั่นสะเทือนของอากาศภายในทรัมเป็ต
ทรัมเป็ตมีหลายชนิด ที่ธรรมดาที่สุดคือ Bb ทรัมเป็ต ทรัมเป็ตรุ่นก่อนจะไม่มีลูกสูบ แต่สมัยปัจจุบันมีถึง 3 ลูกสูบ ซึ่งลูกสูบมี 2 ชนิด คือ Piston valves กับ Rotary valves แบบ Piston Valves จะนิยมและพบเห็นมากสุดในปัจจุบัน แต่ละลูกสูบจะเพิ่มระยะของท่อเมื่อกด ข้างในลูกสูบที่เราเห็นเป็น รูๆ เมื่อเรากดลูกสูบ กระแสลมจะผ่านคนละแบบตามแต่ระยะท่อ เสียงที่ออกมาจึงไม่เหมือนกัน ทรัมเป็ตเข้าได้กับดนตรีหลายประเภท ทั้งคลาสสิค และ แจ๊ส
ประวัติ

ทรัมเป็ตของเปรูโบราณ
ทรัมเป็ตยุคแรกเริ่มอยู่ในสมัย 1500 ปีก่อนคริสตกาล คือ ทรัมเป็ตบรอนซ์และเงินจากหลุมศพของตุตันคาเมนแห่งอียิปต์ Bronze lurs จากสแกนดิเนเวีย ทรัมเป็ตโลหะจากจีน หรือจากอารยธรรม Oxus (3 พันปีก่อนคริสตกาล) ทางเอเชียกลางมีการเพิ่มขนาดตรงส่วนกลางของเครื่องด้วย ทั้งที่ทำจากโลหะเพียงแผ่นเดียว ถือเป็นเทคนิคที่น่าทึ่งมาก ทรัมเป็ตในยุคก่อนมักจะใช้ในการทหารมากกว่าความเพลิดเพลิน และ Bugle ก็ตอบสนองจุดนี้ได้ดีทีเดียว
ในยุคกลาง นักทรัมเป็ตถือเป็นบุคคลสำคัญของกองทัพที่ต้องได้รับการอารักขาอยากเข้มงวด เพราะถือเป็นคนที่คอยส่งคำสั่งหรือข้อความให้กับกองกำลังอื่นๆ ในกองทัพ
การพัฒนารูปร่างของเครื่องดนตรีและชนิดของโลหะเริ่มขึ้นในช่วงท้ายของยุคกลาง และยุคเรเนอซองส์ ทำให้ทรัมเป็ตรุ่งเรืองขึ้นมาในฐานะ “เครื่องดนตรี” ทรัมเป็ตในยุคนี้มีเพียง 1 ขด ไม่มีลูกสูบ เพราะงั้นมันก็เลยเล่นได้อยู่เสียงเดียว กับ Octave ของมันเท่านั้น เวลาจะเปลี่ยนคีย์ก็ต้องเปลี่ยนเครื่อง และพัฒนามากขึ้นอีกในยุคบาโรค เรียกได้ว่าเป็น “ยุคทองของทรัมเป็ต” เลยทีเดียว ช่วงนี้เพลงถูกเขียนขึ้นมาสำหรับ Virtuoso trumpeters อีกครั้งในช่วงกลางของศตวรรษที่ 20 การเล่นทรัมเป็ตแพร่หลายไปทั่วโลก ผู้เล่นส่วนใหญ่ที่ประสบความสำเร็จก็ใช้ทรัมเป็ตที่ออกแบบมาในยุคบาโรก

