วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ระฆังราว (Tubular Bell or Chime)


          ระฆังราว ชื่อที่ใช้เรียกในภาษาอังกฤษ คือ Orchestral Bells และ Chimes การประดิษฐ์เครื่องดนตรีชนิดนี้เพื่อเลียนเสียงของระฆังจริงๆ วัสดุที่นำมาประดิษฐ์นั้นทำด้วยท่อโลหะแขวนเรียงกันตามลำดับเรียงจากเสียงต่ำไปหาเสียงสูงการแยกแยะคือท่อที่มีขนาดสั้นจะเป็นเสียงสูง สำหรับท่อที่มีขนาดยาวจะเป็นเสียงต่ำ แขวนไว้กับโครงที่เป็นโลหะในแนวดิ่ง ใช้ไม้ตีที่ปลายของท่อด้านหัวก็จะเกิดเสียงที่เหมือนเสียงของระฆัง


โครงสร้างของระฆังราว
- โครงโลหะสำหรับแขวนท่อโลหะ
- ท่อโลหะที่แขวนไว้กับโครงโลหะในแนวดิ่ง
- ท่อโลหะระดับเสียง แฟล็ต-ชาร์ป
- ท่อโลหะระดับเสียงเนเจอรัล


ภาพแสดงส่วนประกอบของระฆังราว




ระฆังราวเครื่องดนตรีจีนที่หายสาปสูญนับพันปี

          ประวัติศาสตร์การดนตรีของจีนมีความเป็นมายาวนานมาก จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ขุดพบในแผ่นดินจีนสามารถยืนยันได้ว่า มีเครื่องดนตรีหลากหลายประเภท ถือกำเนิดขึ้นมานานก่อนที่จะเริ่มประวัติศาสตร์สมัยฉินแล้ว[1] เช่น การขุดค้นทางโบราณคดีในยุคหินใหม่ที่ได้จากเมืองเหอหมู่ตู้ มณฑลเจ้อเจียง พบเครื่องดนตรีลักษณะคล้ายนกหวีด ชื่อ “ซ่าว”(哨)โบราณวัตถุหยางซ่าวที่ขุดได้จากบ้านป้านโป เมืองซีอาน พบเครื่องดนตรีประเภทเป่าทำจากดินเผา ชื่อ “ซวิน” (埙) โบราณวัตถุที่อำเภออินซวี เมืองอันหยาง มณฑลเหอนาน พบเครื่องดนตรีประเภทตีที่ทำจากหิน ชื่อ “ชิ่ง” (石磬)และกลองไม้ที่ขึงด้วยหนังงูเหลือม ชื่อ “หม่างผีกู่” (蟒皮鼓)

          จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์การดนตรีของจีนที่มีมายาวนานสามารถยืนยันได้ว่า มีเครื่องดนตรีหลายประเภทถือกำเนิดขึ้นมานานก่อนที่จะเริ่มประวัติศาสตร์สมัยฉิน การขุดค้นที่สร้างความตะลึงทางโบราณคดีให้กับนักวิชาการดนตรีรวมถึงนักโบราณคดีทั้งของจีนและของโลก คือ การขุดค้นที่สุสานเจิงโห้วอี้ อำเภอสุย มณฑลหูเป่ย (ฝังเมื่อ 433 ปีก่อนคริสตกาล) การขุดค้นครั้งนี้พบเครื่องดนตรีหลายชนิด ซึ่งหนึ่งในนั้นก็รวมถึงระฆังราวด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งระฆังโลหะ แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาอันชาญฉลาดในการประดิษฐ์คิดค้น และการใช้เครื่องมือโลหะของบรรพบุรุษจีนที่มีมาอย่างยาวนาน

          วิวัฒนาการของระฆังเริ่มมาจากเครื่องดนตรีขนาดเล็กชนิดหนึ่ง คือ กระดิ่ง ในภาษาจีนเรียกว่า หลิง เป็นเครื่องดนตรีโลหะมีลิ้นที่เก่าแก่ที่สุดของจีน ลิ้น คือ ส่วนที่แขวนอยู่ในกระดิ่งใช้เคาะกระดิ่งให้เกิดเสียงดัง การขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อปี 1981 พบกระดิ่งโลหะ 4 ชิ้น ที่เมืองลั่วหยาง ซึ่งหลอมมาจากทองสำริด เป็นรูประฆังคว่ำ ขนาดเล็ก ผิวบาง ยอดแหลม ปากกว้าง ริมเรียบ มีหูกางออก 2 ข้าง ยอดกระดิ่งมีห่วงสำหรับคลอ้ง ลิ้นกระดิ่งทำจากหยก บางครั้งประดับด้วยทองก็มี ก่อนที่จะถึงยุคกระดิ่งทองแดงที่ขุดพบ มีกระดิ่งดินเผาเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้แล้ว เป็นกระดิ่งดินเผาที่ปั้นด้วยมือ รูปทรงกลมมีด้ามจับ ด้านข้างไม่มีรูเจาะถึงกัน ต่อมากระดิ่งก็เริ่มพัฒนาและเป็นจุดต้นกำเหนิดสำคัญของเครื่องดนตรีโลหะในสมัยราชวงศ์ซาง และราชวงศ์โจวในเวลาต่อมา