ทรัมเป็ตในยุคบาโรค
มีความพยายามที่จะให้ทรัมเป็ตมีอิสระในการเล่นโน้ตมากขึ้น โดยสร้างเป็น Key Trumpet แต่ไม่ประสบความสำเร็จและไม่แพร่หลายนักเนื่องจากคุณภาพเสียงที่ยังไม่ดีพอ ถือว่าช้ามากกว่าที่จะมีการนำลูกสูบแบบใหม่มาใช้ (สร้างในกลางทศวรรษ 1830) และ Cornet ก็โด่งดังขึ้นมาในอีก 100 ปีให้หลัง ทั้ง Symphonies ของ Mozart, Beethoven และ Brahms ก็ยังคงใช้ทรัมเป็ตแบบ “ปกติธรรมดา” เล่นอยู่ Crooks หรือ Shanks คือ บูเกิลแบบเฟร้นช์ฮอร์นนั่นเอง ไม่มีทั้งปุ่มกดและลูกสูบ กลับเป็นเครื่องที่ดูได้มาตรฐานอย่างน่าสังเกตในฝรั่งเศสในต้นศตวรรษที่ 20 เพราะพัฒนาการของเครื่องประเภทนิ้มีน้อยเมื่อเทียบกับเครื่องอื่นๆ เมื่อเข้าศตวรรษที่ 20 แล้ว เริ่มมีการเขียนเพลงสำหรับทรัมเป็ตอย่างหลากหลายและนิยมมากขึ้น
โครงสร้างของทรัมเป็ต
ทรัมเป็ตประกอบด้วยทองเหลือง งอสองครั้งคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทั้งทรัมเป็ตและทรอมโบนมีส่วน Bore ที่ลักษณะเป็นทรงกระบอกเพื่อเสียงที่ใสและดังกังวาน Bore เป็นส่วนที่ค่อนข้างซับซ้อนมาก เล็กที่สุดที่ส่วนประกอบเมาท์พีซและใหญ่สุดที่ปลายของ Bell ที่แผ่ออก การออกแบบที่ซับซ้อนและระมัดระวังนี้ก็เพื่อคุณภาพเสียงสูงต่ำของเครื่องดนตรี ถ้าจะให้เปรียบเทียบ Cornet และ Flugelhorn มี bore ที่ค่อนข้างจะเป็นทรงกรวยมากกว่าจึงให้เสียงที่สุขุมมากกว่า ขนาดของ bore อยู่ระหว่าง 0.430 – 0.472 นิ้ว มีขนาดกลาง ค่อนข้างใหญ่ และใหญ่ แล้วแต่ผู้ผลิตแต่ละราย

ลักษณะของลูกสูบ
เหมือนกับเครื่องทองเหลืองอื่นๆ ที่ทำให้เกิดเสียงโดยการเป่าลมผ่านริมฝีปากที่เม้มบาง ทำให้เกิดเสียงเหมือนผึ้งร้องหึ่งๆ จากกำพวด ทำให้เกิดกระแสอากาศข้างในเครื่อง ผู้เล่นสามารถกำหนดระดับเสียงโดยการเปลี่ยนช่องที่ริมฝีปาก และแรงดัน (เรียกว่า Embouchure) เมาท์พีซมีขอบเป็นวงกลมซึ่งสะดวกต่อการสั่นสะเทือนเมื่ออยู่ติดกับริมฝีปาก ตรงขอบเป็นรูปถ้วยที่ช่องอากาศเล็กมาก ซึ่งส่วนปลายจะพอดีที่จะใส่เข้าไปกับตัวเครื่อง ทั้งสามส่วนของเมาท์พีซมีผล ต่อเสียงและคุณภาพเสียง ความยากง่ายของการเล่น และความสบายของคนเป่า โดยทั่วไปแล้วยิ่งกว้างและลึกเท่าไหร่ เสียงที่ได้ก็จะยิ่งทึบมากขึ้นเท่านั้น

โครงสร้างของทรัมเป็ต
Modern Trumpet มี 3 ลูกสูบ (Piston) แต่ละอันจะเพิ่มระยะของทางเดินลมเมื่อกดลงไป ลูกสูบอันแรกลดระดับเสียงลง 1 เสียง อันที่สองครึ่งเสียง อันสุดท้ายเสียงครึ่ง ถ้ามีอันที่ 4 ด้วยมันก็จะลดลงไปถึงสองเสียงครึ่ง การใช้ลูกสูบพวกนี้ทำให้ผลิตเสียงทุกระดับได้อย่างสมบูรณ์
เสียงของเครื่องยังอาจจะปรับสูงขึ้นหรือต่ำลงได้จากการเลื่อนท่อจูนเสียง ถ้าดึงออกเสียงจะต่ำลง ดันเข้าเสียงจะสูงขึ้น เพื่อลดปัญหาเสียงเพี้ยนโดยไม่ใช้สไลด์ Renold Schilke จึงออกแบบ Tuning-bell Trumpet โดยปรับให้ส่วนของ Bell เลื่อนเข้าออกได้ เป็น Sliding Bell ผู้เล่นควรจูนเสียงขณะที่สไลด์ไม่ได้เลื่อน หรือใกล้เคียง
เสียงจะดังออกมาทาง Bell ทรัมเป็ตในปัจจุบันมีการนำวัสดุหลายชนิดมาทำ Bell ทั้ง Yellow-brass, red-brass, copper ยิ่งชนิดของ Brass สีเข้มขึ้นเท่าไหร่เสียงก็ยิ่งนุ่มเท่านั้น
ประเภทของทรัมเป็ต
ทรัมเป็ตที่ธรรมดาที่สุดก็คือ Bb ทรัมเป็ต แต่ก็มีพวก F, C, D, Eb, E, G เหมือนกัน C ทรัมเป็ตมักเล่นในวงออร์เคสตราของอเมริกันร่วมกับแบบ Bb ด้วยขนาดที่เล็กทำให้เสียงค่อนข้างแจ่มชัดกว่า ดูมีชีวิตชีวากว่า เพราะโน้ตสำหรับทรัมเป็ตในยุคก่อนเหมาะสำหรับทรัมเป็ตที่ตัวนึงเป็นเสียงนึงเลย ก็เมื่อก่อนมันไม่มีลูกสูบนี่ ก็เลยเปลี่ยนระดับเสียงไม่ได้ เพราะงั้นคนเล่นก็เลยต้องเลือกเล่นเฉพาะส่วนในแต่ละเพลง นักเล่น Orchestra trumpet จะต้องเทพในการทรานสโพสโน้ตด้วยการมอง เพราะบางครั้งโน้ตเขียนโดยยึด Bb บางครั้งก็ C

Trumpet in C with Rotary valves
ช่วงเสียงของทรัมเป็ตเริ่มจาก F# ใต้ Middle C จนขึ้นไปอีก 3 Octaves บทเพลงทั่วไปที่คุ้นหูจะไม่มีโน้ตที่อยู่นอกเหนือจากช่วงนี้ และตารางนิ้ว ก็จะเขียน C ที่สูงกว่า Middle C สอง Octaves เป็นตัวสุดท้าย นักทรัมเป็ตหลายๆ คนวัดระดับความเก่งของตัวเองจากตัวที่สูงที่สุดที่พวกเขาเป่าได้ ไม่ว่าจะเป็น Lew Soloff, Andrea Tofanelli, Bill Chase, Maynard Ferguson, Roger Ingram, Wayne Bergeron, Anthony Gorruso, Dizzy Gillespie, Jon Faddis, Cat Anderson, James Morrison, Doc Severinsen and Arturo Sandoval หรือบางทีเราก็อาจจะลองเป่าเสียงที่ต่ำกว่า F# ก็ได้
ทรัมเป็ตที่เล็กที่สุดเรียกว่า Piccolo trumpet มักจะเล่นในคีย์ Bb หรือ A และมี leadpipes แยกต่างหากแต่ละคีย์ Piccolo trumpet จะมีความยาวเป็นครึ่งหนึ่งของทรัมเป็ตปกติ แบบ G F หรือ C ก็มีแต่หายากกว่า ผู้เล่นหลายคนจะใช้เมาท์พีซที่เล็กกว่าปกติ ซึ่งจะให้เสียงและต้องใช้เทคนิคที่ต่างไป ปกติแล้ว Piccolo trumpet จะมีลูกสูบ 4 อัน ซึ่งจะลดระดับเสียงได้มากกว่า ตัวอย่างคนที่เล่นคือ Maurice André, Håkan Hardenberger, และWynton Marsalis