          จากบันทึกทางประวัตฺศาสตร์ และการขุดค้นทางโบราณคดี พบว่าระฆังราวมีมาตั้งแต่สมัยซีโจว ในยุคนั้น ระฆังราวประกอบกันขึ้นเป็นกลุ่มเสียง สูง - ต่ำ ต่างกันด้วยระฆัง 2 - 3 ตัว ต่อมาจึงมีระฆังเพิ่มขึ้น มีทั้งกลุ่ม 9 ตัว และ 13 ตัว ต่อมาปี 1978 พบระฆังราวที่ใหญ่ที่สุดที่สุสานเจิ้งโห้วอี้ที่มณฑลหูเป่ย ระฆังราวนี้แขวนรวมกันบนชั้นที่มีความใหญ่โตพอๆ กับเวทีการแสดงหนึ่งเวที ในปัจจุบันนี้ ประกอบด้วย ระฆังหู 19 ตัว ระฆังด้าม 45 ตัว ด้านนอกยังมีระฆังใหญ่อีก 65 ตัว ระฆังราวเหล่านี้แบ่งเป็น 3 ชั้น 8 กลุ่ม แขวนอยู่บนราวระฆัง ระฆังที่มีขนาดต่างกันจะทำให้เกิดเสียงสูงต่ำต่างกัน ระฆังใบใหญ่ที่สุดจะให้เสียงต่ำสุด ระฆังทั้งชุดนี้มีน้ำหนักรวมกันมากกว่า 2500 กิโลกรัม ราวระฆังก็สร้างขึ้นจากไม้และ โลหะเป็นรูปฉาก ความยาวทั้งหมดอยู่ที่ 10 เมตรขึ้นไป มีชั้นสำหรับแขวนระฆังสามชั้น สูง 273 เซ็นติเมตร มีสลักเป็นตัวยึดราวเข้าด้วยกัน การบรรเลงระฆังราวใช้ผู้บรรเลง 3 คน ขึ้นไป ใช้ไม้ตีลักษณะเป็นรูปค้อนตีระฆังเสียงสูงและเสียงกลาง ส่วนระฆังแถวล่างที่เป็นเสียงต่ำใช้ไม้ตีที่เป็นรูปกระบอง

          จากการวิจัยปัจจุบันพบว่า ระฆังแต่ละตัวสามารถตีเป็นเสียงได้สองเสียง แต่ตอ้งตีให้ถูกจุดที่กำหนดแน่นอน ในระฆังหนึ่งราวสามารถตีเป็นเสียงทุกเสียงที่อยู่บนแป้นเปียโนได้ นั่นย่อมหมายความว่า เสียงระฆังราวนั้นสามารถบรรเลงเสียงเปียโนในปัจจุบันได้ทุกเสียง ความถี่ของเสียงระฆัง คือ 256.4 เฮิร์ซ ซึ่งก็ยังเป็นระดับเสียงเดียวกันกับเสียงเปียโน แม้ว่าจะถูกฝังอยู่นานกว่า 2000 ปี แต่จากการทดลองของนักดนตรีปัจจุบัน เมื่อบรรเลงแล้วพบว่า เสียงของระฆังยังคงมีคุณภาพเสียงที่ชัดเจน และแม่นยำ มีช่วงเสียง 5 ช่วงคู่แปด และยังสามารถบรรเลงได้ทั้งเพลงโบราณและเพลงปัจจุบันได้ครบทุกเสียง และบรรเลงเพลงกลุ่มตา่งๆ ได้อย่างสมบูรณ์

          วัสดุที่ประกอบเป็นระฆังราวของจีน ได้แก่ ทองสำริด ดีบุก อลูมิเนียม ประกอบเป็นราว ประดับด้วยรูปหล่อโลหะ สลักตัวอักษรและลวดลายที่งดงาม แล้วที่น่าทึ่งก็คือ การแกะสลักตัวอักษรบนระฆังเพื่อบอกเสียงตัวโน้ตประจำระฆังแต่ละตัว แสดงให้เห็นว่าเมื่อ 2400 ปีก่อน การดนตรีของจีนมีการพัฒนาการเจริญถึงขั้นสูงแล้ว ซึ่งนับว่ามีความเก่าแก่กว่าการกำเหนิดดนตรี 12 เสียงมาตรฐานของยุโปเกือบ 2000 ปี

          ระฆังราวในสมัยโบราณเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ในราชสำนักเพื่อการออกศึก พระราชพิธีบวงสรวง การออกท้องพระโรงจึงเป็นเครื่องดนตรีชั้นศักดินา ในสมัยใกล้ปัจจุบัน ระฆังราวที่ขุดพบจากสุสานเจิงโห้วอี้ เป็นระฆังที่มีขนาดใหญ่ และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์จีนอย่างมาก จนได้รับการขนานนามว่า สิ่งมหัสจรรย์แห่งสมบัติทางวัฒนธรรมของมวลมนุษยชาติ และปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งมณฑลหูเป่ย ถนนซังตงหู เมืองอู่ฮั่น ของประเทศจีน


ระฆังราวเครื่องดนตรีจีนที่หายสาปสูญนับพันปี





ที่มา :
- https://metchs.blogspot.com/2013_01_01_archive.html
- http://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/258/Music/sec04p11.html