Piccolo trumpet in Bb
ทรัมเป็ตในคีย์ G ต่ำเรียกว่า Sopranos หรือ Soprano Bugles หลังจากที่ใช้ในกองทัพ ตอนนี้ก็ใช้กับวง drum and bugle แทน Sopranos มีทั้งลูกสูบแบบ Rotary และ Piston ใน 1 เครื่อง

Military Bugle in Bb
ส่วน Bass ทรัมเป็ต มักถูกเล่นโดยนักทรอมโบน เพราะเสียงมันเหมือนกัน ใช้เมาท์พีซของทรอมโบนที่ตื้นกว่า และอ่านโน้ตจาก กุญแจซอล

Bass trumpet in C with Rotary valves
อีกชนิดที่น่าสนใจคือ Slide trumpet ก็เป็นตระกูลบีแฟลตที่มีสไลด์ เหมือนกัน Soprano trombone สไลด์ทรัมเป็ตเครื่องแรกสุดเกิดขึ้นในยุคเรเนอซองส์ ช่วงที่เค้ากำลังเห่อทรอมโบนน่ะแหละ และเป็นการเพิ่มความยิบย่อยของเสียงลงไปอีก ทรัมเป็ตชนิดนี้เป็นชนิดแรกที่ได้รับอนุญาตให้เล่นในโบสถ์คริสเตียน
เรื่องราวสไลด์ของทรัมเป็ตนี้เริ่มพัฒนาขึ้นในช่วงท้ายของศตวรรษที่ 14 เพื่อใช้ในวงดนตรี Alta Capella สไลด์ทรัมเป็ตในยุคเรเนอซองส์ก็คือทรัมเป็ตปกตีที่มีสไลด์น่ะแหละ มันค่อนข้างจะเกะกะไม่สะดวกเท่าไหร่ แล้วช่วงเสียงของสไลด์ก็ไม่ได้กว้างเพียงพอ ก็อย่างที่รู้กันว่าเครื่องดนตรีในยุคนี้ไม่ค่อยจะอยู่ยืนยาวถึงปัจจุบัน ก็แบบเดียวกับสไลด์ทรัมเป็ตน่ะแหละ ยังคงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันว่าเหมาะและคุ้มค่ารึเปล่า สไลด์ทรัมเป็ตบางตัวยังพบในอังกฤษสมัยศตวรรษที่ 18
Pocket trumpet ก็คือบีแฟลตทรัมเป็ต ที่ bell เล็กกว่าปกติ ส่วนท่อจะติดกันแน่นกว่าเพื่อลดขนาดของเครื่องโดยไม่ลดความยาวท่อ ไม่มีรูปแบบเป็นมาตรฐานและคุณภาพก็แตกต่างกันมาก เสียงที่ออกมาค่อนข้างมีเอกลักษณ์
นอกจากนี้ยังมีทรัมเป็ตประเภท Rotary valve ทรัมเป็ตเยอรมัน Alto trumpet และทรัมเป็ตของยุคบาโรก
ทรัมเป็ตมักถูกสับสนกับคอร์เน็ต ซึ่งคอร์เน็ตจะมีท่อเป็นกรวยมากกว่า ทรัมเป็ตจะเป็นทรงกระบอก เพราะงั้นรอยต่อของคอร์เน็ตก็เลยให้เสียงที่สุขุมกว่า แต่อย่างอื่นก็แทบจะเหมือนกันหมด ท่อยาวเท่ากัน ระดับเสียงเหมือนกัน เพราะงั้นเพลงที่จะเล่นก็เล่นด้วยกันได้ อีกอันนึงคือ Flugelhorn ท่อเป็นกรวยมากกว่าคอร์เน็ต เสียงมีพลังกว่า บางครั้งก็มี 4 ลูกสูบอีกแล้ว

Cornet
Flugelhorn
ที่มา : http://musicforall.forumth.com/t50-topic
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น